Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24376
Title: ปัญหาเกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติงานของครูสังคมศึกษา ในระดับมัธยมศึกษา
Other Titles: Problems concerning working conditions of social studies teachers at the secondary education level
Authors: วิชัย จันทร์เทพา
Advisors: ลาวัณย์ วิทยาวุฑฒิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาปัญหาการปฏิบัติงานของครูสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ทั่วประเทศ เกี่ยวกับปัญหาส่วนตัวทั่วไปและปัญหาเกี่ยวกับสภาพการปฏิบัติงาน และเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการปฏิบัติงานของครูสังคมศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ครูสังคมศึกษาชายและครูสังคมศึกษาหญิง และครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรในการวิจัยประกอบด้วยครูสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษาจำนวน 615 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นจากโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ทั่วประเทศ ผู้วิจัยสร้างแบบสอบถามจำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยคำถามแบบตรวจคำตอบ มาตราส่วนประเมินค่า และแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ โดยหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัย 1. ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของครูสังคมศึกษา ได้แก่ ปัญหาส่วนตัวทั่วไป ปัญหาเกี่ยวกับหลักสูตร นักเรียน การเรียนการสอน การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ อัตราการทำงาน ผู้บริหาร ระบบการปฏิบัติงาน เพื่อนร่วมงาน สภาพแวดล้อมในโรงเรียน และสวัสดิภาพและความมั่นคงในอาชีพ 2. ปัญหาที่ครูสังคมศึกษาประสบอยู่ในระดับมาก เป็นปัญหาที่มีความสำคัญและเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงาน มีดังนี้ 2.1 ครูสังคมศึกษามีปัญหาเกี่ยวกับการสอนตามหลักสูตรใหม่ เนื้อหาบางเรื่องยากเกินไป ปริมาณของเนื้อหามีมาก ไม่สมดุลกับเวลาและหน่วยการเรียน 2.2 ผู้บริหารไม่เห็นความสำคัญของวิชาสังคมศึกษา 2.3 นักเรียนไม่เห็นความสำคัญของวิชาสังคมศึกษา ไม่สนใจและไม่ตั้งใจเรียน ขาดทักษะการใช้แหล่งวิทยาการและการแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์วิจารณ์ในการเรียนสังคมศึกษา 2.4 โรงเรียนขาดแคลนงบประมาณ คู่มือครู สื่อการสอน ตำราและเอกสารต่างๆ ในการสนับสนุนการเรียนการสอนสังคมศึกษา 2.5 ครูสังคมศึกษาขาดความรู้และทักษะในการใช้เทคนิคการสอนแบบใหม่ๆและครูสังคมศึกษาไม่มีเสรีภาพทางวิชาการเท่าที่ควร 3. ปัญหาที่ครูสังคมศึกษาในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคประสบอยู่โดยส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน แต่ประเด็นที่แตกต่างกันและเป็นประเด็นที่ครูสังคมศึกษาในส่วนกลางประสบอยู่ในระดับมากกว่าครูสังคมศึกษาในส่วนภูมิภาค คือความไม่สะดวกในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ปัญหาเรื่องเวลาที่ใช้เตรียมการสอน และสภาพแวดล้อมของโรงเรียนไม่ดี ส่วนประเด็นที่ครูสังคมศึกษาในส่วนภูมิภาคประสบอยู่ในระดับมากกว่าครูสังคมศึกษาในส่วนกลาง คือปัญหาด้านการเงิน หลักสูตรและเนื้อหาวิชาไม่เหมาะสมกับระดับชั้นและไม่ทันเหตุการณ์ นักเรียนขาดทักษะในการใช้แหล่งวิทยาการและทักษะในการแสดงความคิดเห็นวิเคราะห์วิจารณ์ นักเรียนขาดแคลนหนังสือเรียนและหนังสืออ่านประกอบ ความไม่สะดวกในการให้บริการของห้องสมุด จำนวนคาบการสอนมาก ต้องไปช่วยทำงานนอกเหนือจากการสอน และมีปัญหาเรื่องเวลาสำหนับค้นคว้าเพิ่มเติมและตรวจงานนักเรียน 4. ปัญหาที่ครูสังคมศึกษาชายและครูสังคมศึกษาหญิงประสบอยู่โดยส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน แต่ประเด็นที่แตกต่างกันและเป็นประเด็นที่ครูสังคมศึกษาชายประสบอยู่ในระดับมากกว่าครูสังคมศึกษาหญิง คือปัญหาด้านการเงิน จำนวนคาบการสอนมาก ต้องไปช่วยทำงานอื่นนอกเหนือจากการสอน และไม่มีเวลาตรวจงานนักเรียน ส่วนประเด็นที่ครูสังคมศึกษาหญิงประสบอยู่ในระดับมากกว่าครูสังคมศึกษาชาย คือปัญหาด้านความรู้และทักษะในการสร้างสื่อการสอน 5. ปัญหาที่ครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก ( อายุราชการ 5 ปี ขึ้นไป ) และครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อย ( อายุราชการต่ำกว่า 5 ปี ) ประสบอยู่โดยส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน แต่ประเด็นที่แตกต่างกันและเป็นประเด็นที่ครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากประสบอยู่ในระดับมากกว่าครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อย คือปัญหาเรื่องเวลาสำหรับเตรียมการสอน ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและตรวจงานนักเรียน เจตคติที่ไม่ดีต่อการเป็นครูสังคมศึกษา ส่วนประเด็นที่ครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยประสบอยู่ในระดับมากกว่าครูสังคมศึกษาที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาก คือปัญหาด้านการเงิน หลักสูตรและเนื้อหาวิชาไม่เหมาะสมกับระดับชั้น การใช้เทคนิคการสอนให้เหมาะสมกับเนื้อหาวิชา ปัญหาการขาดการประสานงาน การแบ่งงานไม่เหมาะสม และการไม่มีการระดมพลังสมอง
Other Abstract: The purposes of this research were to study the problems concerning working conditions of social studies teachers at the secondary education level in the government and private schools throughout the country, and to compare the problems concerning working conditions of social studies teachers in central region and provincial region, of male and female social studies teachers, and of social studies teachers with different amount of working experience. A sample of 615 social studies teachers from both government and private secondary schools .throughout the country was drawn out by stratified random sampling technique. A questionnaire consisting of checklist, rating scale and open - ended items was constructed by the researcher. The obtained data were statistically analyzed by means of percentage , arithmetic mean, standard deviation and t - test. The findings of this study were as follows ; 1. The problems that social studies teachers considered to be obstacles in their job were those concerning personal matter (economics, health and etc.), curriculum , students, instruction , the incrementation of knowledge and experience, work load, administrators, working system within the school, colleagues , school environment, and welfare and Security of the profession. 2.The problems that social studies teachers considered to be the main obstacles in their job were ; 2.1 Some topics in the new curriculum were too difficult, and some were too long to be covered within the available time allotted. 2.2 Administrators did not recognize the importance of social studies subject. 2.3 Students did not regard social studies as an important subject. They did not give proper attention to study it. In addition, the lack of discussion skills and the ability to use learning resources on the part of students also hampered the teaching and learning situations. 2.4 Schools lacked budget, teachers' manuals, texts end materials in implementing learning and teaching social studies. 2.5 Most social studies teachers lacked knowledge and skills on innovative teaching methods. They also did not have appropriate academic freedom. 3. In general, problems confronting social studies teachers in central region and those in provincial region were comparatively not significantly different. Only problems concerning inconvenience of traveling to and from work everyday , time available for lesson planning, and bad environment of the school that central region teachers considered to be serious while those concerning financial difficulties , inappropriateness of curriculum as to class level and contemporary events, students' lack of skill for critical discussion, scarcity of texts and supplementary readings, inadequacy of library services, too much teaching load , extra duties in addition to classroom teaching, and lack of time for correcting exercises and reading to further one's .knowledge were considered to be serious by provincial region teachers. 4. In general , problems confronting male and female social studies teachers were comparatively not significantly different. Only problems concerning financial difficulties , teaching load, extra responsibilities, and not enough time to correct students' exercises that male teachers considered to be serious while a problem concerning the lack of knowledge and skill for production of teaching materials was considered to be serious by female teachers. 5. In general , problems confronting social studies teachers with more working experienced, (having 5 or more years of working experiences) and those with less working experiences (having less than 5 years of working experiences) were comparatively not significantly different. Only problems concerning lack of time for lesson planning, exercise correcting and reading to further one' knowledge , and more negative attitude toward social studies teaching that more experienced teachers considered to be serious while those concerning financial difficulties, inappropriateness of content for class level, proper teaching techniques, lack of coordination among staff members, improper division of responsibility, and lack of brainstorming before any decision was made were considered to be serious by less experienced teachers.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24376
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wichai_Ch_front.pdf669.01 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ch_ch1.pdf644.35 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ch_ch2.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ch_ch3.pdf397.44 kBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ch_ch4.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ch_ch5.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Wichai_Ch_back.pdf959.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.