Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25109
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรชุสี อาชวอำรุง | |
dc.contributor.advisor | นพวงศ์ ณ อุธยา | |
dc.contributor.author | บุณยศักดิ์ แววภักดี | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-22T02:52:38Z | |
dc.date.available | 2012-11-22T02:52:38Z | |
dc.date.issued | 2527 | |
dc.identifier.isbn | 9745634239 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25109 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐานของนักศึกษา ในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐานของนักศึกษา ระหว่างนักศึกษาชายกับนักศึกษาหญิง และนักศึกษาในกรุงเทพมหานครกับนักศึกษาในต่างจังหวัด วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ป.วส.) ในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2526 โดยวิธีสุ่มแบบแบ่งเป็นพวกหรือชั้น (Stratified Random Sampling) ได้ตัวอย่างประชากรทั้งหมด 400 คน และได้รับแบบสำรวจคืนมาทั้งหมด คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนแบบสำรวจที่ได้รับคืนมา 400 ฉบับนั้น แบบสำรวจของนักศึกษาชายในกรุงเทพมหานครไม่สมบูรณ์ และใช้ไม่ได้เพียง 1 ฉบับ นอกจากนั้นใช้ได้หมดทั้ง 399 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 99.75 ของตัวอย่างประชากร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ประกอบด้วย เนื้อหา สองตอน ตอนที่หนึ่ง เป็นแบบสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสำรวจ ตอนที่สอง เป็นแบบสำรวจพฤติกรรมการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐานของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที สรุปผลการวิจัย 1. นักศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐาน อยู่ในเกณฑ์ที่มีค่าเฉลี่ย (X̄) ของศักยภาพพฤติกรรม (โอกาสที่จะปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐาน) ตั้งแต่ 6.73 ถึง 7.98 จากจำนวนเต็ม 10 แสดงว่านักศึกษามีศักยภาพหรือโอกาสที่จะปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐานมากกว่าที่จะไม่ปฏิบัติตาม 2. นักศึกษาชายและหญิง ในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐานไม่แตกต่างกันหมดทุกด้าน แต่ถ้าแยกพิจารณาค่านิยมพื้นฐานแต่ละด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และที่ระดับ .20 ในด้านการปฎิบัติตามคุณธรรมของศาสนา 3. นักศึกษาในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐาน ไม่แตกต่างกันหมดทุกด้าน แต่ถ้าแยกพิจารณาแต่ละด้านพบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในด้านการพึ่งตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ และที่ระดับ .20 ในด้านการประหยัดและออม การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย ข้อเสนอแนะ เพื่อให้ผลการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์ในทางปฏิบัติต่อสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริงผู้วิจัยได้เสนอแนะให้วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กรมการศาสนา ครอบครัว และสถาบันการศึกษาอื่นๆ ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะวิทยาลัยครูทั่วประเทศ และคณะศึกษาศาสตร์ หรือคณะศิลปศาสตร์ ในบางมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่ผลิตครู พึงตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของค่านิยมพื้นฐาน และหาทางปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานให้แก่เด็ก เยาวชน นักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนชาวไทยโดยรีบด่วน และต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ค่านิยมพื้นฐานที่จำเป็นต้องปลูกฝังให้แก่คนไทยทั้งประเทศโดยรีบด่วนที่สุดคือ การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา และการมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย สำหรับการวิจัยครั้งต่อไป ควรจะทำการวิจัยเรื่องการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตามค่านิยมพื้นฐานของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอื่นๆด้วย โดยเพิ่มตัวแปรอิสระต่างๆที่จะใช้ศึกษาอีก เช่น ระดับสติปัญญา การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว อาชีพ และฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว | |
dc.description.abstractalternative | Purpose of the Research The purpose of this study was to survey the Institute of Technology and Vocational Education students' perception of their performance according to their basic values, and to compare these perceptions according to sex and location of campus. Procedures The sample for this study included 400 Higher Level Vocational Certification students from the Institute of Technology and Vocational Education during the 1983 academic year. These students were selected by stratified random sampling technique. All 400 questionnaires sent out were returned; one was incomplete which left 399 questionnaires to be analyzed for this study. The instrument used in this study was a questionnaire constructed by the researcher and divided into two parts: the first part was for personal data of the respondants, and the second asked the students’ perception toward performance according t o their basic values. Data were analyzed by computing percentages, means, standard deviations, and t-test. Research Findings1.The students in the Institute of Technology and Vocational Education obtained an average score for their perception toward performance according to their basic values in all aspects, i.e. between 6.73 and 7.98 from a total 10; this means that the students are more likely than not to behave according to their basic values. 2. There is no significant difference in the perception toward performance according to basic values between male and female students of the Institute of Technology and Vocational Education in all aspects. If we analyze each aspect separately, there is a significant difference at the .05 level on being thrifty and saving; there is a difference significant at .20 level on practicing according to religious values. 3. There is no significant difference in the perception toward performance according to the basic values between the students of the Institute of Technology and Vocational Education who are at the Bangkok Metropolitan campus and those who are in provincial campuses in all aspects. If we analyze each aspect separately, there is a significant difference at the .01 level on self-reliance, diligence responsibility; there is a difference significant at .20 level on being thrifty and saving, and discipline, law and order. Recommendations In order to make the findings of this study useful and put them into action, the researcher recommends that the Institute of Technology and Vocational Education, The Office of the National Culture Commission, the Department of Religious Affairs, families another educational agencies responsible for human resources development, especially the teachers’ colleges, the schools of education, and the University Liberal Arts Departments offering teacher training programs should be aware of the significance and the usefulness of basic values, and they should urgently find ways to instill them in children, youth, students and all Thai citizens. Of all the aspects of the basic values, those which must be urgently instilled in all Thai citizens are adherence to religious teachings, discipline, law and order. There should be some research concerning the students' perception of performance according to basic values in other institutions; other variables should be considered such as intellectual level, family education, occupation and economic status. | |
dc.format.extent | 604949 bytes | |
dc.format.extent | 968486 bytes | |
dc.format.extent | 877952 bytes | |
dc.format.extent | 479252 bytes | |
dc.format.extent | 840524 bytes | |
dc.format.extent | 1351580 bytes | |
dc.format.extent | 1123140 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การรับรู้เกี่ยวกับค่านิยมพื้นฐานของนักศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยี และอาชีวศึกษา | en |
dc.title.alternative | Perception on basic values of students in the institute of technology and vocational education | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonyasak_Wa_front.pdf | 590.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyasak_Wa_ch1.pdf | 945.79 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyasak_Wa_ch2.pdf | 857.38 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyasak_Wa_ch3.pdf | 468.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyasak_Wa_ch4.pdf | 820.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyasak_Wa_ch5.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyasak_Wa_back.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.