Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23000
Title: การดำเนินงานตามนโยบายระยะสั้นของรัฐบาล ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณีโครงการ กฟป.
Other Titles: The implementation of short-termed policy in relieving people's suffering : a case study of the project of rural economic reconstruction effected by natural disaster
Authors: ปรีชา บุตรศรี
Advisors: พนม ทินกร ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบทที่ประสบภัยธรรมชาติ
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบริหารกิจการด้านการพัฒนานั้น เป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐ ในรูปของนโยบายของรัฐที่ได้กำหนดไว้อย่างแน่ชัด จึงเป็นเรื่องของการกำหนดแนวทางสำคัญสำหรับกิจกรรมที่จะดำเนินไปในอนาคต ซึ่งแนวทางดังกล่าวนั้นจะเป็นไปได้อย่างดีที่สุดก็ต่อเมื่อได้บรรลุเป้าหมายที่ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของสาธารณชน ในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น ระบบราชการมักจะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายเสมอ อันเนื่องมาจากความไม่ค่อยมั่นคงทางการเมือง การปล่อยให้การกำหนดนโยบายของรัฐเป็นเรื่องของชนชั้นปกครองนั้น อาจจะทำให้เป้าหมายปลายทางแห่งนโยบายนั้นเป็นไปเพื่อสนองตอบความต้องการของชนชั้นปกครองเพียงฝ่ายเดียว หากการกำหนดนโยบายเป็นเรื่องของการต่อรองระหว่างกลุ่มผลประโยชน์หรือการเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมกันหลายๆฝ่าย ในการกำหนดนโยบายแล้ว อาจจะทำให้นโยบายนั้นตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนมากที่สุด นโยบายใดแม้จะกำหนดไว้อย่างสวยงามเพียงใดก็ตาม หากการปฏิบัติตามนโยบายนั้นไม่ได้รับความร่วมมือ ร่วมใจจากหลายๆฝ่าย หรือผู้ปฏิบัติตามนโยบายนั้นมีทัศนคติไปในทางต่อต้านนโยบายนั้น ตลอดจนการบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ไม่อาจที่จะทำให้นโยบายนั้นบรรลุผลหรือไม่อาจบรรลุผลได้เต็มที่ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งอาศัยเฉพาะนโยบายระยะสั้นของรัฐบาลตามโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบทที่ประสบภัยธรรมชาติ(กฟป.) ในส่วนที่เกี่ยวกับลักษณะการมีส่วนร่วมของข้าราชการและประชาชนในการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ ทัศนคติของข้าราชการและประชาชนต่อนโยบาย การประสานงานตามนโยบาย ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นตามนโยบายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นตามนโยบาย การศึกษาและวิจัยครั้งนี้ใช้แบบพรรณาและวิเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ โดยค้นคว้าจากเอกสารของทางราชการ ระเบียบที่เกี่ยวข้องประกอบกับใช้วิธีการวิจัย โดยส่งแบบสอบถามให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามโครงการทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และกำนัน รวมทั้งสิ้น 159 ชุด ประกอบกับใช้การสังเกตการณ์ และประสบการณ์ในการทำงานของผู้เขียนเอง ผลของการศึกษาวิจัยการดำเนินงานตามนโยบายระยะสั้นของรัฐบาลพบว่า 1. ข้าราชการทั้งส่วนกลางส่วนภูมิภาคและประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของรัฐตามโครงการ กฟป. เป็นอย่างมากในแง่ของการเสนอความต้องการการเสนอโครงการ การพิจารณาอนุมัติโครงการ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงการและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ ขั้นตอนในการกำหนดนโยบายของรัฐและการปฏิบัติตามนโยบายที่ถูกกำหนดเป็นขั้นตอนซึ่งเกี่ยวพันกัน ยากที่จะแยกผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติตามนโยบายได้ 2. ข้าราชการมีทัศนคติที่ดีต่อนโยบายของรัฐบาลตามโครงการ กฟป. เนื่องจากเห็นว่าโครงการนี้สามารถเพิ่มการมีงานทำ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ผลงานที่เกิดขึ้นเป็นผลงานที่ถาวร และเห็นว่ารัฐบาลก็ได้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองด้วย ประชาชนก็เข้าใจในเจตนารมณ์ของรัฐบาล ส่วนทัศนคติต่อการกำหนดนโยบายนั้น ข้าราชการมีความเห็นว่าไม่ควรเป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมืองแต่เพียงฝ่ายเดียว ในการกำหนดนโยบายข้าราชการควรมีส่วนร่วมด้วย เพราะรู้ปัญหาและความต้องการของประชาชนดี 3. การประสานงานตามโครงการ กฟป. มีส่วนช่วยให้เกิดความสำเร็จในการดำเนินงาน แต่ความล่าช้าในการแจ้งระเบียบปฏิบัติก็ดี การแก้ไขระเบียบหลักเกณฑ์บ่ายๆก็ดี ทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เท่าที่ควร 4. วัตถุประสงค์ที่กำหนดขึ้นตามโครงการ กฟป. ประกอบด้วยวัตถุประสงค์เพื่อประชาชนเป็นส่วนใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของกลุ่ม คือรัฐบาล ก็ได้รับผลประโยชน์ด้วย คือความศรัทธาต่อผลงานของรัฐบาล
Other Abstract: In development aspect, the art of management is social and economic change within any state in which the state’s policy has clearly proclaimed to this extent, it is neccessary, for future activities which would be implemented, to formulate the clear-cut public policy. In any developing country, such as Thailand, due to its lack of political stability, bureaucratic system plays a vital role in formulating policy. The policy making is always dominated by the group of people who seize the power for a period of time. They often take the policy guideline merely to serve their interests. Prom this thesis assumption, if the policy formulating is the product of the interest groups’ bargaining or opening to all public sectors, the outcome policy would be able to respond to the interest of the people at the most. But the good policy also needs cooperation from various groups for the implementation without it, the good policy would be in vain. This thesis is focus on the implementation of the Thai Government's short termed, project for rural economic reconstruction effect by natural disaster. This study is concerned with the nature of involvement of people, and public officers alike, in formulating policy and its implementation. Also, it studied the attitude of people and the public officers toward this project with the review of policy coordination, the fringe benefit from the policy the fulfilment of those policy objectives. The methord of this study is of descriptive analysis. It relied on governmental documents and regulation. It was also composed of the questionaire which was used to elicit facts from the concerned officers of three level; central, province and Tambon, including, the author's observance and his field experience. The study findings showed that the implementation of government's policy are as follows, 1. Both the concerned officers and the local people has a hightly degree in poligy formulating participation. It varied from several aspects from presenting needs of the project to project approval and revision. .The policy procedures were tightly conected and very difficult to identify the difference between the role of policy maker and the implementor. 2. The concerned officers’ attitude toward this project was positive. It was a result of and increase of jobs and income of the local people .The project output viewed as the benefit to the people had proved to provide political, social and economic advantages for the Thai Government. The only argument was the officers' dissatisfaction formulating the project only by the politician. They argued that the civil servant should take part in policy formulating as they had intensively experience in the field. 3. Project coordination played a vital role to fulfill the project objectives. But it was also found that the Thai bureaucratic system and its 'red-tape' were the major obstacles. 4. Project major objective was to relieve the people's suffering from natural disaster. In the meantime, it minor objective was the political interests deriving from the faith of people in the government.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23000
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Preecha_Bu_front.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_Bu_ch1.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_Bu_ch2.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_Bu_ch3.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_Bu_ch4.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Preecha_Bu_ch5.pdf850.61 kBAdobe PDFView/Open
Preecha_Bu_back.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.