Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23377
Title: | พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย : เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคใต้ |
Other Titles: | Teacher-pupil interaction and pre-schooler's social behavior: a comparison among different pre-school education agencies in the Southern region |
Authors: | ชูศรี เอมละออง |
Advisors: | กิตยวดี บุญซื่อ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย พร้อมทั้งเปรียบเทียบพฤติกรรมดังกล่าวระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคใต้ และศึกษาหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระดับปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูและนักเรียนระดับปฐมวัยในโรงเรียนหรือศูนย์เด็ก จำนวน 18 แห่ง ในภาคใต้ โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทโรงเรียนที่จัดแบบชั้นอนุบาล ประเภทโรงเรียนที่จัดแบบชั้นเด็กเล็ก และประเภทที่จัดแบบศูนย์เด็กอย่างละ 6 แห่ง รวมครูจำนวน 18 คน นักเรียน 180 คน ห้องเรียนละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสังเกตพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่ดัดแปลงมาจากแบบวิเคราะห์พฤติกรรมทางวาจาในการเรียนการสอนของแฟลนเดอร์ส โดยเพิ่มส่วนที่เป็นพฤติกรรมทางท่าทางของครูและนักเรียน และสร้างแบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีสังเกตและบันทึกแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS (Statistical Package for Social Science) โดยใช้ Subprogram ANOVA ในการเปรียบเทียบพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน และใช้ Subprogram Crosstabulation ในการหาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนกับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน ผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคใต้พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เกิดขึ้นมากที่สุดคือ นักเรียนแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อครูทางวาจา (X =237.199) รองลงมาคือ ครูบรรยาย ด้วยท่าทางและวาจา(X =180.107) และครูใช้คำสั่งทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางวาจา ( X=127.826) ส่วนพฤติกรรมที่ไม่เกิดขึ้นคือ ครูยอมรับความคิดเห็นของนักเรียนไปใช้ด้วยท่าทางและวาจา พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนในห้องเรียนที่เกิดขึ้นมากคือ นักเรียนเล่นกับเพื่อน คุยกับเพื่อน (X =50.010) สั่ง บอก แนะนำ (X = 8.184) พูดท้าพนัน โอ้อวด (X =8.007) พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียนที่เกิดขึ้นน้อยคือ นักเรียนพูดและ/หรือทำท่ายอมรับในความผิดที่ตนกระทำ ( X=0.163) 2. พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน เปรียบเทียบระหว่างหน่วยงาน 3 ประเภท ที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยในภาคใต้ พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน แต่มีพฤติกรรม 2 อย่างที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 คือ นักเรียนแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อครูด้วยท่าทาง มากที่สุดในโรงเรียนอนุบาล และนักเรียนตอบสนองต่อครูด้วยท่าทางมากที่สุดในศูนย์เด็ก พฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน มีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 อยู่ 3 ตัวแปร คือ ว่ากล่าว ข่มขู่ และก่อกวนผู้อื่นมีมากในโรงเรียนอนุบาล ทำร้ายร่างกายตนเองหรือผู้อื่น มีมากในโรงเรียนประเภทเด็กเล็กและยอมรับความช่วยเหลือจากเพื่อน มีมากที่สุดในโรงเรียนอนุบาล 3. พฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน กับพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน มีความสัมพันธ์กัน 30 คู่ โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก 21 คู่และทางลบ 9 คู่ |
Other Abstract: | The purposes of this research were to analyse teacher –pupil, interaction and pre-schooler’s social behavior, and to compare these behaviors among different pre -school education agencies in the Southern region, and to find the relationship between teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behavior. The sampling were teachers and pupils in 18 kindergartens and child centers agencies in the Southern Region. They were devided into 3 groups: six kindergarten classes, six head-start classes and six child centers. The subjects were 18 teachers and 180 pupils. Ten students were randomly sampling for each of the 18 classes. The instruments used in this research were the observational chart on teacher-pupil interaction which modified from Flander’s interaction analysis catagory. The non-verbal behavior of both teacher and pupil is also add into the developed pattern. The social behavior observational pattern was constructed. The data were collected by observing and recording and were analysed by the SPSS program. (Statistical Package for Social Sciences). The ANOVA Subprogram was used to compose the teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behavior among different pre-school education agencies in the Southern region. The Crosstabulation subprogram was used to find the relationship between teacher - pupil interaction end pre-schooler’s social behavior. Results: 1. The result of teacher-pupil interaction and pre-schooler’s social behavior in 3 pre-school education agencies in the Southern region were as followed: the most freguent observed interaction behavior was pupil's verbal responses (X = 273.199). Next were teacher’s explanation both verbal and nonverbally (X = 180.107) and teacher’s direct and indirect ordering (X =127 .826) Teacher -pupil interaction behaviors which did not occured at all was teacher’s verbally and [non-verbally] acceptance of pupils’s opinion. Pre-schooler's social behavior, that occured most frequent according to observed catagories was playing and talking with peer (X = 50.010), ordering directing and guiding (X = 8.184) and also betting, boasting ( X=8.007) The pupils acceptance of their own mistakes occured least (X = 0.163) 2. The comparison of interaction behavior and pre-schooler’s social behavior among three groups of pre- school education agencies in the Southern region were not significantly different except two factors that were significantly different at the level of .05. They were the pupil’s nonverbal responses occurred in the kindergarten classes more frequent than the others. And the pupils’s verbally and nonverbally responses occurred more often in the child centers than the others. Pre-schooler’s social behavior were not significantly different except three factors that were significantly different at the level of .05. The behaviors which occured in the kindergarten more frequent than the head -started, classes and the child centers –were scolding, threatening distrubance occured more trequent in Kindergarten The behavior of hurting both himself and others occured more often in Head start classes and the behaviors of help acceptance from others often found in Kindergarten. There were relationships between 30 pairs of teacher–pupil interaction and pre-schooler’s social behavior, 21 pairs were positively related while a pairs were negatively related. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23377 |
ISBN: | 9745614807 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chusri_Ae_front.pdf | 750.44 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chusri_Ae_ch1.pdf | 565.62 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chusri_Ae_ch2.pdf | 1.25 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chusri_Ae_ch3.pdf | 540.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chusri_Ae_ch4.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Chusri_Ae_ch5.pdf | 889.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Chusri_Ae_back.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.