Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24191
Title: การแบ่งอาณาเขตทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศใกล้เคียง
Other Titles: Delimitation of the maritime boundaries between Thailand and her neighbouring countries
Authors: วศิน ธีรเวชญาณ
Advisors: สุจินดา ยงสุนทร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เรื่องอาณาเขตในทะเลระหว่างประเทศนั้น ได้ค่อยๆ วิวัฒนาการจากการถือเสรีภาพในการเดินเรือในสมัยโบราณมาเป็นความพยายามที่จะยึดครองพื้นที่ทางทะเลไว้เป็นของตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ กล่าวคือ ในสมัยโบราณ ประเทศที่เจริญรุ่งเรืองในยุคนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่มีความสามารถในการเดินเรือ เพื่อวัตถุประสงค์ในการค้าขายและการแสวงหาเมืองขึ้น เช่นประเทศสเปน โปรตุเกส อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ ประกอบกับความต้องการอาหารและทรัพยากรธรรมชาติจากทะเล ยังมีน้อย และยังขาดความรู้ในการแสวงหาประโยชน์จากทะเล ทำให้ประเทศชายฝั่งต่าง ๆไม่มีความคิดในอันที่จะหวงกันพื้นที่ทางทะเลไว้เป็นของตนเอง หรือถึงมีก็เฉพาะอยู่ในขอบเขตที่ประชิดกับชายฝั่งของตนไม่ห่างไกลกันนัก แต่ในระยะต่อมาความรู้ทางวิชาการของมนุษย์ได้เพิ่มพูนขึ้น รวมทั้งความจำเป็นในการแสวงหาอาหาร และทรัพยากรธรรมชาติมีมากขึ้นตามอัตราการเพิ่มของประชากรของโลก ทำให้ประเทศต่างๆหันมาให้ความสำคัญแก่อาณาเขตทางทะเลมากยิ่งขึ้น แนวโน้มของกฎหมายทะเลจึงเป็นไป ในลักษณะที่จะจำกัดเสรีภาพในการเดินเรือมากยิ่งขึ้น โดยการ ขยายอาณาเขตทางทะเลออกไปในระยะไกลมากขึ้นของรัฐชายฝั่งทั้งหลาย ทั้งนี้อาจเห็นได้จากแนวโน้มของผลการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยกฎหมายทะเลของสหประชาชาติ 5 สมัย (ของการประชุมครั้งที่ 3) ที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย คนไทยบางส่วนได้อาศัยทะเลในการดำรงชีพมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทั้งในบริเวณอ่าวไทย ทะเลจีนใต้และทะเลอันดามัน และได้วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งกองเรือประมงของไทยมีความสามารถในการประมงจัดอยู่ในอันดับ 7 ของโลก สำหรับอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ รัฐบาลก็ได้ให้ความสำคัญในการขุดเจาะแก๊สธรรมชาติและน้ำมันในทะเลเป็นอย่างมาก ฉะนั้นจึงเป็นการจำเป็นและเหมาะสมที่รัฐบาลไทยได้ออกกฎหมายภายใน และออกประกาศในรูปต่างๆเพื่อยืนยันสิทธิของเราเองในทะเลบริเวณนั้น ตามที่ประเทศต่างๆทั่วโลกได้ปฏิบัติกัน ในการนี้นอกจากรัฐบาลไทยจะออกประกาศกำหนดเส้นทางตรงในทะเลบริเวณต่างๆรวม 3 แห่งแล้ว ยังได้ออกประกาศเกี่ยวกับความกว้างทะเล อาณาเขต กำหนดเขตสัมปทานในการขุดเจาะน้ำมัน และเขตไหล่ทวีปในบริเวณอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ด้วย นอกจากจะได้ประกาศยืนยันสิทธิเหนือบริเวณทะเลดังกล่าวแล้ว ประเทศไทยยังได้ดำเนินการเจรจาแบ่งเขตทะเลอาณาเขต และเขตไหล่ทวีปกับประเทศต่างๆบริเวณทะเลอันดามัน ซึ่งมีประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย เป็นอาทิ แต่ในบริเวณอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ นอกจากมาเลเซีย ซึ่งเคยเจรจาแบ่งเขตทางทะเลกับไทยไปบางส่วนแล้ว กัมพูชากับเวียดนามยังอยู่ระหว่างรอดูท่าที เนื่องจากบรรยากาศทางการเมืองยังไม่อำนวยให้ ผู้เขียนได้ทำการศึกษาความเป็นมา และการวิวัฒนาการของอาณาเขตทางทะเลระหว่างประเทศ และค้นคว้ารวบรวมบทบัญญัติหรือคำประกาศเกี่ยวกับเรื่องการกำหนดเขตทางทะเลของประเทศไทย รวมทั้งรวบรวมความตกลงแบ่งเขตทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศใกล้เคียง โดยทำการวิจารณ์ วิเคราะห์และเปรียบเทียบ โดยอาศัยมูลฐานทางกฎหมายระหว่างประเทศ และคำพิพากษาของศาลระหว่างประเทศเป็นหลัก เพื่ออธิบายและหรือเสนอหลักเกณฑ์ของกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งได้ใช้หรือควรจะใช้ในการแบ่งเขตทางทะเล ระหว่างประเทศไทยกับประเทศใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการเจรจาแบ่งเขตทางทะเลระหว่างประเทศไทยกับประเทศใกล้เคียงจะเป็นที่น่าพอใจ และสำเร็จไปแล้วหลายส่วนก็ตาม แต่ก็ยังมีบริเวณทะเลอีกหลายแห่งที่ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านยังไม่อาจตกลงกันได้ และยังเป็นปัญหาที่คั่งค้างอยู่กล่าวคือ ปัญหาเรื่องเกาะสามเกาะระหว่างไทยกับพม่าในทะเลอันดามัน ปัญหาเส้นแบ่งเขตทะเลอาณาเขตระหว่างไทยกับกัมพูชา และปัญหาการแบ่งเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ระหว่างไทย- กัมพูชา – เวียดนาม – มาเลเซีย ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาที่จะต้องทำการเจรจาตกลงให้สำเร็จลุล่วงไปโดยเร็ว โดยเฉพาะปัญหาไหล่ทวีปในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นแหล่งที่อาจก่อให้เกิดการกระทบกระทั่ง หรือขัดแย้งกันได้ง่ายมาก เพราะเป็นแหล่งที่สันนิษฐานว่ามี ทรัพยากร ธรรมชาติ ซึ่งเป็นแก๊สและน้ำมันซ่อนอยู่มาก ประกอบกับลัทธิการปกครองที่แตกต่างกันของประเทศในบริเวณนี้ด้วย
Other Abstract: From the development of the international maritime boundaries and the law of the sea, it appeared that during the first period of the history (prior to 357 A.D.) the international practice of numerous countries recognized the freedom of the sea and opposed appropriation of maritime spaces or the extension of sovereignty thereon. At the beginning of the Middle Ages (beginning from the thirteenth century) the practice of maritime space appropriation which used to be performed only by some sea trading nations had gradually been adopted by more coastal states, because of the need of more food and the shortage of natural resources resulting from the increase of world population and in this sense the seas had been considered the treasures of the said things. In the contemporary period (beginning from the thirteenth century) the width of the appropriated maritime space was extended more and more far beyond the coast and the distance claimed varied from state to state. In order to solve these problems, several international organizations, including the League of Nations and the United Nations, convened international conferences concerning problems of the Law of the Sea. However, even after a series of meetings within the past twenty years, some difficult problems still remain unsolved. For Thailand, a lot of Thai people had earned their living from the sea since the ancient time in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea as well. To protect the interests of the nation in the sea, the Thai Government has issued many proclamations to confirm her rights. Besides that, Thailand has delimited the maritime boundaries with her neighbouring countries both in the Gulf of Thailand and the Andaman Sea. In Andaman Sea, the continental shelf boundary among Thailand, Indonesia and Malaysia has been successfully established but there are still some problems between Thailand and Burma concerning the ownership of the three small islands situated at the west coast of the former. In the Gulf of Thailand the initial negotiations for delimiting maritime boundaries between Thailand and Malaysia have been held and further steps to complete the whole task can be expected in the near future.The Author has collected all the Agreements regarding the delimitation of maritime boundaries between Thailand and her neighbouring countries and makes a critical analysis thereof on the basis of International Law and judgments of the International Court of Justice.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24191
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vasin_Te_front.pdf718.1 kBAdobe PDFView/Open
Vasin_Te_ch1.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open
Vasin_Te_ch2.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Vasin_Te_ch3.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Vasin_Te_back.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.