Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2477
Title: การเปรียบเทียบผลของลิโดเคนไอออนโตโฟเรซีสกับเอมลาต่อดรรชนีวัดความเจ็บปวดในการผ่าตัดเซบอเรอิกเคอราโตซีสด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์
Other Titles: A comparison between effect of lidocaine iontophoresis and EMLA by pain scales for CO[subscript 2] laser treatment in seborrheic keratosis : a crossover study
Authors: รสญา พหลเทพ, 2519-
Advisors: วัณณศรี สินธุภัค
ปิ่น ศรีประจิตติชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pin.S@Chula.ac.th
Wannasri.S@Chula.ac.th
Subjects: ผิวหนัง -- โรค
ความเจ็บปวด
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของการวิจัย : การใช้ยาชาเฉพาะที่ชนิดทาสำหรับการผ่าตัดเนื้องอกผิวหนังชนิดตื้นมีการใช้กันแพร่หลายมานานแล้ว มียาหลายชนิดให้เลือกใช้ โดยปัจจุบันเอมลาเป็นยาที่นิยมใช้กันมากที่สุด วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดระหว่างลิโดเคนไอออนโตโฟเรซีสกับเอมลา โดยทำการทดลองในคนคนเดียวกัน วิธีการทำวิจัย : ทำการศึกษาทดลองในผู้ป่วยทั้งหมด 16 คน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเซบอเรอิกเคอราโตซีส และต้องการผ่าตัดรักษาโดยวิธีคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ โดยจะเลือกก้อนเนื้องอกสองก้อนที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความหนาใกล้เคียงกันและอยู่คนละด้านซ้ายขวาของร่างกายบนอวัยวะเดียวกันมาทำการทดลองเปรียบเทียบกัน โดยก้อนหนึ่งใช้วิธีลิโดเคนไอออนโตโฟเรซีสนาน 10 นาที ส่วนอีกก้อนหนึ่งใช้วิธีเอมลานาน 60 นาที หลังจากนั้นจะทำการผ่าตัดด้วยวิธีคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ หลังการผ่าตัดแต่ละครั้งจะให้ผู้ป่วยประเมินความเจ็บปวดจากการผ่าตัดโดยใช้ 100-mm VASเป็นดรรชนีวัดความเจ็บปวด และนอกจากนี้จะประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยในแต่ละวิธีด้วย ผลการวิจัย : พบว่าประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดที่วัดจากดรรชนีวัดความเจ็บปวดระหว่างสองวิธีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.968) แต่พบว่าผู้ป่วยมีความพึงพอใจ ในวิธีลิโดเคนไอออนโตโฟเรซีสมากกว่าวิธีเอมลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.005) โดยมีผู้ป่วย 15 คนคิดเป็น 93.8% เลือกที่จะใช้วิธีลิโดเคนไอออนโตโฟเรซีสในการผ่าตัดครั้งต่อไปและไม่พบว่ามีผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใด ๆ เกิดขึ้นระหว่างทำการทดลองทั้งสองวิธี สรุปผลการวิจัย : ลิโดเคนไอออนโตโฟเรซีส 10 นาทีมีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดไม่ต่างจากเอมลา 60 นาที ในการผ่าตัดเซบอเรอิกเคอราโตซีสด้วยวิธีคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์ และไม่พบว่ามีผลข้างเคียงที่ร้ายแรง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในวิธีนี้ ลิโดเคนไอออนโตโฟเรซีสจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่นำมาใช้ลดความเจ็บปวดในการผ่าตัดเนื้องอกผิวหนังชนิดตื้นด้วยคาร์บอนไดออกไซด์เลเซอร์
Other Abstract: Background : Topical anesthesia for skin surgery has widely been used for a long time.Various preparations are used.The EMLA cream is the most popular one. Objective : We compared the local analgesic effect of topical lidocaine iontophoresis and EMLA cream in a cross-over study design. Methods : After informed consent, 16 patients with seborrheic keratosis,who required CO[subscript 2] laser surgery,were enrolled.Two lesions on the opposite side of body with a comparable size, shape and location were selected from each patient.The lidocaine iontophoresis was done on one lesion and the EMLA cream was applied on the other.The CO[subscript 2] laser surgery was performed after 10 min of lidocaine iontophoresis and 60 min after EMLA cream.The intensity of pain was recorded using a 100-mm visual analog scale.Ratings of patient satisfaction were also assessed. Results : There were no significant differences in pain scores between the two groups (p=0.968),but significantly higher in satisfaction scores (1-5 scale) in the iontophoretic group than the EMLA group(p=0.005).Fifteen patients preferred lidocaine iontophoresis (93.8%), none prefered EMLA cream.No severe adverse events and side effects were detected. Conclusion :10 minutes of lidocaine iontophoresis provides the effective pain relief for CO[subscript 2] laser surgery of seborrheic keratosis as well as 60 minutes of EMLA cream does. There is no significant side effect.Most of the patients were satisfied.Lidocaine iontophoresis is a useful, noninvasive local anesthesia for CO[subscript 2] laser surgery of superficial skin lesions.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2477
ISBN: 9741758088
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rosaya.pdf1.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.