Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23387
Title: การเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิทยาลัยพลศึกษา
Other Titles: Learning and teaching English at the higher certificate of education level in physical education colleges
Authors: ญาดา ธีระวิคาวี
Advisors: สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษและนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง วิทยาลัยพลศึกษา เกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอน ปัญหาและความต้องการในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในวิทยาลัยพลศึกษา เพื่อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงของวิทยาลัยพลศึกษาให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอน ปัญหาและความต้องการในการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงของวิทยาลัยพลศึกษารวม 2 ฉบับ เพื่อใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษทุกคนในวิทยาลัยพลศึกษา 13 แห่ง รวมทั้งหมด 17 คน และนักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษาทุกแห่งๆละ 20% รวมทั้งหมด 944 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random sampling) และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ว่าสภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในด้านการดำเนินการสอนนั้น อาจารย์ผู้สอนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าได้ทำการศึกษาหลักสูตร รวบรวมเนื้อหาวิชาและเตรียมการสอนล่วงหน้า ในด้านการสอนจะเน้นทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียนมากที่สุด โดยให้นักศึกษาทดลองทำแบบฝึกหัดและอธิบายซ้ำเมื่อนักศึกษายังไม่เข้าใจบทเรียน ส่วนนักศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่าอาจารย์มักจะเน้นทักษะในการฟัง พูด อ่าน เขียนมากที่สุด และนิยมใช้วิธีสอนแบบให้นักศึกษาฟังคำบรรยายและจดงาน ในด้านกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน การใช้แบบเรียนและอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนส่วนมากมีความเห็นว่าไม่ได้จัดชุมนุมใด ๆ เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอน มีการใช้อุปกรณ์ประกอบการสอนโดยเฉพาะหนังสือประกอบการค้นคว้า รูปภาพ เครื่องบันทึกเสียงและหนังสือพิมพ์ ส่วนนักศึกษามีความเห็นว่า อุปกรณ์ประกอบการสอนที่นิยมใช้คือหนังสือประกอบการค้นคว้า ทั้งอาจารย์และนักศึกษามีความเห็นตรงกันว่าอุปกรณ์ที่มีอยู่ไม่เพียงพอกับความต้องการ ในด้านการวัดและประเมินผล อาจารย์ส่วนมากมีความเห็นว่าได้ใช้วิธีวัดผลการเรียนของนักศึกษาโดยให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดโดยเน้นด้านการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด ส่วนนักศึกษามีความเห็นว่าส่วนใหญ่อาจารย์ใช้วิธีวัดผลโดยให้นักศึกษาทำข้อทดสอบข้อเขียนมากที่สุดโดยเน้นด้านความจำ เกี่ยวกับปัญหาและความต้องการในการปรับปรุงการเรียนการสอนทั้งอาจารย์และนักศึกษามีความเห็นตรงกันว่าการที่พื้นความรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาแตกต่างกันมากเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร อาจารย์และนักศึกษาต้องการให้มีการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษด้านเนื้อหาวิชา วิธีสอน การปกครองชั้นเรียน หนังสือประกอบบทเรียน คู่มือการสอน การผลิตเอกสารแจกนักศึกษา การจัดหาและการทำอุปกรณ์การสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผล จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์กับนักศึกษาเกี่ยวกับสภาพการเรียนการสอน ปัญหาและความต้องการในการปรับปรุงการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในวิทยาพลศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purposes of this research were to study and compare the opinions of teachers of English and students at the higher certificate of education level concerning the condition, problems and needs of the learning and teaching English at higher certificate of education level in physical education colleges in order to find out helpful recommendations to make learning and teaching English more effective. The researcher constructed two questionnaires to use with every English instructor, 17 instructors altogether, and 20% of students which were randomly selected, 944 students altogether. The obtained data were statistically analyzed by means of percentage, arithmetic mean, standard deviation and t-test. The results of the study were as follows: According to the learning and teaching English condition, most instructors stated that they usually studied the curriculum, compiled the subject matter, prepared teaching plans in advance, emphasized their teaching on listening, speaking, reading and writing skills, assigned the students to do exercises and reexplained the lesson to the students when they did not understand. But most students stated that although the instructors [usually] emphasized listening, speaking, reading and writing skills, they also used lecturing method. Most instructors gave the opinion that they never organized any extracurricular activities. They used only textbooks, pictures, tape recorders and newspaper as teaching aids. However, the students felt that the popular teaching aids were textbooks. Both the instructors and the students agreed that the acquired teaching aids were not enough. Most instructors stated that they used exercises to measure the students’ ability in using English in daily life, but the students thought that their instructors often measured their memorization by using written test. The teaching problems stated most by both the instructors and the students were the far difference of the students' English background. They would like the subject matters, teaching methods, class disciplines, textbooks, teaching guidebooks, teaching aids, measurement and evaluation to be improved. The opinions of the instructors and the students related to the condition of learning and teaching, problems and needs in improving the teaching of English in physical education colleges were not significantly difference.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23387
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yada_Te_front.pdf494.83 kBAdobe PDFView/Open
Yada_Te_ch1.pdf436.37 kBAdobe PDFView/Open
Yada_Te_ch2.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Yada_Te_ch3.pdf368.21 kBAdobe PDFView/Open
Yada_Te_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Yada_Te_ch5.pdf646.96 kBAdobe PDFView/Open
Yada_Te_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.