Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24139
Title: การกำจัดไนเตรตจากน้ำด้วยกระบวนการออโตโทรฟิก ดีไนตริฟิเคชันในถังกรองซัลเฟอร์-หินปูน
Other Titles: Nitrate removal from water using Autotrophic Denitrification process in a sulfur-limestone filter
Authors: กิตติ เกษตรธรรม
Advisors: มั่นสิน ตัลหุลเวศม์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัยนี้ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ถังกรองเอดี เพื่อกำจัดไนเตรตจากน้ำด้วยกระบวนการออโตโทรฟิกดีไนตริฟิเคชัน โดยทำการทดลองกับน้ำดิบสังเคราะห์ที่เตรียมขึ้นมาจากสารโปแตสเซียมไนเตรต และสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียชนิด Thiobacillus denitrificans กำหนดให้ความเข้มข้นของไนเตรตที่ใช้ในการวิจัยประมาณ 25, 50 และ 75 มก.ไนโตรเจน/ล. และกำหนดระยะเวลากักเก็บน้ำของถังเอดี 2 ระดับ คือ 10 และ 20 ชั่วโมง จากผลการทดลอง พบว่า กระบวนการออโตโทรฟิกดีไนตริฟิเคชันในถังกรองเอดี มีประสิทธิภาพในการกำจัดไนเตรตจากน้ำ 100% ภายใต้ทุกสภาวะการทดลองที่กำหนด แต่การกำจัดไนเตรตจากน้ำด้วยกระบวนการดังกล่าวนี้ มีข้อเสียคือ ทำให้มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณซัลเฟตและความกระด้างในน้ำ จากผลการทดลองสรุปได้ว่ามีประมาณซัลเฟตเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 7.32 มก./ล. ต่อปริมาณไนเตรตที่ถูกกำจัด 1 มก.ไนโตรเจน/ล. และมีการเพิ่มปริมาณความกระด้างให้แก่น้ำที่ผ่านระบบฯ จากผลการทดลองพบว่า มีปริมาณความกระด้างของน้ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 5.97 มก./ล. ต่อปริมาณไนเตรตที่ถูกกำจัด 1 มก.ไนโตรเจน/ล. นอกจากนี้ ยังพบว่ากระบวนการออโตโทรฟิกดีไนตริฟิเคชัน ต้องการฟอสเฟตประมาณ 0.004 มก./ล. ต่อปริมาณไนเตรตที่ถูกกำจัด 1 มก.ไนโตรเจน/ล.
Other Abstract: The purpose of this study is to utilize Autotrophic Denitrification Filter for nitrate removal from water by using autotrophic denitrification process. The synthetic raw water was prepared from Potassium Nitrate and other necessary mineral nutrients for the growth of Thiobacillus denitrificans. The nitrate concentration of raw water was varied at 3 levels, i.e. 25, 50 and 75 mg N/l and hydraulic retention time was varied at 2 levels, i.e. 10 and 20 hour respectively. The results showed that the autotrophic denitrification precess in A.D. filter could remove 100% of nitrate from the water under all experimental conditions. However, this process had few disadvantages since it increased the sulfate the hardness content of the treated water. From the experiments, approx 7.32 mg/l of sulfate and 5.79 mg/l of hardness were increased for very 1 mg N/l of nitrate being removed. It was also found that this process required approx 0.004 mg/l of phosphate for every 1 mg N/l of nitrate being removed.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24139
ISBN: 9745820547
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kitti_Ka_front.pdf702.38 kBAdobe PDFView/Open
Kitti_Ka_ch1.pdf324.04 kBAdobe PDFView/Open
Kitti_Ka_ch2.pdf770.46 kBAdobe PDFView/Open
Kitti_Ka_ch3.pdf427.1 kBAdobe PDFView/Open
Kitti_Ka_ch4.pdf1.86 MBAdobe PDFView/Open
Kitti_Ka_ch5.pdf286.7 kBAdobe PDFView/Open
Kitti_Ka_back.pdf771.85 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.