Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24124
Title: การทดลองสอนจริยศึกษาโดยการสร้างศรัทธาแก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่สาม
Other Titles: An experiment of teaching morality by using faith enrichment approach to prathom suksa three students
Authors: วรรณา สุติวิจิตร
Advisors: สุมน อมรวิวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองสอนจริยศึกษาโดยการสร้างศรัทธาตามแนว พุทธวิธีแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม และ เพื่อเปรียบเทียบความคิดรวบยอดเชิงจริยธรรม ของนัก เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม ที่ครูสอนตามแผนการสอนปกติและที่ครูสอนด้วยการ สร้างศรัทธา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสอบวัดความคิดรวบยอดเชิงจริยธรรม ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแผนการสอนจำนวน 5 เรื่อง เรื่องละ 8 ข้อ รวม 40 ข้อ มีเรื่องการทำใจให้สงบมีสมาธิ มีระดับความยาก 0.45-0.65 อำนาจจำแนก 0.37-0.63 เรื่องความมีระเบียบวินัย มีระดับความยาก 0.40-0.80 อำนาจจำแนก 0.40-0,70 เรื่องการตรงต่อ เวลามี ระดับความยาก 0.57-0.83 อำนาจจำแนก 0.20-0.53 เรื่องความอดทนอดกลั้น มีระดับความยาก 0.43-0.80 อำนาจจำแนก 0.4070.60 เรื่องการรู้จักความพอดี มีระดับความยาก 0.53-0.77 อำนาจจำแนก 0.37-0.62 คำสัมประสิทธิ์ความเที่ยง ของแบบสอบ 0.88 2. แผนการสอน 5 แผน ที่ได้ผ่านการตรวจแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิ วิธีการวิจัย ตัวอย่างประชากรเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนสาธิตแห่ง มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ จำนวน 2 ห้อง เรียน ห้องละ 30 คน รวม 60 คน ผู้วิจัย ได้ทดลองสอนนักเรียนทั้งสองกลุ่มด้วยตนเอง โดยสอนห้องเรียนละ 4 1/2 คาบต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ แล้วนำแบบสอบวัดความคิดรวบยอดเชิงจริยธรรมมาวิเคราะห์ โดยการทดสอบค่าที สรุปผลการวิจัย 1. ความคิดรวบยอด เชิงจริยธรรมของนักเรียนที่ครูสอนตามแผนการสอนปกติและที่ครูสอนโดยการสร้างศรัทธาตามแนวพุทธวิธี มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนตามแผนการสอนปกติ และนัก เรียนที่ เรียนตามแผนการสอน โดยการสร้างศรัทรามีการเรียนรู้โดยมัชฌิมเลขคณิตคะแนนหลังสอนสูงกว่าก่อนสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were to experiment teaching morality by using faith enrichment approach to prathom suksa three students and to compare the moral concepts of prathom suksa three students taught by ordinary plan and faith enrichment plan. Instruments 1. Moral concept tests were constructed by the researcher from five topics of lesson plans. Each topic consisted of 8 questions. On the topic of concentration, the level, of difficulty was between 0.45 - 0.65 with a discrimination power of 0.37 - 0.63, for self discipline topic, the figures were 0.40 - 0.80, 0.40 - 70, for punctuality, the figures were 0.57 - 0.83, 0.20 - 0.53, for endurance, the figures were 0.43 - 0.80, 0.40 - 0.60 and for moderation topic, the figures were 0.53 - 0.77, 0.37 - 0.62. A reliability coefficient was 0.88. 2. Five lesson plans were improved by experts. Procedure The sample were two groups of the students of Kasetsart University Demonstration School. There were 30 students in each' group. The researcher had experimented teaching in both classrooms. The researcher taught each class periods per week (20 minutes per period) for five weeks. The statistical method for data analysis was the t-test. Results 1. The result of this study indicated that the moral concepts of the students taught by ordinary plan and by faith enrichment plan were significantly different at the .05 level. 2. The arithmetic mean of the post-test of the students taught by ordinary plan and by faith enrichment plan were higher than pre-test at the significant of .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24124
ISBN: 9745635928
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanna_Su_front.pdf434.86 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Su_ch1.pdf507.07 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Su_ch2.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open
Wanna_Su_ch3.pdf364.29 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Su_ch4.pdf260.81 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Su_ch5.pdf490.83 kBAdobe PDFView/Open
Wanna_Su_back.pdf6.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.