Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23351
Title: การวิเคราะห์กิริยาร่วมทางวาจาในการเรียนการสอนหน้าที่พลเมือง ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Verbal interaction analysis in civic instruction at the lower secondary education level
Authors: ชูกลิ่น อุนวิจิตร
Advisors: ธีระชัย ปรูณโชติ
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบกิริยาร่วมทางวาจาของครูและนักเรียนในชั้นเรียนวิชาหน้าที่พลเมือง กลุ่มตัวอย่างเป็นครู 36 คน นักเรียน 36 ห้องเรียนในชั้นเรียนหน้าที่พลเมืองจากโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนอย่างละ 7 โรง รวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์กิริยาร่วมทางวาจาในชั้นเรียนของแฟลนเดอร์ส (Flander’s Interaction Analysis) ทำการวิเคราะห์กิริยาร่วมทางวาจา 6 ประเภททำการเปรียบเทียบในด้านประเภทโรงเรียน ชั้นเรียน วุฒิครู ประสบการทางการสอนของครู และสถานภาพการสมรสของครู ทำการทดสอบความมีนัยสำคัญโดยใช้วิธีทางสถิติแบบ Mann Whitney U test และ Kruskal Wallis One Way Analysis of Variance ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูใช้เวลาในการพูดร้อยละ 70 ของเวลาทั้งหมดส่วนใหญ่เป็นการบรรยาย เน้นเนื้อหา นักเรียนพูดร้อยละ 11 ของเวลาทั้งหมด 2. ครูใช้อิทธิพลทางตรงมากกาว่าทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. วุฒิครู สถานภาพการสมรสของครูและชั้นเรียนทำให้กิริยาร่วมทางวาจา ของครูและนักเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ประสบการณ์ทางการสอนของครูทำให้กิริยาร่วมทางวาจาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยครูที่มีประสบการณ์ทางการสอนน้อย เปิดโอกาสให้นักเรียน มีส่วนร่วมในการแสดงออกทางวาจามากกว่าครูที่มีประสบการณ์ทางการสอนนานกว่า 5. ครูที่สอนโรงเรียนรัฐบาลใช้อิทธิพลทางอ้อมมากกว่าครูโรงเรียนเอกชนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 6. ครูที่สอนโรงเรียนรัฐบาลใช้เวลาในการถามมากกว่าครูที่สอนโรงเรียนเอกชนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 7. นักเรียนโรงเรียนรัฐบาลมีโอกาสใช้เวลาในการพูดมากกว่านักเรียนโรงเรียนเอกชน อย่างมีมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The objectives of this research are to analyse and compare teachers’ and students' verbal interaction in Civic instruction at the Lower Secondary Education Level. The samples include 2 groups :-(1) thirty-six teachers and (2) students of thirty-six classes from seven government secondary schools and seven private school. The research methods used in this study are survey through formal observation ; analyse six categories of verbal interaction and compare especially in school categories, class level, teachers' qualification, experience and maritial status by using Flanders' Interaction Analysis Technique ; and then test the level of significance by using Mann Whitney U Test and Kruskal - Wallis One Way Analysis of Varaiance. Research results conclude follows :- (1) Teachers use 70 % of total time in lecturing whereas students use only 11 % (2) Teachers use more direct influence than indirect influence significantly at the level of .01. (3) Teachers' qualification maritial status and classes make teachers' and students' verbal interaction significance at the level of .05. (4) Teachers' experience make verbal interaction significant differently at the level of .01. The teachers who have less teaching experience give more chance to students to talk than those who have more. (5) Government school teachers use more indirect influrence than private school teachers significantly at the level of .01. (6) Government school teachers use more time in questioning than private school teachers significantly at the level of .05. (7) Government school students have chance to talk more than private school significantly at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23351
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chooglin_Ou_front.pdf388.84 kBAdobe PDFView/Open
Chooglin_Ou_ch1.pdf868.49 kBAdobe PDFView/Open
Chooglin_Ou_ch2.pdf420.52 kBAdobe PDFView/Open
Chooglin_Ou_ch3.pdf403.66 kBAdobe PDFView/Open
Chooglin_Ou_ch4.pdf395.29 kBAdobe PDFView/Open
Chooglin_Ou_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.