Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23352
Title: | คุณค่าของกิจกรรมศิลปศึกษาต่อนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ตามการรับรู้ของครูศิลปศึกษา และผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษา |
Other Titles: | Value of art activities upon the elementary school students as perceived by art teachers and experts in art education |
Authors: | ชูจิตต์ วัฒนารมย์ |
Advisors: | นิรมล สวัสดิบุตร |
Subjects: | ศิลปศึกษา -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) ครูศิลปศึกษา การรับรู้ |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาคุณค่าของกิจกรรมศิลปศึกษาต่อนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตามการรับรู้ของครูศิลปศึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษา 2. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ของครูศิลปศึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าของกิจกรรมศิลปศึกษาที่มีต่อนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ส่งแบบสอบถามให้ครูศิลปศึกษาระดับประถมศึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษาในกรุงเทพมหานครกลุ่มละ 145 คน ครูศิลปศึกษา 145 คน สุ่มตัวอย่างจากครูศิลปศึกษาในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สังกัดกรุงเทพมหานคร และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่าง ประชากรแบบธรรมดา (Simple Random Sampling) ส่วนผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษา ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์มหาวิทยาลัย อาจารย์วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา อาจารย์วิทยาลัยครูและครูศิลปศึกษาซึ่งสอนนักเรียน ที่มีผลงานชนะการประกวดภาพเขียน สุ่มตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive Samping ) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้ค่าทดสอบซี (Z-Test) สรุปผลการวิจัย 1. ครูศิลปศึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษาเห็นว่า กิจกรรมศิลปศึกษาประเภทต่างๆ ได้แก่ การเขียนภาพและระบายสี การปั้นแกะสลัก การพิมพ์งาน งานออกแบบ สร้างสรรค์จากเศษวัสดุ งานสาน ถักทอ และเย็บปัก และการรู้คุณค่าทางศิลปศึกษา ส่วนใหญ่มีคุณค่ามากในการส่งเสริมความรู้ทางศิลปะ เทคนิคการทำงานศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์พัฒนาการทางอารมณ์ ความสนุกสนานเพลิดเพลิน ความสัมพันธ์และการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสร้างนิสัยที่ดีในการทำงาน ส่วนด้านการส่งเสริมการประหยัด และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันนั้นกิจกรรมศิลปศึกษาเหล่านี้ส่วนใหญ่มีคุณค่าในระดับปานกลาง 2. ครูศิลปศึกษาและผู้เชี่ยวชาญทางศิลปศึกษามีการรับรู้ไม่แตกต่างกัน ในคุณค่าของกิจกรรมศิปศึกษาที่มีต่อนักเรียนระดับประถมศึกษา |
Other Abstract: | Purposes 1. To study the value of art activities upon the elementary school students as perceived by art teachers and experts in art education. 2. To compare the perception of art teachers and experts in art education on the value of art activities upon the elementary school students. Questionnaires were sent to 145 art teachers and 145 experts in art education in Bangkok. The 145 art teachers were picked by means of simple random sampling from 145 schools under the authority of the Office of Bangkok Primary Education, the Bangkok Metropolitan Administration, and the Office of Private Education Commission. The 145 experts which included instructors in universities, technology and vocational colleges, and teachers training colleges, as well as art teachers whose students won awards in art contests were selected by means of purposive sampling. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, z – test. Findings 1. Art teachers and experts in art education were in agreement that the majority of art activities in drawing, painting, sculpture, graphic art, creative design work using discarded materials, basket weaving, cloth weaving, knitting and sewing rendered high values in promoting knowledge in art, art techniques, creativity, emotional development, enjoyment, human relations and good working habits. However, values of art activities in promoting economy and application of art to everyday life were considered to be at a medium level. 2. Art teachers and experts in art education had no different perception on the value of art activities upon the elementary school students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23352 |
ISBN: | 9745663786 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Choojit_Wa_front.pdf | 729.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Choojit_Wa_ch1.pdf | 538.65 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Choojit_Wa_ch2.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Choojit_Wa_ch3.pdf | 483.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Choojit_Wa_ch4.pdf | 4.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Choojit_Wa_ch5.pdf | 827 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Choojit_Wa_back.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.