Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23740
Title: ผลของการเปิดโอกาสเลือกกิจกรรมภายหลังการทำแบบฝึกหัด วิชาคณิตศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1
Other Titles: Effects of providing activity selection opportunities after mathematics exeDrcises on prathom 1 students' achievement in mathematics
Authors: เยาวนาฏ วุฒิธำรง
Advisors: สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงผลการเปิดโอกาสเลือกกิจกรรมภายหลังการทำแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 66 คนซึ่งได้มาจากสุ่มโดยวิธีจับฉลากในห้องเรียน 2 ห้องเรียน จากจำนวนห้อง 11 ห้องเรียน แบ่งนักเรียนที่สุ่มมาได้ออกเป็น 2 กลุ่มโดยการจับฉลากให้กลุ่มแรกเป็นกลุ่มทดลอง อีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุม สำหรับกลุ่มทดลอง การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ในช่วงแรกครูเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกกิจกรรมภายหลังที่นักเรียนทำแบบฝึกหัดเสร็จภายในเวลา 20 นาที ในช่วงที่ 2 ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกกิจกรรมภายหลังที่นักเรียนทำแบบฝึกหัดเสร็จภายในเวลา 20 นาที และได้คะแนนข้อที่ตอบถูกเป็น 60% ของคะแนนทั้งหมด ซึ่งแต่ระช่วงใช้เวลาในการทดลองนาน 1 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโอกาสให้เลือกกิจกรรมใดๆ แต่จะได้รับกิจกรรมภายหลังการทำแบบฝึกหัดทุกครั้ง ผู้วิจัยได้ทดสอบกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงก่อนและหลังการทดลอง ผลการทดลองปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยกลุ่มทดลองทำคะแนนได้สูงกว่ากลุ่มควบคุม
Other Abstract: To investigate the effects of providing activity selection opportunities after mathematics exercises on Prathom 1 students’ achievement in mathematics. There were two classes with 66 students randomly selected from 11 Prathom 1 classes. All 66 students were divided randomly to two groups with 33 students each which one of them v/as assigned to be the control group and the other to be the experimental group. For the experimental group, the experiment was divided into two phases. At the first phase, the teacher provided activity selection opportunities after the students had finished mathematics exercises in 20 minutes. At the second phase, the teacher provided activity selection opportunities after the students had finished mathematics exercises in 20 minutes and got 60% of the right answer. The control group had no opportunities to select activities but was given an activity after every mathematics exercises period. Before and after treatments mathematics test was assessed. The result showed that there was statistical significant difference in prathom 1 students’ achievement in mathematics between the experimental and the control group at.01 level. The experimental group got higher score on mathematics test than the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23740
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yawwanart_Vu_front.pdf440.78 kBAdobe PDFView/Open
Yawwanart_Vu_ch1.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Yawwanart_Vu_ch2.pdf336.42 kBAdobe PDFView/Open
Yawwanart_Vu_ch3.pdf280.57 kBAdobe PDFView/Open
Yawwanart_Vu_ch4.pdf403 kBAdobe PDFView/Open
Yawwanart_Vu_ch5.pdf313.04 kBAdobe PDFView/Open
Yawwanart_Vu_back.pdf889.98 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.