Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24312
Title: การเปรียบเทียบการสอนวิธีทำหุ่นจำลองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม โดยใช้โปรแกรมฟิล์มลู้พกับการสาธิต
Other Titles: A comparison of teaching method of making industrial model by programmed filmloop and demonstration
Authors: วิชัย มุนีอัญชุลีกุล
Advisors: ศุภร สุวรรณาศรัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: หุ่นจำลอง
แบบเรียนสำเร็จรูป
การสอนด้วยสื่อ
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมาย การวิจัยเรื่องนี้เพื่อศึกษาการทดลองใช้โปรแกรมฟิล์มลู้พ สอนวิธีทำหุ่นจำลอง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เปรียบเทียบกับการสอนแบบสาธิต การดำเนินงาน คัดเลือกกลุ่มนักศึกษาที่มีความสามารถพื้นฐานความรู้ทางวิชาช่างไม้ วิชาช่างโลหะ และวิธีทำหุ่นจำลองปูนพลาสเตอร์ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เท่าๆกัน 2 กลุ่มๆละ 20 คน กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมเรียนแบบสาธิต กลุ่มทดลองเรียนจากโปรแกรมฟิล์มลู้พใช้ประกอบกับเครื่องสอน เรียนวิธีทำหุ่นจำลองปูนพลาสเตอร์โดยวิธีหมุน หลังจากนั้นให้ทุกคนตอบแบบทดสอบก่อนและทำงานภาคปฏิบัติสำหรับกลุ่มที่เรียนจากโปรแกรมฟิล์มลู้พ ให้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนจากโปรแกรมฟิล์มลู้พ คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบ และจากงานภาคปฏิบัตินำไปคำนวณตามวิธีทางสถิติ ผลต่างของคะแนนเฉลี่ย และคิดเป็นร้อยละ ผลของการวิจัย จากผลการเรียนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญแสดงว่าโปรแกรมฟิล์มลู้พใช้ประกอบกับเครื่องสอน เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้สอนแทนครูได้และเหมาะสมใช้ในการฝึกทักษะ จากแบบสอบถามความคิดเห็น นักศึกษาส่วนใหญ่ชอบเรียนด้วยโปรแกรมฟิล์มลู้พใช้ประกอบเครื่องสอนและช่วยให้มีความเข้าใจได้เร็วและดีขึ้น ข้อเสนอแนะ ภาพยนตร์แบบ 8 มิลลิเมตร เป็นโสตทัศนวัสดุที่มีประสิทธิภาพและมีคุณค่าต่อการศึกษา มีกรรมวิธีการผลิตและการใช้ง่าย ควรพิจารณาส่งเสริมให้มีการผลิตและการนำเอามาใช้เป็นวัสดุของเครื่องสอน นอกจากนั้นควรมีการวิจัยเกี่ยวกับการใช้โสตทัศนูปกรณ์และโสตทัศนวัสดุที่มีขนาดมาตรฐานมาดัดแปลงใช้เป็นเครื่องสอน ใช้สอนวิชาในระดับชั้นต่างๆให้มีคุณค่าทางการศึกษาอย่างแท้จริง
Other Abstract: Purpose To study the effectiveness of teaching method of making industrial model with programmed film-loop as compared to demonstration. Procedure Higher vocational students equal in ability and basic knowledge of wood work, metal work and plaster model making, were selected and divided into two groups, twenty in each group. The first group was controlled as the second was experimental. The control group learned about the method of making model from demonstration.' The experimental learned from programmed film-loop with teaching-machine. The main topic of the method of making model was to learn to make plaster model by turning. The students were given tests and allowed to practice by themselves. During the lest, the experimental group was asked about opinions regarding their study of making model from programmed filmloop. Results of the written .tests and practices were statistically computed to find mean and percentage. Results There was no significant difference between the control and experimental groups. However it was shown that programmed filmloop with teaching machine can be used in practicing skills in the classroom. It was also found that studying by programmed filmloop yields better learning experiences. The students also expressed their desire to study other subjects from programed filmloop. Suggestions 8 millimetre filmloops is an effective and valuable audio visual material to education. It is easy to be produced and used. Therefore it should be encouraged to be produced and to be brought to use as a teaching machine material. Besides, there should be a research about how to develop and use the standard audio visual equipments and materials as the teaching machines in other subjects and in other levels.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24312
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vichai_Mu_front.pdf515.77 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_Mu_ch1.pdf1.15 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_Mu_ch2.pdf4.28 MBAdobe PDFView/Open
Vichai_Mu_ch3.pdf428.14 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_Mu_ch4.pdf307.75 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_Mu_ch5.pdf424.29 kBAdobe PDFView/Open
Vichai_Mu_back.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.