Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24829
Title: การเปรียบเทียบความเที่ยงและความยากของแบบเลือกตอบและแบบถูกผิด ที่มีความตรงเทียบเคียงกัน
Other Titles: A comparison of reliability and difficulty of multiple choice and true-false tests possessing the comparable validity
Authors: นิพาพร จุลกมนตรี
Advisors: เยาวดี วิบูลย์ศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาอัตราส่วนของจำนวนข้อกระทงของแบบสอบแบบเลือกตอบต่อแบบถูกผิดที่มีข้อผิด 67% และแบบถูกผิดที่มีข้อผิด 50% ซึ่งนักเรียนทำได้ในเวลาเท่ากัน 2) เปรียบเทียบความเที่ยงและความยากของแบบสอบทั้งสามฉบับดังกล่าวที่มีความตรงเทียบเคียงกัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 แบบ คือ แบบเลือกตอบ แบบถูกผิดที่มีข้อผิด 67% ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด และแบบถูกผิดที่มีข้อผิด 50% ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด ผู้วิจัยทดสอบความตรงของแบบสอบทั้งสามฉบับโดยใช้แบบสอบสัมฤทธิผลวิชาคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเป็นเกณฑ์ ปรากฏว่า ความตรงของแบบสอบทั้งสามฉบับไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชา ค.011 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 522 คน ในการเก็บข้อมูล ให้นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มตัวอย่างทำแบบฉบับใดฉบับหนึ่งจากแบบสอบทั้งสามฉบับด้วยวิธีการสุ่ม และผู้วิจัยจะบันทึกเวลาที่นักเรียนแต่ละคนใช้ในการทำแบบสอบแต่ละฉบับเสร็จแล้ววิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1) หาอัตราส่วนของจำนวนข้อกระทงของแบบสอบแบบเลือกตอบต่อแบบถูกผิดทั้งสองฉบับที่นักเรียนทำได้ในเวลาเท่ากัน 2) หาค่าความเที่ยงของแบบสอบแต่ละฉบับโดยใช้สูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน 20 แล้วปรับค่าความเที่ยงของแบบสอบแบบถูกผิดด้วยสูตรสเปียร์แมน บราวน์ 3) เปรียบเทียบค่าความเที่ยงของแบบสอบด้วยไคสแควร์ เทคนิคและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยใช้อัตราส่วนซี 4) เปรียบเทียบค่าความยากของแบบสอบทั้งสามฉบับ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธีดันแคน ผลการวิจัยปรากฎว่า 1. เมื่อเวลาที่ใช้ในการสอบเท่ากัน อัตราส่วนของจำนวนข้อกระทงของแบบสอบแบบเลือกตอบต่อแบบถูกผิดที่มีข้อผิด 67% ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 1:1.16 และอัตราส่วนของจำนวนข้อกระทงของแบบเลือกตอบต่อแบบถูกผิดที่มีข้อผิด 50% ของจำนวนข้อสอบทั้งหมด มีค่าเท่ากับ 1:1.13 2. หลังจากปรับเวลาที่ใช้ในการสอบให้เท่ากัน ปรากฏว่า แบบสอบแบบเลือกตอบมีค่าความเที่ยงสูงกว่าแบบถูกผิดทั้งสองฉบับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ค่าความเที่ยงของแบบถูกผิดทั้งสองฉบับไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. แบบสอบแบบเลือกตอบยากกว่าแบบถูกผิดทั้งสองฉบับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ค่าความยากของแบบสอบแบบถูกผิดทั้งสองฉบับไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were: 1) to determine the ratio of the number of items of the multiple choice test to the true-false test included 67% false statements and to the true-false test included 50% false statements which the students could answer in a given amount of time 2) to compare the reliability and difficulty among the three tests possessing the comparable validity. The instrument used included three forms of the Mathematical Achievement Test constructed by the researcher. The first one was a multiple choice form; the second was a true-false format included 67% false statements and the third was a true-false format included 50% false statements. The researcher tested the concurrent validity of all the tests constructed by using the Mathematical Achievement Test for Mathayomsuksa IV students from Triamudomsuksa School as a criterion. The result was no significantly difference among the validity of the three tests at a .05 level. The subjects were 522 Mathayomsuksa IV students who studied M.011 in Bangkok. Each subject was randomly responded to one of the three forms. Then the researcher recorded the number of minutes required to finish each test when the subjects handed in. Average time for the students to answer each test was computed to estimate the ratio of number of the multiple choice items to the true-false items. The reliability coefficient was estimated by the Kuder-Richardson Formula 20. The adjusted reliabilities of the true-false tests were determined by using the Spearman-Brown Formula. The reliabilities of all the tests were tested by the Chi-Squre Technique and the Z-ratio. The difficulties of the tests were analyzed by one way analysis of variance and Duncan’s New Multiple Range Test. The results were as follow: 1. When the time testing was equal, the ratio of the number of items of the multiple choice test to the true-false test included 67% false statements was 1:1.16 and the ratio of the number of items of the multiple choice test to the true-false test included 50% false statements was 1:1.13. 2. After adjusted to equate time testing, the reliability of the multiple choice test was significantly higher than the other two forms of the true-false test at a .01 level. However, the difference in the reliability of two forms of the true-false test was not statistically significant at a .05 level. 3. The multiple choice test was significantly more difficulty than the other two forms of the true-false test at a .01 level. However, the difference in the difficulty of two forms of the true-false test was not statistically significant at a .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24829
ISBN: 9745612758
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nipaporn_Ch_front.pdf523.86 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ch_ch1.pdf685.37 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ch_ch2.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ch_ch3.pdf644.47 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ch_ch4.pdf431.66 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ch_ch5.pdf620.17 kBAdobe PDFView/Open
Nipaporn_Ch_back.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.