Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25057
Title: | การศึกษาผลกระทบที่เกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงลักษณะชุมชนดั้งเดิม ของบางลี่ |
Other Titles: | A study of the impact of modernization problems on the traditional community of BangLih |
Authors: | บุญเสริม เกษมพันธ์กุล |
Advisors: | เกีนรติ จิระกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ชุมชนบางลี่มีลักษณะเป็นชุมชนริมน้ำ รูปแบบการตั้งถิ่นฐาน การใช้ที่ดินและอาคารบ้านเรือนมีลักษณะที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการคมนาคมทางน้ำ โดยเฉพาะเป็นชุมชนในที่ราบลุ่มซึ่งจะมีน้ำท่วมทุกปี ถึงปีละประมาณ 5 เดือน จึงทำให้อาคารบ้านเรือนมีรูปแบบที่สามารถจะปรับตัวให้ใช้ได้ตามฤดูกาลคือ มีลักษณะเป็นอาคารใต้ถุนสูงเพื่อให้พ้นจากน้ำท่วม ส่วนอาคารพาณิชย์ก็จะเป็นอาคารสองชั้นหรือสามชั้นที่สามารถจะประกอบกิจกรรมได้ทั้งสอบชั้น โดยในฤดูกาลปกติก็จะประกอบอาชีพค้าขายชั้นล่างของอาคาร ชั้นบนก็ใช้อยู่อาศัย แต่ในฤดูน้ำท่วมก็จะโยกย้ายขึ้นไปประกอบอาชีพชั้นบนพร้อมทั้งมีชานหน้าอาคารชั้นบนเป็นทางสัญจร สำหรับการติดต่อคมนาคมภายในชุมชน ถ้าหากเป็นฤดูกาลปกติจะเดินทางติดต่อด้วยรถยนต์เป็นส่วนใหญ่ แต่หากเป็นฤดูน้ำท่วม ก็ต้องใช้เรือเป็นพาหนะแทนรถยนต์ เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนจะถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถใช้เส้นทางทางบกได้ ลักษณะดังกล่าวจึงทำให้ชุมชนแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า “ชุมชนสะเทิ้นน้ำ สะเทิ้นบก” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชุมชนที่ไม่มีชุมชนอื่นเหมือน โครงข่ายการคมนาคมนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อวิวัฒนาการและรูปแบบการตั้งถิ่นฐานของชุมชนแห่งนี้เป็นอย่างมาก ปัจจุบันโครงข่ายการคมนาคมหลักของชุมชนบางลี่ได้เปลี่ยนจากทางน้ำมาเป็นทางบก ย่อมทำให้เกิดผลกระทบแก่ชุมชนแห่งนี้ในหลายๆด้าน โดยเฉพาะทางด้านกายภาพและความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชน ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงโครงข่ายการคมนาคมหลัก แวดล้อมของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะดั้งเดิมที่เป็นชุมชนริมน้ำ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จำเป็นต้องปรับตัวให้เหมาะสมและสอดคล้องกับโครงข่ายการคมนาคมทางบก ความมุ่งหมายของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ต้องการศึกษาถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงชุมชนดั้งเดิมของชุมชนบางลี่ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงข่ายการคมนาคมหลัก และการพัฒนาชุมชนของเทศบาลตำบลสองพี่น้อง นอกจากนี้ยังได้ศึกษาบทบาทของจังหวัดสุพรรณบุรี ชุมชนในระดับเทศบาลและสุขาภิบาลในจังหวัดสุพรรณบุรี และชุมชนระดับเทศบาลบริเวณลุ่มน้ำท่าจีน ที่มีที่ตั้งชุมชนใกล้กับชุมชนบางลี่ เพื่อเป็นส่วนประกอบในการหาแนวทางวางแผนพัฒนาชุมชนบางลี่ จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงชุมชนดั้งเดิมของชุมชนและการขยายตัวของอาคารตึกแถว มีผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างน้อย ผลกระทบโดยตรงจะเป็นทางด้านกายภาพและทัศนภาพ นอกจากนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ยังได้เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของอาคารตึกแถว กับอาคารแถวดั้งเดิมของชุมชน ตลอดจนศึกษาถึงแนวโน้มของปัญหาทางกายภาพที่คาดว่าจะเกิดกับชุมชนบางลี่ และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับชุมชนบางลี่และชุมชนอื่น ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน |
Other Abstract: | Banglih is a riverside community. The pattern of settlement, land use as well as its housing system is well adapted to water transportation. It is located on a river plain which is flooded for 5 months of the year. Therefore, most of buildings in Banglih are built to cope with the flooding problem, i.e..all house are built on very high poles above the flood level. The shophouses there are 2 or 3 storeys where both lower storeys can be used as retail floors. In the dry season, the first floor is used as a shop, and the second floor for living. The situation changes during the flood the second floor becomes a shop as well. The extended front part of the second floor of every building then becomes a walkway. Generally, automobile are the principal means of communication in the village, but boats take their place when it is so flooded that all the roads are under water. This characteristic has become the identity of Banglih and entitles the community to be named “The amphibious community.” Transportation linkage plays an important role on the development and the settlement reshaping of this community. At present, the main means of transport mode of Banglih has shifted from water to land, from boat to bus. This has effects on many facets of the community, especially its physical appearance, such as the lay-out of the settlement, land use, the housing system and the riverine environment. All changes are the outcome of the community’s adjustment to land transportation. This research aims to study the effects of changes in the traditional settlement pattern of the Banglih community due to the growth of buildings and shophouse resulting from the new transportation network and urban development from local planning. Furthermore, the study includes the influence of Supanburi Province over the changes (the municipality and the Sukha-Pibal areas in Supanburi and also all municipal communities on the Tha Cheen Rive nearly Bagnlih). The study suggests that the change in the traditional community and the growth of buildings and shophouse have had relatively little economic and social effect on the community. The principal effect is on the physical appearance. This thesis also makes a comparison between the traditional and the new style of shophouses to pinpoint advantages and disadvantages. Physical problems of Banglih are predicted by the study together with their possible solution. Finally, author hopes this thesis will serve, more or less. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ผังเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25057 |
ISBN: | 9745610615 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonserm_Ka_front.pdf | 577.76 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_Ka_ch1.pdf | 301.41 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_Ka_ch2.pdf | 344.1 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_Ka_ch3.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_Ka_ch4.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_Ka_ch5.pdf | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_Ka_ch6.pdf | 266.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonserm_Ka_back.pdf | 869.3 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.