Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23104
Title: แนวทางในการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการงบประมาณแผ่นดิน: ศึกษากรณีการอนุมัติงบประมาณรายรับและรายจ่าย
Other Titles: Towards Determination of Legal Measures for National Buildings: A Case Study of Approval Process for Public Revenue and Expenditure
Authors: จักราวดี อนุโยธา
Advisors: ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพิจารณาอนุมัติงบประมาณแผ่นดินนับว่าเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญ เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารประเทศ ดังนั้น วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาถึงข้อจำกัดกฎหมายการคลังที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติงบประมาณแผ่นดินโดยรัฐสภา ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการจัดทำและพิจารณางบประมาณให้ความสำคัญกับงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 กำหนดเพียงให้มีการอนุมัติงบประมาณรายจ่าย โดยไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติอนุมัติการจัดเก็บภาษีในคราวเดียวกัน รวมถึงการกำหนดให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจบางประการเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ทำให้พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่อนุมัติโดยรัฐสภาในตอนต้นไม่สอดคล้องกับการบริหารงบประมาณแผ่นดินในระหว่างปีงบประมาณก่อให้เกิดปัญหารัฐสภาไม่มีโอกาสควบคุมดุลยภาพของงบประมาณอย่างแท้จริง และไม่สามารถทำหน้าที่ควบคุมการใช้จ่ายเงินแผ่นดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ กับการขาดความสัมพันธ์ระหว่างรายจ่ายในงบประมาณและรายจ่ายนอกงบประมาณ ผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้ไขไว้หลายกรณี นับตั้งแต่การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายวิธีการงบประมาณรวมทั้งปรับปรุงกลไกและวิธีการที่ใช้ในการพิจารณาอนุมัติงบประมาณแผ่นดินให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
Other Abstract: The procedure of national budget approval is greatly significant since the highest benefit of nationwide management is the result of effective appropriate budget distribution. This thesis emphasizes on limitation of public finance law which involves national budget approval. This study found that the expenditure budget is highly focused in budget preparation and budget approval. Without addressing tax revenue, the Budget Procedure Act B.E. 2502 emphasizes mainly on the expenditure budget. Furthermore the Act also allows the governments to be able to spend national reserves in some circumstances. Actual budget consequently differs to the amount of annual expenditure, which has been previously approved by parliament. This will result on ineffective and unbalance monetary management. Some measures of this issue are suggested, for example, to revise budgetary law or to improve approval procedure as well as mechanism to be more appropriate.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23104
ISBN: 9740311067
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jakkrawadee_an_front.pdf6 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrawadee_an_ch1.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrawadee_an_ch2.pdf42.59 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrawadee_an_ch3.pdf18.3 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrawadee_an_ch4.pdf37.31 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrawadee_an_ch5.pdf10.08 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrawadee_an_ch6.pdf5.45 MBAdobe PDFView/Open
Jakkrawadee_an_back.pdf38.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.