Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25103
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสื่อสารกับกระบวนการสังคมประกิตทางการเมือง ของประชาชนในท้องที่บางชัน เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | The relation between communication behavior and political socialization of the people in Bangchan Area, Minburi, Bangkok Metropolis |
Authors: | เจตน์ศักดิ์ แสงสิงแก้ว |
Advisors: | ชนวดี บุญลือ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การสื่อสารทางการเมือง -- ไทย -- บางชัน (กรุงเทพฯ) สังคมประกิตทางการเมือง -- ไทย -- บางชัน (กรุงเทพฯ) |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แนวทางของการพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตยที่สำคัญแนวทางหนึ่ง คือการ ทำให้ประชาชนในประเทศมีวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นแบบประชาธิปไตย ซึ่งในเรื่องนี้ ได้มีนักวิชาการทางสังคมวิทยาการเมืองหลายท่านได้อธิบายไว้ว่า กระบวนการสังคมประกิตทางเมือง (Political Socialization Process) เป็นกระบวนที่หล่อหลอมให้บุคคลที่มีวัฒนธรรมทางการเมืองโดยผ่านตัวแทน (Agents) ของกระบวนการสำหรับการสื่อสาร (Communication) มีฐานะที่เป็นทั้งตัวแทนประเภทหนึ่งและเป็นทั้งโครงสร้างพื้นฐานของสังคม (Social Infrastructure) มีผู้กล่าว่า “กระบวนการสังคมประกิตทั้งหมด ก็คือ กระบวนการสื่อสารนั้นเอง” การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่มีอิทธิพลของพฤติกรรมการสื่อสารที่มีต่อกระบวนการสังคมประกิตทางการเมืองในขอบเขต ของตัวแปรย่อย ได้แก่ การมีทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตย การมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองแบบประชาธิปไตย การมีความสนใจทางการเมือง การมีส่วนร่วม ทางการเมือง และการมีความรู้สึกแยกตนเองจากการเมือง พร้อมทั้งนำเอาปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมศึกษาพร้อมกันไปด้วย ได้แก่ ปัจจัยการเป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดเห็น ปัจจัยการมีประสบการณ์ในเหตุการณ์ทางการเมือง ปัจจัยประชากร และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม วิธีการวิจัยได้กระทำโดยการสำรวจภาคสนามเพื่อศึกษากลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวแทนประชากรสองกลุ่มอาชีพในท้องถิ่นที่บางชัน เขตมีนบุรี กทม. คือ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม รวมจำนวน 295 คน โดยศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลในระหว่างกลุ่มทั้งสอง ผลที่ได้จากการวิจัยคือ ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้ทำงานโรงงานอุตสากรรม อยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยมากที่สุดคือ การสื่อสารในกลุ่มเพื่อน รองลงไปคือ ลักษณะครอบครัว Concept – Oriented การเปิดรับสื่อมวลชน (ซึ่งหมายถึง การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ และการชมโทรทัศน์) และการศึกษาตามลำดับ เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่ม พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของกลกุ่มเกษตรกรมากที่สุดคือ ลักษณะครอบครัวแบบ Concept – Oriented ส่วนกลุ่มที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมคือ การสื่อสารในกลุ่มเพื่อน ความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองแบบประชาธิปไตยของกลุ่มที่ทำงานโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและระดับสูง แต่ของกลุ่มเกษตรกรอยู่ในระดับต่ำ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้ความเข้าใจ เรื่องการเมืองแบบประชาธิปไตยมากที่สุด ได้แก่ การอ่านหนังสือพิมพ์ รองลงไปคือ การสื่อสารในกลุ่มเพื่อนและการศึกษาตามลำดับ แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละกลุ่ม พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองแบบประชาธิปไตยของกลุ่มเกษตรกร และกลุ่มที่ทำงานโรงงานอุตสาหกรรมต่างก็คือ การอ่านหนังสือพิมพ์ เช่นเดียวกัน ในเรื่องความสนใจทางการเมือง ปรากฏว่า ทั้งกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มทำงานโรงงานอุตสาหกรรม จะมีความสนใจทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลางเป็นส่วนใหญ่ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจทางการเมืองมากที่สุดคือ การเปิดรับสื่อมวลชน (ซึ่งหมายถึง การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ และการชมโทรทัศน์ ) รองลงมาได้แก่ การมีประสบการณ์ทางการเมือง และการสื่อสารระหว่างบุคคล ตามลำดับ แต่เมื่อพิจารณาในแต่ละกลุ่ม ปรากฏว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสนใจทางการเมืองของกลุ่มเกษตรกรมากที่สุด คือการเปิดรับสื่อมวลชน (การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุ และการชมโทรทัศน์ ) ส่วนของกลุ่มทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม คือ การสื่อสารในกลุ่มเพื่อน ทั้งกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มทำงานโรงงานอุตสาหกรรมต่างก็มีส่วนร่วมในทางการเมืองในระดับต่ำเป็นส่วนใหญ่ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มทั้งสอง ที่สำคัญที่สุดได้แก่ การสื่อสารในกลุ่มเพื่อน รองลงไปได้แก่การมีประสบการณ์ทางการเมืองและลักษณะครอบครัวแบบ Concept- Oriented ตามลำดับ แต่เมื่อแยกพิจารณาแต่ละกลุ่ม ปรากฏว่า ทั้งกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มทำงานโรงงานอุตสาหกรรมต่างก็มีปัจจัยการสื่อสารในกลุ่มเพื่อนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองมากที่สุด ทั้งกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มทำงานโรงงานอุตสาหกรรม ต่างก็มีความรู้สึกถูกตัดขาดจากการเมืองอยู่ในระดับปานกลางและระดับสูงเป็นส่วนใหญ่ สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกแยกตนเองจากการเมืองของทั้งสองกลุ่มนั้น ปรากฏว่าไม่มีปัจจัยใดที่มีความสำคัญอย่างชัดเจน สรุปได้ว่า ผลของการวิจัยครั้งนี้ สนับสนุนแนวความคิดที่จะใช้พลังแฝงของการสื่อสารให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการเมืองได้ ดังนั้น จึงอาจนำไปอนุมานใช้ประกอบการพิจารณาวางแผนการใช้การสื่อสารเพื่อช่วยในการพัฒนาการเมืองแบบประชาธิปไตยได้บ้างไม่มากก็น้อย |
Other Abstract: | If communication is considered in its broadest sense, not only as the exchange of news and messages but as an individual and collective activity embracing all transmission and sharing of ideas, facts and data, its main functions in any society may be identified as a) information; b) education; c) entertainment. Besides these universal functions, emphasis should also be laid on a phenomenon whose importance is increasing: Communication has become a vital need for political socialization. The political socialization is the process which shapes, transmits and maintains the political culture. Its operation is performed through the process’ agents or socializers. As one of the process' agent and also the social infrastructure (as the political communication expert said “all the socialization process is the communication process” communication should be counted influent to the political socialization of the people. The purposes of this comparative study were: 1) to investigate the degree of political socialization of the farmers and the industrial workers-in Bangchan area, Minburi, Bangkok, at an exploratory level. The political socialization process included: political attitude, political knowledge, political interest, political participation, and political alienation; 2) to investigate the relationship between the political communication behavior and the political socialization process of the sample of 295 of the farmers and the industrial workers. The data were collected by using a field work method; 3) to assertain the relationship between socioeconomic and demographic factors and political socialization process; 4) to reveal also the relationship between socio-economic and demographic factors and communication behavior. The exploratory level's findings were: 1) the level of political attitude on democratic system of the farmers and the industrial workers was relatively moderate; 2) the level of political knowledge about democratic system was higher among the industrial workers than that of the farmers; 3) there was no significant difference in terms of political interest level between the farmers and the industrial worker; 4) there was a low level of political participation between both group of the farmers and the industrial workers; 5) the level of political alienation of both the farmers and the industrial workers was considerably moderate. The relationship's findings were:1) the most significant factor affecting the political attitude on democracy of the farmers was the concept-oriented family while that of the industrial workers was the peer groups communication; 2) newspaper reading performed the most significant role in provision of the political knowledge about democratic system for both [groups] farmers and industrial workers; 3) the most significant factors affecting the political interest of the farmers was mass media exposure (newspaper reading, radio listening and television watching) while that of the industrial workers was the peer group communication; 4) political participation of both the farmers and the industrial workers was led by the peer group communication; and 5) there was no clear cut effect of any factors on the political alienation of both groups. There are some relationships between some socio-economic and demographic factors and political socialization as well as communication behavior of these two groups. Mostly the relationship is linear. For example: the higher education the sample has, the more political knowledge the sample gains. These significant findings would be helpful in improving the political campaign of democracy especially through the effective application of the [potential] system of communication behavior. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25103 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jatesak_Sa_front.pdf | 1.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch1.pdf | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch2.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch3.pdf | 743.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch4.pdf | 556.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch5.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch6.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch7.pdf | 2.03 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch8.pdf | 699.57 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_Ch9.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Jatesak_Sa_back.pdf | 3.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.