Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2475
Title: การศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือกดห้ามเลือดที่ประดิษฐ์ขึ้น (จุฬา-แคลมป์) เพื่อใช้ห้ามเลือดภายหลังการสวนเส้นเลือดหัวใจหรือการขยายเส้นเลือดหัวใจ
Other Titles: Feasibility and effectiveness of a novel vascular hemostasis device (Chula-clamp) after coronary angiography or percutaneous coronary intervention
Authors: วทัญญู ปลายเนตร, 2509-
Advisors: จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์
สุพจน์ ศรีมหาโชตะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: เวชภัณฑ์
Chula-Clamp
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาของงานวิจัย: เครื่องมือกดห้ามเลือด จุฬา-แคลมป์ เป็นเครื่องมือกดห้ามเลือดที่หลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบ (Femoral artery) ที่ผู้วิจัยได้ผลิตขึ้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการห้ามเลือดอย่างน้อยเท่ากับการกดห้ามเลือดด้วยมือ, มีราคาถูก, นำมาใช้ได้หลายครั้ง, ใช้ง่าย, ประกอบขึ้นจากวัสดุที่นำมาใช้ใหม่ (Recycle) วัตถุประสงค์:เพื่อเป็นการศึกษาประสิทธิภาพของเครื่องมือกดห้ามเลือดจุฬา-แคลมป์ (ซึ่งเป็นเครื่องมือกดห้ามเลือดที่ประดิษฐ์ขึ้น) เทียบกับการกดห้ามเลือดด้วยมือ วิธีการดำเนินการ: เป็นการศึกษาไปข้างหน้า เชิงสุ่มตัวอย่างทดลองให้การรักษาในทางคลินิก โดยเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการห้ามเลือดของเครื่องมือกดห้ามเลือดจุฬา-แคลมป์กับการกดห้ามเลือดด้วยวิธีมาตรฐานเดิมคือการใช้กดห้ามเลือดในผู้ป่วยที่เข้ารับการส่วนเส้นเลือดแดงโคโรนารีหรือขยายเส้นเลือดแดงโคโรนารีด้วยบอลลูน โดยผ่านทางเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ขาหนีบ (femoral artery) ระยะเวลาในการกดห้ามเลือดโดยการใช้เครื่องมือจุฬา-แคลมป์กำหนดให้เวลา 20 นาที ส่วนระยะเวลาในการกดห้ามเลือดด้วยมือใช้เวลา 15 นาที ประสิทธิภาพของการกดห้ามเลือดดูได้จากอุบัติการณ์เกิดภาวะแทรกซ้อนของเส้นเลือดใหญ่ที่ขาหนีบ (femoral vessel) ซึ่งเกิดภายหลังการห้ามเลือดทั้งสองวิธี ผลการศึกษา: พบว่าผู้ป่วยทั้งหมดกลุ่มละ 70 คนที่เข้ารับการสวนเส้นเลือดแดงโคโรนารีหรือขยายเส้นเลือดแดงโคโรนารีด้วยบอลลูนโดยผ่านทางเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ขาหนีบ (femoral artery) และได้รับการสุ่มเลือกวิธีการกดห้ามเลือดต่างมีข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยที่ไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งสองวิธีไม่พบภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังการกดห้ามเลือดที่ขาหนีบทั้งสองกลุ่ม (serious vascular complication ได้แก่ groin hematoma, femoral artery thrombosis, pseudoaneurysm, arteriovenous fistulae) ส่วนการเกิด minor complication [ได้แก่รอยช้ำห้อเลือด(ecchymosis) และอาการบวม (swelling)] พบว่าทั้งสองกลุ่มเกิดขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (รอยช้ำห้อเลือดทั้งสองกลุ่มเกิดขึ้น 8.5 % ส่วนอาการบวมกลุ่มมาตรฐานเกิด 2.9% ส่วนกลุ่มให้เครื่องมือจุฬา-แคลมป์เกิด 1.4 %, p-value >0.05%)
Other Abstract: Background : Chula-clamp is a newly vascular hemostatic device. The advantages of the device are convenience and reusability. Furthermore, the device is assembled with recycled balloon inflator and other locally made components, which make it less expensive than other commercially available hemostatic devices. This study was conducted to compare the effectiveness of Chula-clamp with standard manual compression. Method : This is a prospective, quasi randomized controlled clinical trial comparing effectiveness of Chula-clamp to conventional manual compression for attaining femoral artery hemostasis after CAG or PCI. Effectiveness was determined by femoral vascular complications rate. The primary end point was severe femoral vascular complications (the formation of a groin hematoma, femoral artery thrombosis, pseudoaneurysm, arteriovenous fistulae). Result : One hundred forty patients scheduled for percutaneous coronary intervention or coronary angiograms in King Chulalongkorn Memorial hospital were enrolled (70 patients for each group). The baseline characteristics were similar in both groups. There was no serious vascular complication detected in both groups. In addition, there was no statistical difference in minor complications at access site between both groups. [e.g., swelling (1.4% in standard manual compression group vs. 2.9% in Chula-clamp, p=0.56) and ecchymosis (8.57% in both groups)]. Conclusion : Chula-clamp, a novel vascular hemostatic device, is feasible and effective for femoral artery hemostasis (after CAG or PCI via femoral artery). Its effectiveness is not different from standard manual compression.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2475
ISBN: 9741743645
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vathanyoo.pdf973.55 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.