Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24019
Title: พฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 11
Other Titles: The decision making and directing behavisor of secondary school administrators in the education region eleven
Authors: รังสฤษฎ์ ศรีวิชัย
Advisors: ณัฐนิกา คุปรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในการบริหารงานด้านวิชาการธุรการ บุคลากร กิจการนักเรียนและความสัมพันธ์กับชุมชน 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 ลักษณะ คือ 2.1) พฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่กับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก 2.2) พฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาซึ่งมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนต่างกัน 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการตัดสินใจและสั่งการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สมมุติฐานของการวิจัย คือ 1) ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่กับขนาดเล็กมีพฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการไม่แตกต่างกัน 2) ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาซึ่งมีช่วงเวลาในการดำรงตำแน่งผู้บริหารโรงเรียนต่างกัน มีพฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย คือ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 11 ทุกโรงโดยไม่มีการสุ่ม ได้ประชากรจำนวน 142 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วยคำถามแบบเลือกตอบและแบบมาตราส่วนประเมินค่า การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้สถิติไคสแควร์ สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการในการบริหารการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตการศึกษา 11 ปรากฏว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ทำการตัดสินใจและสั่งการด้วยตัวเองโดยอาศัยข้อมูลจากผู้ใต้บังคับบัญชา พฤติกรรมในลำดับรองลงไปคือผู้บริหารให้กลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมพิจารณาและตัดสินใจร่วมกัน 2) ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่และผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กมีพฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการที่แตกต่างกัน โดยผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กจะอาศัยข้อมูลจากผู้ใต้บังคับบัญชาแล้วทำการตัดสินใจด้วยตัวเองส่วนผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่จะตัดสินใจและสั่งการโดยเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ใต้บังคับบัญชาร่วมพิจารณา รวบรวมความเห็นแล้วจึงตัดสินใจ 3) ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาซึ่งมีช่วงเวลาดำรงตำแหน่งผู้บริหารต่างกันจะมีพฤติกรรมการตัดสินใจและสั่งการต่างกัน 4) ผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดในกระบวนการตัดสินใจและสั่งการในการบริหารการศึกษา คือ ผู้บริหาร รองลงไป คือ ผู้ช่วยผู้บริหารและหัวหน้าหมวดวิชา 5) ปัญหาและอุปสรรคในการตัดสินใจและสั่งการในการบริหารการศึกษาข้อที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในระดับมาก คือ ระบบราชการที่ล่าช้าและซับซ้อน มีระเบียบกฎเกณฑ์ นิสัยบางประการของผู้ร่วมงาน ช่องทางการติดต่อสื่อสารที่ยืดยาวและซับซ้อน และขาดข้อมูลที่ถูกต้อง สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน
Other Abstract: The Purpose of the Study 1. To study the decision making and directing behavior of secondary school administrators in academic, school business, administrative personnel, student affairs, and in relations with the community. 2. To compare the decision making and directing behavior of secondary school administrators in 2 aspects as follows: 2.1 The behavior of the administrators in a large secondary school and that of a small secondary school. 2.2 The behavior of the administrators who are in the position for a different period of time. 3. To study the problems and obstacles in the decision making and directing process in secondary schools. Hypothesis l. There is no difference in the decision making and directing behavior of administrators in a large and a small school, 2.There is no difference in the decision making and directing behavior of administrators who are in the position for a different period of time. Procedures Data is obtained from all 142 secondary school administrators in the education region eleven. The instrument: used was a check-list and rating scale questionnaire constructed in the areas of academic, school business, administrative personnel, student affairs, and in relations with the community. The statistical treatment included percentage, arithmetic mean, standard deviation, and chi-square test. Findings l. The result of the research indicates that the decision making and directing behavior of most of the secondary school administrators was done by themselves and taking into account the information from their staff. Apart from this, the administrators also allowed their staff to participate in the decision making process. 2. Administrators in a large secondary school Have a different decision making and directing behavior to that of the administrators in a small secondary school depends on the information and data from the staff and make their own decision, whereas, the administrators in a large secondary school gives the opportunity to the staff to participate in the decision making process. The staff are asked to give opinions and the decision is then made. 3. The administrators who are in the position for a different period of time have different decision making and directing behavior. 4. The person who Bias the most important role in the decision and directing process is the administrator Next is the assistant administrator and head of the academic subject respectively. 5. The problem and obstacle in the decision making and directing process in educational administration is the red-tape and complications within the bureaucracy, for example, strict regulations, lengthy process, lack of correct and up - to - date data.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24019
ISBN: 9745612812
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rongsrit_Se_front.pdf552.45 kBAdobe PDFView/Open
Rongsrit_Se_ch1.pdf508.53 kBAdobe PDFView/Open
Rongsrit_Se_ch2.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Rongsrit_Se_ch3.pdf593 kBAdobe PDFView/Open
Rongsrit_Se_ch4.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Rongsrit_Se_ch5.pdf797.23 kBAdobe PDFView/Open
Rongsrit_Se_back.pdf780.16 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.