Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23770
Title: ความนิยมอ่านวรรณกรรมร่วมสมัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Preference in reading contemporary literary works of upper secondary students
Authors: ยุพา โชติเกียรติ
Advisors: ผะอบ โปษะกฤษณะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความนิยมอ่านวรรณกรรมร่วมสมัยประเภทต่างๆ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคการศึกษา 1 โดยศึกษาว่านักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความนิยมอ่านหนังสือประเภทต่างๆ เหมือนกันหรือแตกต่างกัน เพื่อจะได้ทราบความต้องการอ่านหนังสือของนักเรียนในระดับนี้ วิธีดำเนินการ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถาม (Questionnaire) ขึ้น 1 ชุด แบ่งออกเป็น 4 ตอน เพื่อสอบถามความนิยมอ่านวรรณกรรมร่วมสมัยประเภท นวนิยาย บทความ สารคดี บทร้อยกรอง และกวีนิพนธ์ เป็นแบบจัดอันดับคุณภาพ (Rating scale) จำนวน 100 ข้อ และได้ทดลองแบบสอบถามก่อนที่จะได้นำไปใช้สอบถามจริง ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชาย 324 คนและนักเรียนหญิง 264 คน ซึ่งกำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนราชินีบูรณะ โรงเรียนวัดเขมาภิตาราม โรงเรียนปทุมวิไล โรงเรียนสมุทรปราการ โรงเรียนสมุทรสาครและโรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนที่ได้จากแบบสอบถามมาหาค่าเฉลี่ย (Arithmetic mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และค่าสัมประสิทธิ์แห่งการกระจาย (The Coefficient of Variation ) ผลของการวิจัย 1. นักเรียนทั้งชายและหญิงนิยมอ่านวรรณกรรมต่างๆ ทุกประเภท 2. นักเรียนชายชอบอ่านวรรณกรรมประเภทบทความและสารคดีมากกว่านักเรียนหญิง และนักเรียนหญิงชอบอานวรรณกรรมประเภทนวนิยายมากกว่านักเรียนชาย 3. นักเรียนชายชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ การเมือง มากกว่านักเรียนหญิง และนักเรียนหญิงชอบอ่านเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ มากกว่านักเรียนชาย 4. นักเรียนหญิงชอบอ่านวรรณกรรมประเภทร้อยกรองและกวีนิพนธ์มากกว่านักเรียนชาย 5. ความนิยมอ่านวรรณกรรมประเภทต่างๆ เมื่อจำแนกตามเพศจะเห็นว่ามีความนิยมแตกต่างกัน แต่ถ้าดูเฉพาะภายในกลุ่มชายหรือหญิงโดยดูความแตกต่างกันตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ความนิยมใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันที่ลำดับความชอบมากน้อยเท่านั้น 6. นักเรียนต้องการให้นำวรรณกรรมร่วมสมัยบรรจุในหลักสูตรการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และปีที่ 5
Other Abstract: To study the contemporary literary works of upper secondary students in Educational Region One. This study was an attempt to examine the preference of boys and girls in reading various literary works. Procedure: Questionnaires were sent to 324 boys and 264 girls who were studying in upper secondary schools in Educational Region One. The collected data were analyzed in percentage, arithmetic mean, standard deviation and the coefficient of variation. Results 1. Boys and girls preferred to read Contemporary literary works. 2. Boys preferred non-fiction while girls preferred fiction. 3. Boys preferred science series and politics while girls preferred historical and social series. 4. Girls preferred poetry more than the boys did. 5. Preference in reading contemporary literary works by sex was different. Classifying groups by various educational attainments showed a little difference. 6. There was a demand for including contemporary literary works in the M.S. 4-5 curriculum.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23770
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuha_Ch_front.pdf465.33 kBAdobe PDFView/Open
Yuha_Ch_ch1.pdf498.43 kBAdobe PDFView/Open
Yuha_Ch_ch2.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Yuha_Ch_ch3.pdf519.2 kBAdobe PDFView/Open
Yuha_Ch_ch4.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Yuha_Ch_ch5.pdf682.27 kBAdobe PDFView/Open
Yuha_Ch_back.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.