Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25176
Title: ความขัดแย้งทางอุดมการของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. 2520-2522)
Other Titles: Ideological conflict within the Communist Party of Thailand (B.E. 2520-2522)
Authors: บุษบา สินสมบูรณ์
Advisors: กนลา สุขพานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความขัดแย้งเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นทุกขั้นตอนของพัฒนาการความเป็นไปตั้งแต่ระดับใหญ่ไปจนถึงจุดเล็กๆ เช่น ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความขัดแย้งภายในระบบสังคม ความขัดแย้งในหัวใจมนุษย์ ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้เสมอเพราะมนุษย์มีความต้องการและแบบแผนแนวความคิดที่เป็นกระบวนการแตกต่างกันออกไป จึงทำให้มีอุดมการที่ไม่เหมือนกัน ในช่วงระยะปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๒ เป็นช่วงของความขัดแย้งทางอุดมการของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อของพรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย การเสนอวิทยานิพนธ์เรื่องความขัดแย้งทางอุดมการของพรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๒) แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือในส่วนแรกมุ่งศึกษาแนวความคิดและทฤษฎี คนแรกผู้วางรากฐานลัทธิคอมมิวนิสต์ คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) ส่วนนิโคไล เลนิน (Nicolai Lenin) เป็นผู้ปฏิวัติสังคมตะวันตกประเทศรัสเซีย ให้เป็นประเทศแรกในโลก เลนินจึงได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของอุดมการ มาผสมผสานกัน และเสนอแนวทางการปฏิวัติขึ้นมา สำหรับเหมาเจอตุง ผู้สามารถพลิกประวัติศาสตร์ของประเทศจีนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือได้เป็นผู้ประสานทฤษฎี มาร์กซ์ (Marxism) กับทฤษฎีเลนิน (Leninism) โดยการปรับปรุงเสนอแนวทางรูปแบบปฏิวัติในสังคมตะวันออกประเทศที่มีพื้นฐานทางกสิกรรมเป็นหลัก ซึ่งต่อมามีประเทศในโลกที่ ๓ ทั้งหลายนำไปใช้เป็นรูปแบบในการปฏิวัติ สำหรับในส่วนที่สองจะกล่าวคือ สถานการณ์ที่นำไปสู่ความขัดแย้งปัญญาชน นิสิต นักศึกษา นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ฯ รู้จักพรรคคอมมิวนิสต์แต่ในนามหรือในความฝัน หรือจินตนาการไม่เคยได้เข้าไปสัมผัสกับพรรคมาก่อน จากบรรยากาศทางการเมืองที่ผันผวนเกิดรัฐประหารกรณี ๖ ตุลาคม๒๕๑๙ นโยบายทางการเมืองของรัฐบาลธานินทร์ ที่มุ่งกวาดล้างและปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ทำให้ปัญญาชน นิสิต นักศึกษา นักการเมือง นักหนังสือพิมพ์ฯ ได้หนีเข้าป่าและส่วนหนึ่งได้ข้ามฝั่งไปอยู่ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การได้สัมผัสในความเป็นจริงกับอุดมการของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตลอดจนแนวทางการปฏิวัติที่ใช้อยู่ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นพรรคก็เผชิญกับความขัดแย้งและการต่อสู้ทางแนวความคิดมาก่อน แต่ไม่รุนแรงเท่ากับครั้งนี้ ความขัดแย้งทางอุดมการนั้นอาจพิจารณาได้ไปถึงการที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยรับอิทธิพลอุดมการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนมากเกินไป จึงยังผลที่ปรากฎออกมาคือความขัดแย้งในผู้นำพรรค ความขัดแย้งของแนวร่วมการละทิ้งป่าคืนสู่นคร ทรรศนะที่แตกต่างกันในการวิเคราะห์สภาพสังคมไทย ซึ่งเป็นบ่อเกิดความขัดแย้ง ตลอดจนแนวทางที่ใช้ในการปฏิวัติประเทศไทย ยุทธศาสตร์ยุทธวิถี สงครามกองโจร และยุทธศาสตร์ชนบทล้อมเมือง ถึงแม้นจะเปลี่ยนแปลงยุทธวิถี สงครามประชาชาติยุทธศาสตร์ป่าประสานเมือง ซึ่งเป็นการขยายการปฎิวัติให้กว้างขวางขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๒๐ การปฏิบัติการก่อการร้ายของผู้ก่อการร้ายที่ทำงานได้ผลอย่างมาก จากสถิติ พ.ศ. ๒๕๒๒ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้สูญเสียกำลังแนวร่วม นักรบ อาวุธ ของกองทัพปลดแอกแห่งประเทศไทยเป็นจำนวนสูงขึ้น และความขัดแย้งทางสากลที่ประเทศค่ายคอมมิวนิสต์ เวียดนามขัดแย้งกัน ล้วนส่งผลต่อความแตกแยกทางแนวความคิดไปสู่ความขัดแย้งทางอุดมการทั้งสิ้น ตลอดจนการดำเนินนโยบายทางการเมือง ภายในประเทศและภายนอกประเทศปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย คือ การเกิดพรรคไทยอีสานกู้ชาติ และการปิดวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย ตลอดจนการเข้ามอบตัวของแนวร่วมต่อทางราชการที่มีอยู่ตลอดเวลา ทำให้สรุปได้ว่า พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอยู่ในช่วงแห่งความขัดแย้งทางอุดมการ
Other Abstract: Conflict naturally occurs in every stage of social development. It involves human race, ranging from the biggest to the tiniest sector of human population; for example, international conflict and world war, internalsocial conflict, and human sentimental and psychological conflict. The sources of conflict are various. They involve needs, power struggle and ideological differences. Therefore, the ideological conflict which has emerged within the CPT is no exception. It has inevitably occurred as a result of different indoctrination among the CPT members. This ideological rift endangers the CPT strategic mission in Thailand as well as ruins the unity of the Party. This thesis, which focuses its research on "The Ideological is divided into 2 parts. The first part concentrates its study on theoretical framework and ideological conception. Thoughts on Communism are presented ranging from Marxism to Maoism. Marxism, Leninism and Moism are comparatively analyzed, especially in connection with the aspect of socio-political revolution. Secondly, the implication of Communism on social groups are thoroughly discussed, especially the influence of Communist guerrilla tactics upon the intellectual circle in Thailand. Throughout the years, the mass of the Thai people only heard about Communism but have never had a real chance to come into contact with it. The opportunity has opened up after the October 6, 1976 incident which has put the rishtist “Tanin” into power. It has consequently forced those frustrated young people into the jungle. Having spent sometimes in close contact with their Communist comrades, these young people realized that their vision of "a good Communist” is entirely different from being” a real life Communist Hence, they began t o clash with the Communist Jungle leaders and turned the conflicts into critical situation. The Sino-Soviet conflict and the fact that the Communist Party of Thailand has and always chosen "the Chinese line”, have resulted in the weakening of the Communist united front organizations, the battle for power among Communist leaders, as well as the flight of recent settlers back to the hands of the authority in the city. The emergence of the people of Thailand Radio" further undermines the unity of communist leaders and certainly makes the communist operation in Thailand a much more difficult task to accomplish. In sum the study shows reveals that at the moment the Communist party of Thailand is confronting many critical problems, such as conflict of ideology, and the collapse of the united front. If these problems are left unresolved, they certainly would endanger. The survival of the communist Party as a viable political organization, with its goal to take over Thailand in the near future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25176
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Busbar_Si_front.pdf550.33 kBAdobe PDFView/Open
Busbar_Si_ch1.pdf856.98 kBAdobe PDFView/Open
Busbar_Si_ch2.pdf2.27 MBAdobe PDFView/Open
Busbar_Si_ch3.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Busbar_Si_ch4.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Busbar_Si_ch5.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Busbar_Si_ch6.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Busbar_Si_ch7.pdf488.25 kBAdobe PDFView/Open
Busbar_Si_back.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.