Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24244
Title: ผลของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อการปรับตัวด้านสังคม ของกลุ่มนักเรียนที่ถูกเพื่อนชิงชัง ซึ่งได้รับการฝึกการรับความรู้สึกก่อน กับกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก
Other Titles: Effects of group counseling on social adjustment of previously sensitivity-trained rejects group and nontrained rejectee group
Authors: วราภรณ์ ลิ้มสุวัฒน์
Advisors: โสรีช์ โพธิแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2522
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะศึกษาประสิทธิภาพ ของการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม และการฝึกการรับความรู้สึกก่อนที่มีต่อการปรับตัวด้านสังคมของกลุ่มนักเรียนที่ถูกเพื่อนชิงชัง กลุ่มตัวอย่างประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2521 สุ่มมาจากนักเรียนในกลุ่มที่ทำคะแนนแบบทดสอบสังคมมิติได้ในกลุ่มต่ำ 25% มาจำนวน 39 คน และจากกลุ่มสูง 75% มาจำนวน 9 คน รวม 48 คน เนื่องจากกลุ่มที่ใช้ทั้งหมดมี 6 กลุ่ม คือ (1) E_1ก เอกภัณฑ์ (2) E_1ข วิวิธ-ภัณฑ์ (3) E_2ก เอกภัณฑ์ (4) E_2ข วิวิธภัณฑ์ (5) C_ก เอกภัณฑ์ (6) C_ข วิวิธภัณฑ์ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีจับฉลากจัดกลุ่ม ก) จากกลุ่มต่ำ 25% เข้ากลุ่ม E_1ก, E_2ก , C_ก กลุ่มละ 8 คน ข) จากกลุ่มต่ำ 25% เข้ากลุ่ม E_1ข, E_2ข , C_ข กลุ่มละ 5 คน ค) จากกลุ่มต่ำ 75% เข้ากลุ่ม E_1ข, E_2ข , C_ข กลุ่มละ 3 คน ดังนั้นจะได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 8 คน เท่ากัน กลุ่มทดลองที่ 1 (E_1ก, E_1ข) จะได้รับการฝึกการรับความรู้สึกก่อน และการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม กลุ่มทดลองที่ 2 (E_2ก, E_2ข) จะได้รับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ส่วนกลุ่มควบคุม ( C_ก,C_ข ) จะไม่ได้รับกิจกรรมอันหนึ่งอันใดเลย การฝึกการรับความรู้สึกก่อนกระทำโดยฝึกกิจกรรม 5 กิจกรรม ติดต่อกัน กิจกรรมละ 1 - 1 1/2 ชั่วโมง ก่อนเข้ารับการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม สมาชิกจะพบกันสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลาติดต่อกัน 5 สัปดาห์ รวม 10 ครั้งๆ ละประมาณ 1 ชั่วโมง เมื่อการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มสิ้นสุดลง นักเรียนในกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 ทำแบบประเมินการให้คำปรึกษา แบบวิเคราะห์พฤติกรรมตนเอง และแบบประเมินผลตนเอง แล้วนักเรียนทุกกลุ่มทำแบบสำรวจเพื่อประมาณค่าการปรับตัวทางสังคม คะแนนจากแบบสำรวจเพื่อประมาณค่าการปรับตัวทางสังคม ได้ถูกนำมาวิเคราะห์หาความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ส่วนคะแนนจากแบบประเมินการให้คำปรึกษา แบบวิเคราะห์พฤติกรรมตนเอง และแบบประเมินตนเอง ได้ถูกนำมาคำนวณ หาค่าร้อยละของความถี่ เพื่อวิเคราะห์ทัศนะของผู้เข้าร่วมการทดลอง ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ในด้านการปรับตัวทางสังคม ผลการวิจัยไม่สนับสนุนสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ทั้ง 4 ประการ คือ 1) นักเรียนที่ได้รับคำปรึกษาแบบกลุ่ม และนักเรียนที่ไม่ได้รับคำปรึกษาแบบกลุ่มมีการปรับตัวทางสังคม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ∝ = .05 2) นักเรียนที่ได้รับคำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีการฝึกการรับความรู้สึกก่อน และนักเรียนที่ได้รับคำปรึกษาแบบกลุ่มที่ไม่มีการฝึก มีการปรับตัวทางสังคม ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ∝ = .05 3) ในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีการฝึกการรับความรู้สึกก่อน นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มแบบวิวิธภัณฑ์ และนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มแบบเอกภัณฑ์ มีการปรับตัวทางสังคมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ∝ = .05 4) ในการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม ที่ไม่มีการฝึกการับความรู้สึกก่อน นักเรียนที่อยู่ในกลุ่มแบบเอกภัณฑ์ มีการปรับตัวทางสังคม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ∝ = .05 ส่วนในด้านทัศนคติที่มีต่อการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มนั้น พบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีทัศนคติในทางบวก ต่อการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of group counseling and pre group sensitivity training on social adjustment of rejectee group. The subjects were students in Matayom Suksa three at the Demonstration School from Chulalongkorn University in academic years 1978. Thirty-nine were selected randomly from low sociometric scale and nine were from-high sociometric scale. According to the design of the study, 6 groups were experimentally needed (1) homogenous E_1a group (2) heterogenous E_1b group (3) homogenous E_2a group (4) heterogenous E_2b group (5) homogenous C_a group and (6) heterogenous C_b group. Subjects were randomly assigned to the according groups. Experimental Group I ( E_1a , E_1b )were assighed to participate 5 activities on pre group sensitivity training and 5 weeks group counseling. Experimental Group II (E_2a , E_2b) were assigned to participate only group counselingControl Group received no treatment at all. After the experimental groups were trained and group - counseled, they examined themselves on the Social Adjustment Inventory. Experimental group also filled out the Counseling Evaluation Inventory, the Behavioral Self Analysis Inventory and the Self Evaluation Inventory. Statistical method used for data analyses of Social Adjustment Inventory was one way analysis of variance. The results indicated that : (1) there was no difference in social adjustment among the students under control situation and under experimental situations. (2) there was no difference in social adjustment between previously sensitivity~trained group and non-trained group. (3) previously sensitivity-trained group, there was nodifference in social adjustment among homogenous groups and heterogenous groups. (4) in previously non sensitivity-trained group, there was no difference in social adjustment among homogenous groups and heterogenous groups. The result of others three inventory were analyzed by mean of percentage frequency, the findings suggested that most of the students had positive attitude toward group counseling
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2522
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24244
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waraporn_Li_front.pdf444.36 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Li_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Li_ch2.pdf437.7 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Li_ch3.pdf561.8 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Li_ch4.pdf308.02 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Li_ch5.pdf332.16 kBAdobe PDFView/Open
Waraporn_Li_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.