Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23287
Title: | สภาพการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพ ตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ในเขตการศึกษา 8 |
Other Titles: | The teaching-learning situation for the vocational foundation subjects according to the 2524 B.E. upper secondary school curriculum in the education region eight |
Authors: | ไชยพร ตัณฑ์จิตานนท์ |
Advisors: | วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอน และปัญหาการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพซึ่งเป็นวิชาบังคับตามหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 ในเขตการศึกษา 8 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กับครูผู้สอนวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพ เกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอน และปัญหาการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพในเขตศึกษา 8 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็น ระหว่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีแผนการเรียนที่เน้นทางวิชาอาชีพ กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีแผนการเรียนที่เน้นทางวิชาสามัญ เกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนและปัญหาหารเรียนการสอนวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพ ในเขตการศึกษา 8 วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 620 คน และครูผู้สอนวิชาชีพพื้นฐานอาชีพ จำนวน 119 คน ในเขตการศึกษา 8 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสังเกตสถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที สรุปผลการวิจัย 1. เกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพ ในด้านต่างๆ พบว่า 1.1 หลักสูตรวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพ ซึ่งเป็นวิชาบังคับมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากทุกเรื่อง สำหรับบริการด้านการแนะแนวอาชีพที่โรงเรียนจัดขึ้น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับน้อยในเรื่อง การสัมภาษณ์นักเรียนก่อนที่จะตัดสินใจเลือกแผนการเรียน และที่โรงเรียนจัดอยู่ในระดับน้อย คือการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาและอาชีพให้นักเรียนทราบโดยทั่วกัน 1.2 พฤติกรรมด้านการเรียนของนักเรียน และพฤติกรรมด้านการสอนของครูผู้สอน ส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก กิจกรรมที่ครูผู้สอน ปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การเชิญวิทยากรหรือบุคคลในท้องถิ่นมาให้ความรู้แก่นักเรียน การพานักเรียนออกไปดูงานด้านวิชาชีพ ในท้องถิ่นและการให้นักเรียนจัดทำป้ายนิเทศเกี่ยวกับงานอาชีพ สำหรับด้านการสื่อสารการเรียนการสอน มีความเพียงพออยู่ในระดับน้อยทั้งสิ้น และนักเรียนส่วนใหญ่ไม่มีการออกไปฝึกปฏิบัติงานในสถานที่ต่างๆ นอกโรงเรียน 1.3 ด้านการวัดและการประเมินผล เรื่องที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับน้อย คือ การที่ครูผู้สอนให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการตั้งเกณฑ์การวัดและประเมินผลผลการเรียนการสอน ส่วนวิธีการวัดและประเมินผลระหว่างเรียน ที่ครูผู้สอนใช้อยู่ในระดับมากกว่าวิธีอื่นๆ คือ การพิจารณาผลงานที่นักเรียนทำส่ง การสังเกตการณ์ฝึกปฏิบัติงานของนักเรียน และการสังเกตดูความสนใจของนักเรียน 2. เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพ ในด้านต่างๆ พบว่าเรื่องที่เป็นปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความไม่เพียงพอของจำนวนครูผู้สอน การขาดแคลนหนังสือ หรือคู่มือการเรียนการสอน ความไม่เพียงพอด้านอุปกรณ์การสอน อุปกรณ์ที่ใช้ฝึกงานและเครื่องมือต่างๆ ความไม่พร้อมด้านโรงฝึกงาน ห้องปฏิบัติงานหรือสถานที่ทำการทดลอง ด้านวิชาชีพ ยิ่งไปกว่านั้น ยังปรากฏว่ามีความไม่เหมาะสมของจำนวนนักเรียนต่ออุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ และการให้นักเรียนไปฝึกปฏิบัติงานในสถานที่ต่างๆ นอกโรงเรียน 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น ระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอนเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอนและปัญหาการเรียนการสอนพื้นฐานวิชาอาชีพในด้านต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างนักเรียนที่มีแผนการเรียนเน้นทางวิชาชีพ กับนักเรียนที่มีแผนการเรียนที่เน้นทางวิชาสามัญ เกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอน และปัญหาการเรียนการสอนวิชาพื้นฐานวิชาอาชีพในด้านต่างๆ ส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Other Abstract: | Purposes of the Study : 1. To study the teaching-learning situation and the problem involved in the vocation foundation subjects which are some the required courses according to the 2524 B.E. Upper Secondary school Curriculum in the Education Region Eight. 2. To compare the opinions between the upper secondary students and the vocation subjects teachers with regard to the teaching-learning situation and the problems encountered particularly in the Education Region Eight. 3.To compare the opinions between the students who follow the strictly vocational curriculum and those the normal secondary academic subject with regard to the teaching-learning situation and the problems encountered especially in the Education Region Eight. Research Procedure :The subject were 620 upper secondary students and 119 vocational subjects’ teachers in the Education Region Eight. The research instruments were questionnaires and observation . The statistics employed in this study include percentage, mean, standard deviation, and t-test. The Research Findings : 1. With regard to the teaching-learning situation the followings were found : 1.1 The required vocational curriculum showed a high level of suitability in all aspects. With regards to the vocation guidance arranged by the schools, a low level of performance was found especially in the interviewing of the students who were on the verge of selecting a study-programme . The diffusion of the education and vocational information among students revealed a low percentage 1.2 The students’ learning behavior as well as teachers’ teaching behavior showed a high level of performance. The activities which the teachers scarecely performance were : (a) to invite local animators and personalities to share some knowledge to the students; (b) to arrange field trips to observe local vocational institutions; and (c) to let the student prepare vocational exhibitions. In addition, a low level of performance was found in the teaching-learning media; and most of the students were lacked of practical vocational experiences outside the school. 1.3 With regards to the measurement and the evaluation of the activities, that which show a low level of performance concerned with the non-participation of the students in determining the rules of teaching measurement and evaluation. The measurement and evaluation method used by the teacher among student demonstrated and average level of performance especially on the aspects on considering the project submitted by the students , the observation on the students’ actual work, and their learning interest. 2. Pertaining to the teaching–learning problems of the vocational foundation subject in all sectors, it was found that the high level of significant problem included an inadequacy of teachers, books and references, educational means both on theoretical and practical sides, various instruments, laboratories, workshops, etc. furthermore, there was a disproportion between the number of students and the instructional media and devices, between the number of students and the local vocational facilities for on-the-job-training. 3. The result of the comparison of opinions between the students and the teachers regarding the teaching – learning situation and the problems involves in all aspects showed no statistically significant difference. 4. The result of the comparison of opinions between students who follow a strictly vocational curriculum and those of the normal secondary academic subject concerning the teaching – learning situation and the problems related to the vocational foundation subject in all sectors mostly showed no statistically significant difference. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23287 |
ISBN: | 9745610755 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chaiyaporn_Ta_front.pdf | 621.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chaiyaporn_Ta_ch1.pdf | 665.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chaiyaporn_Ta_ch2.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chaiyaporn_Ta_ch3.pdf | 557.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chaiyaporn_Ta_ch4.pdf | 2.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chaiyaporn_Ta_ch5.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chaiyaporn_Ta_back.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.