Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25153
Title: ความต้องการในการศึกษาต่อเนื่องของอาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยครู
Other Titles: The needs for continuing education of the library school faculty in unibersities and teachers' colleges
Authors: พิมพรรณ รังสิกรรพุม
Advisors: สุนทรี หังสสูต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การศึกษาต่อเนื่อง
อาจารย์มหาวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ ความคิดเห็น เหตุจูงใจ และปัญหาในการศึกษาต่อเนื่องของอาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณรักษ์ศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยครู รวมทั้งข้อเสนอแนะของอาจารย์ในการจัดการศึกษาต่อเนื่องทางบรรณารักษ์ศาสตร์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับสถาบันที่สอนวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ และ สถาบันที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องให้สอดคล้องกับความต้องการของอาจารย์ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบถามให้อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยครู ซึ่งกำลังปฏิบัติการสอนอยู่ระหว่างปีการศึกษา 2525 จำนวน 220 คน ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามนำมาวิเคราะห์เสนอในรูปของร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณรักษ์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยครูส่วนใหญ่ มีความเห็นพ้องต้องกันว่า การศึกษาต่อเนื่องมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต และมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากร เพราะทำให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ กิจกรรมการศึกษาที่อาจารย์เห็นว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรมาก คือ การอ่านวรรณกรรม การเขียนบทความตำรา และการศึกษาต่อทางบรรณารักษ์ศาสตร์ ในการจัดการศึกษาต่อเนื่องให้มีประสิทธิภาพ อาจารย์มีความเห็นว่า สถาบันการศึกษาแลสถาบันที่เกี่ยวข้อง ควรจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องให้สอดคล้องกับความต้องการของผุ้เรียนและควรร่วมมือกันในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เหตุจูงใจที่ทำให้อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ต้องการศึกษาต่อ คือ ต้องการเพิ่มพูนความรู้ให้ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพ สำหรับปัญหาในการศึกษาต่อเนื่อง เนื้อหาวิชาไม่ตรงกับความสนใจ ขาดเงินทุนสนับสนุน สถานที่จัดกิจกรรมอยู่ไกล และไม่ทราบว่ามีกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องที่ใด อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ต้องการศึกษาต่อเนื่องทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการ แต่ต้องการการศึกษาต่อเนื่องแบบไม่เป็นทางการมากกว่าแบบเป็นทางการ สำหรับการศึกษาต่อเนื่องแบบเป็นทางการ อาจารย์ต้องการอบรมบรรณารักษ์ศาสตร์ที่มีวุฒิบัตรการศึกษาทางบรรณารักษ์ศาสตร์ในระดับประกาศนียบัตรหลังปริญญาโท และในระดับปริญญาเอก โดยต้องการศึกษาในมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ สำหรับการศึกษาต่อเนื่องแบบไม่เป็นทางการอาจารย์ต้องการในระดับมากทุกกิจกรรม คือ การอ่านวรรณกรรมทางบรรณารักษ์ศาสตร์ การเขียนบทความ หนังสือ การวิจัย การประชุม การสัมมนา การสนทนาทางวิชาการอย่างไม่เป็นทางการกับเพื่อนร่วมงาน โดยต้องการให้ภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยร่วมกับภาควิชาบรรณารักษ์ศาสตร์เป็นผู้จัดกิจกรรม อาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ทุกวิชาในระดับมาก นอกจากนี้อาจารย์ยังต้องการศึกษาสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับบรรณารักษ์ศาสตร์ เช่น สารนิเทศ คอมพิวเตอร์ สื่อการสอน สถิติ การบริหาร ข้อเสนอแนะ สถาบันการศึกษาที่สอนวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์ สมาคมทางวิชาชีพและสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องควรนำผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการพิจารณาจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการเพื่อสนองความต้องการของอาจารย์ผู้สอนวิชาบรรณารักษ์ศาสตร์
Other Abstract: The purposes of this thesis were to study the needs, opinions, motivations problems including the suggestions in continuing education of the library school faculty in universities and teachers’ colleges, in order to be the guidelines for the library schools and other institutes in providing the continuing education programs as they want The research was done through 220 questionnaires distributed to library school faculty in eight universities and thirty-six teachers’ colleges in the academic 1982. 182 questionnaires (82.71%) were returned. The data was analyzed and presented in forms of percentage, Mean and Standard Deviation. The result of research can be summed up as that most of library school faculty in universities and teachers’ colleges agree that continuing education is necessary in teaching process and important for personnel development. Reading, writing articles and textbooks and upgrading in library science are the continuing education activity that are important for personnel development. In order to provide efficient continuing education activities, library schools, professional associations and other institutes should participate in providing continuing education. Besides, activities should meet individual needs. The important motivation in continuing education are to improve their knowledge and make themselves progress. As to their problems the serious ones are that the content of subjects are not as they need, lack of money support, inconvement location and lack of information where the activities take place. The library school faculty wants both formal and informal continuing education, but they want more informal continuing education than formal continuing education. For formal continuing education activities, they want short courses, post master degree and doctoral degree in library science universities bath in country and abroad. For informal continuing education activities, they want all activities such as reading, writing, research participation, conference, seminar, and study groups. The institutes wanted in providing the informal activities are library science department and university library in cooperation with library science department. The library school faculty wants to study all subjects in library science and other subjects concerning library science such as information science, computer science, statistics, audiovisual materials and administration. Recommendation The library schools, professional association and other institutes concerning library education should use the result of this study as guidelines for providing continuing education activities both formal and informal in order to meet the needs of the majority of the library school faculty.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25153
ISSN: 9745621595
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimpan_Ra_front.pdf582.83 kBAdobe PDFView/Open
pimpan_ra_ch1.pdf932.04 kBAdobe PDFView/Open
pimpan_ra_ch2.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
pimpan_ra_ch3.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
pimpan_ra_ch4.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
pimpan_ra_back.pdf874.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.