Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24371
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์กับพฤติกรรมประชาธิปไตย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Relationships between concepts of democracy and democratic behavior of the lower secondary school students
Authors: สมบัติ ศรีประเสริฐ
Advisors: ลาวัลย์ วิทยาวุฒกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ กับพฤติกรรมประชาธิปไตย กับการเปรียบเทียบมโนทัศน์ และพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามองค์ประกอบ คือ ประเภทโรงเรียน เพศ การศึกษาของบิดา รายได้ของบิดา รายได้ของครอบครัว และอาชีพของบิดา วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้แบบสอบมโนทัศน์ประชาธิปไตย และแบบสอบถามพฤติกรรมประชาธิปไตย ซึ่งสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยง 0.85 เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร เลือกโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จากโรงเรียนรัฐบาล 6 แห่ง และโรงเรียนราษฎร์ 6 แห่ง รวมจำนวนนักเรียน 540 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ทดสอบความแตกต่างด้วยค่าซี (Z-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการของ เซฟเฟ (Scheffe’ Test For All Possible Comparison) ผลการวิจัย 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของมโนทัศน์และพฤติกรรมประชาธิปไตยเท่ากับ 0.38 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์และพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่บิดามีอาชีพต่างกัน แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์และพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบต่อไปนี้ คือ ประเภทของโรงเรียน เพศ การศึกษาของบิดา รายได้ของครอบครัว ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีมโนทัศน์ประชาธิปไตยแตกต่างกันตามองค์ประกอบต่อไปนี้ ประเภทของโรงเรียนการศึกษาของบิดารายได้ของครอบครัว และอาชีพของบิดา ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 5. นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีมโนทัศน์ประชาธิปไตย ไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 6. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีพฤติกรรมแตกต่างกันเมื่อจำแนกองค์ประกอบต่อไปนี้ ประเภทของโรงเรียน เพศ การศึกษาของบิดา รายได้ของครอบครัว และอาชีพของบิดา ที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05
Other Abstract: Purposes The purposes of this research were to study the relationships between concepts of democracy and democratic behavior of the lower secondary school students, and to compare such relationship among students with different type of school, sex, father’s educational background, family’s income and father’s occupation. Procedures : A test on concepts of democracy with 0.85 reliability and a questionnaire on democratic behavior constructed by the research were administered to the samples of 540 lower secondary school students which were stratified randomly selected form 6 public schools and 6 private schools The obtained data were treated by the statistical methods of arithmetic mean, standard deviation correction, Z-test One way ANOVA and Scheffe’ Test for All Possible Comparisons. Conclusions : 1. The correlation between the concepts of democracy and democratic behavior of the lower secondary school students was significantly 0.38 at the .05 level. 2. The correlation between the concepts of democracy and democratic behaviors of the lower secondary school students with different father’s occupation was significantly different at the .05 level. 3. The correlation between the concepts of democracy and democratic behavior among the lower secondary school students according to the following factors : type of school, sex, father’s different at the .05 level. 4. The concepts of democracy of the lower secondary school students with following factors: type of school, father’s educational background, family’s income and father’s occupation were significantly different at the .05 level. 5. The concepts of democracy of the lower secondary school boys and girls were not significantly different at the .05 level. 6. The democratic behavior of the lower secondary students with different factors: type of school, sex father’s education background, family’s income and father’s occupation were significantly different at the .5 level
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24371
ISBN: 9745610038
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sombat_Sr_front.pdf579.65 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_Sr_ch1.pdf808.51 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_Sr_ch2.pdf827.19 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_Sr_ch3.pdf526.01 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_Sr_ch4.pdf948.87 kBAdobe PDFView/Open
Sombat_Sr_ch5.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Sombat_Sr_back.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.