Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2490
Title: อัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของภาวะโรคระบบการหายใจ ที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบอาชีพ ในผู้ผลิตสินค้าประเภทสินค้าไม้ ในกลุ่มสหกรณ์วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
Other Titles: Prevalence rate and associated factors of work-related respiratory diseases among wood workers at Wang-Numyen co-operation Sa Kaeo province
Authors: คทาวุธ ดีปรีชา, 2519-
Advisors: วิโรจน์ เจียมจรัสรังษี
บุญเติม แสงดิษฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Wiroj.J@Chula.ac.th
Subjects: โรคภูมิแพ้
อาชีวอนามัย
ระบบหายใจ--โรค
โรคเกิดจากอาชีพ
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาอัตราความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคระบบการหายใจที่ เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน ในกลุ่มผู้ผลิตสินค้าไม้ กลุ่มสหกรณ์วังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว โดยใช้รูปแบบการศึกษาเป็นแบบเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ผลิตสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ไม้ดังกล่าว จำนวน 600 คน โดยใช้แบบสอบถาม ร่วมกับการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรเมตรีย์ รวมทั้งผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมการทำงาน มีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 475 คน เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้(ชาย 301 คน หญิง 174 คน) คิดเป็นอัตราเข้าร่วมการศึกษา ร้อยละ 79 ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุก(ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95) ของโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานเท่ากับ 10.5(7.76 13.24) และ 31.8(27.68 35.92) คนต่อประชากร 100 คน ตามลำดับ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับทั้งการเกิดโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การทำความสะอาดสถานประกอบการและเครื่องมือทุกวัน การมีประวัติโรคประจำตัวและประวัติครอบครัวเป็นโรคระบบการหายใจ การมีประวัติอดีตเกี่ยวกับโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้ ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ แพ้ยา/อาหาร/สารเคมี ภาวะหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน การมีประวัติการผ่าตัดทรวงอก และ การดื่มสุรา นอกจากนี้อายุและการทำงานในแผนกทำสีมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหอบหืดที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานเท่านั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานเท่านั้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประกอบด้วย การมีประวัติการทำงานในอดีต และการสัมผัสสิ่งคุกคาม อันได้แก่ ฝุ่น ความร้อน สารเคมีในสถานประกอบการ สำหรับผลการตรวจวัดปริมาณฝุ่นในสภาพแวดล้อมในการทำงานพบว่ามีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานของ OSHA โดยสรุป จากการศึกษาในครั้งนี้ พบว่า ปัญหาโรคหอบหืดและโรคภูมิแพ้ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงาน นับเป็นปัญหาในผู้ผลิตสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ไม้ในประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและความสนใจในปัญหาดังกล่าวนี้
Other Abstract: This study aimed at determining the prevalence rates and the associated factors of work-related respiratory diseases(asthma and allergy) among wood workers at Wang-numyen co-operation, Sakaeo province. A cross-sectional survey was conducted during December 2004-January 2005 among 600 wood workers at this study area. Data were collected by self-administrated questionnaire, lung function testing, and total dust measurements in the working environment. Totally 475 workers were participated in the study (301 males and 174 females), with the participation rate of 79 percent. Results showed that the prevalence rates (95% confidential intervals) of work-related asthma and allergy among wood workers were 10.5 (7.76 13.24) and 31.8 (27.68 35.92) percents respectively. Factors which were statistical significantly associated with both worked related asthma and allergy included: daily cleaning of workplace and tools; personal and family histories of respiratory diseases; past histories of urticaria, dermatitis, drug/chemicals/food allergy, acute bronchitis and chest surgery, and; alcohol drinking. Age and working at painting department were also significantly associated with work-related asthma. And other factors which were significantly associated with allergy were: history of previous job, and; exposure to dust, heat, and chemical in the workplace. The total dust concentration in the workplace, however, were well within the Occupational Safety & Health Administration(OSHA) standard level. In conclusion, this study showed that work-related asthma and allergy were also problems among wood workers in Thailand and need attention from concerning authorities.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2490
ISBN: 9745317543
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kathawoot.pdf676.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.