Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24595
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพรชุลี อาชวอำรุง
dc.contributor.authorพรรณนิภา ธรรมวิรัช
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-19T12:15:48Z
dc.date.available2012-11-19T12:15:48Z
dc.date.issued2528
dc.identifier.isbn9745643654
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24595
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบันการศึกษาพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยกับนักศึกษาในความดูแล รวมทั้งบุคลากรอื่น ๆ ในสถาบันการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษาโดยวิธีการทางสังคมมิติ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาในความดูแลเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในสถาบันการศึกษาพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบันการศึกษาพยาบาลในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2527 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามซึ่งแยกเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาในความดูแลรวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาโดยใช้แบบสอบถามกับอาจารย์ที่ปรึกษาและนักศึกษาที่อยู่ในความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสถาบันการศึกษาพยาบาล สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย 5 สถาบัน ได้แก่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยพยาบาลหัวเฉียว จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 916 คน เป็นอาจารย์ 229 คน และนักศึกษา 687 คน ได้รับแบบสอบถามคืน 631 ฉบับ คิดเป็นของอาจารย์ ร้อยละ 74.23 และนักศึกษา ร้อยละ 67.10 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาความถี่ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเอฟ ค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้ คือ 1. การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนักศึกษาในความดูแลอยู่ในลักษณะของการแยกกลุ่มสังคม กล่าวคือ อาจารย์ที่ปรึกษามักมีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มอาจารย์ด้วยกันมากกว่าที่จะติดต่อกับนักศึกษาในความดูแลของตน ส่วนนักศึกษาก็มักมีการติดต่อสัมพันธ์กับกลุ่มนักศึกษาด้วยกันมากกว่าที่จะติดต่อกับอาจารย์ที่ปรึกษาของตน 2. อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาในความดูแลมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เกือบทุกรายการ 3. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เกือบทุกรายการ 4. อาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เกือบทุกรายการ เมื่อจำแนกตามระยะเวลาที่ทำหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา และจำแนกตามมหาวิทยาลัย 5. นักศึกษามีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เกือบทุกรายการ เมื่อจำแนกตามมหาวิทยาลัย
dc.description.abstractalternativePurpose of the Study: The purpose of the research were as follows: to study student advisor roles of Nursing Institutes under the Ministry of University Affairs upon these following specific objectives: 1. To study of relationships between student advisors and their advises and other related personnel in advisor’s affairs by using sociometric method. 2. To study of the advisors and advisees’ opinions regarding advisors’ roles. 3. To compare of the advisors and advisees’ opinions regarding advisors’ roles. Methodology This research was a study of student advisor roles of Nursing Institutes under the Ministry of University Affairs in the academic year 1984. The main instrument used to [collect] data was questionnaires consisting of two parts: The former was to study the relationship between advisors and their advisees and the other related personnel in advisors’ affairs, and the latter was to study the advisors’ roles. These questionnaires were applied to advisors and their advisees in 5 nursing institutes under the Ministry of University Affairs, consisted of the 229 advisors and 687 advisees. The questionnaires totally returned 631, from advisors 74.23 percent and advisees 67.10 percent. The data were analysed to determine frequencies, aristhmetic means, standard deviation, F-test, t-test and one-way analysis of variance. Findings: The finding of the study can be summed up as follows: 1. The kind of relationship between student advisors and advisees was distinctly separated social groupings: Advisors reported most frequent contacts with their faculty members more than their advisees. In the same manner, advisees reported most frequent contacts with their peers and least with their advisors. 2. There was a significant difference at 0.01 level between the mean scores of the advisors and advisees’ opinions about advisors’ roles. 3. There was a significant at 0.01 level between the mean scores of the 3rd year and 4th year student’s opinions about advisors’ roles. 4. There was a significant at 0.01 level between the mean scores of the advisors’ opinions about advisors’ roles in different universities. 5. There was a significant at 0.01 level between the mean scores of the advisors’ opinions about advisors’ roles in different universities and different period of being advisor. Recommendations for further studies and direct applications of the findings were duly offered.
dc.format.extent748056 bytes
dc.format.extent543714 bytes
dc.format.extent945621 bytes
dc.format.extent367196 bytes
dc.format.extent2919158 bytes
dc.format.extent1011422 bytes
dc.format.extent704034 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการศึกษาบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาของสถาบันการศึกษาพยาบาล ในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeA study of student advisor roles in nursing institutes under the ministry of University Affairsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pannipa_Th_front.pdf730.52 kBAdobe PDFView/Open
Pannipa_Th_ch1.pdf530.97 kBAdobe PDFView/Open
Pannipa_Th_ch2.pdf923.46 kBAdobe PDFView/Open
Pannipa_Th_ch3.pdf358.59 kBAdobe PDFView/Open
Pannipa_Th_ch4.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Pannipa_Th_ch5.pdf987.72 kBAdobe PDFView/Open
Pannipa_Th_back.pdf687.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.