Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23962
Title: มาตรการป้องกันและปราบปรามเงินนอกระบบ : ศึกษากรณีการใช้โพยก๊วน
Other Titles: The LegAl Measures for suppression of Underground Banking
Authors: จิรวุฒิ ลิปิพันธ์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะทำการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการใช้โพยก๊วนกับกระบวนการลักลอบนำเงินตราออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมายและการสนับสนุนทางการเงินระหว่างองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ โดยนำเสนอถึงประวัติของการใช้โพยก๊วนในภูมิภาคต่างๆ ของโลก และกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายที่หน่วยงานเฉพาะกิจระหว่างประเทศและรัฐบาลของบางประเทศได้วางแนวทางในการควบคุมการใช้โพยก๊วนเพื่อกิจกรรมที่ผิดกฎหมายได้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเป็นแนวทางในการเปรียบเทียบและปรับปรุงมาตรการของไทยให้สอดคล้องและมีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการใช้โพยก๊วนได้ต่อไป จากการศึกษาพบว่าโพยก๊วนโดยทั่วไปมีอยู่สามรูปแบบ ได้แก่ โพยก๊วนของจีน โพยก๊วนของอินเดียและประเทศตะวันออกกลาง และโพยก๊วนระบบธนาคารใต้ดินในทวีปอเมริกา โดยโพยก๊วนของไทยจัดเป็นส่วนหนึ่งของโพยก๊วนแบบจีน วัตถุประสงค์ของการใช้โพยก๊วนก็ได้แก่ การลักลอบนำเงินตราออกนอกประเทศ โดยหลีกเลี่ยงภาระที่จะต้องทำการรายงานการเคลื่อนย้ายเงินต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นการหลบเลี่ยงที่จะไม่ทำรายงานธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินที่อยู่ในความควบคุมของรัฐ ซึ่งส่งผลให้ไม่ต้องทำธุรกรรมการเงินให้แก่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินด้วย ผู้ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการใช้โพยก๊วนอย่างผิดกฎหมายก็ได้แก่ ธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราเถื่อน การเปิดธุรกิจบังหน้าเพื่อลักลอบขนเงิน บ่อนการพนัน และธุรกิจฟอกเงินภายใต้เครือข่ายขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ แนวทางในการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ได้แก่ การเพิ่มอำนาจของเจ้าหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้มีอำนาจตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงินที่น่าสงสัยว่าจะเป็นการฟอกเงินมากขึ้น โดยการใช้มาตรการพิเศษ เช่น การดักฟังทางโทรศัพท์ มาตรการควบคุมการนำส่ง มาตรการล่อให้กระทำความผิด และการเพิ่มมาตรการตรวจสอบการเคลื่อนย้ายเงินระหว่างประเทศของบุคคลหรือธุรกิจ ภายใต้แนวทางของกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินและกฎหมายศุลกากร และการกำหนดให้การใช้โพยก๊วนหรือธุรกิจเงินนอกระบบอื่นๆ ถือเป็นฐานความผิดตามกฎหมายป้องกันและปราบปรามองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของธุรกิจที่ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่องค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ประกอบกับการใช้นโยบายตลาดค้าเงินเสรี เพื่อชักชวนให้ผู้ประกอบการหันมาดำเนินธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราอย่างถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น
Other Abstract: The theses focus on the relationship between the underground banking and he illegal money transfer outside the country and the financial supports of the crime organizations. These theses present the historical perspective and the legal measures adopted by the international organizations and some governments to prevent the underground banking. The analysis result will be the main idea to compare, discuss and improve the legal measures of our country. According to this, there are three kinds of underground banking; Chinese Flying Money, Indian and Middle East Hawala and American Underground Banking. Thai Poey-Kuan is indicated as a Chinese one. The uses of this kind of instrument are to move money outside the country illegally without sending the reports to the Bank of Thailand and the Anti Money Laundering Office (AMLO). The source businesses that provide underground banking service are unregistered money exchange services, fake companies provide money exchange service, Casinos and the businesses that support the operations of the organized crimes. The solutions for this incident are increasing the officers’ investigation power to any suspected money laundering transactions by collecting the Suspicious Activity Transaction Reports from all of the institutions, promoting the use of special measures such as entrapment, wiretappings, controlled delivery and strengthening the investigative powers under the Currency Exchange Law and the Customs Law. Moreover, the activity of underground banking should be increased as the predicate offence of the new organized crime law of the country to prevent its operations and continuing the Free Money Exchange Enterprise Program to promote the legal dealers in business.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23962
ISBN: 9741716206
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirawut_li_front.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Jirawut_li_ch1.pdf1.81 MBAdobe PDFView/Open
Jirawut_li_ch2.pdf9.39 MBAdobe PDFView/Open
Jirawut_li_ch3.pdf35.58 MBAdobe PDFView/Open
Jirawut_li_ch4.pdf22.81 MBAdobe PDFView/Open
Jirawut_li_ch5.pdf6.96 MBAdobe PDFView/Open
Jirawut_li_back.pdf8.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.