Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25197
Title: การกระจายตัวของฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 และ 10 ไมครอน บริเวณสถานีรถไฟฟ้า กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Distribution of PM25 and PM10 at bangkok mass transit system (BTS) stations
Authors: สมพงษ์ เลิศพุฒิพิศุทธิ์
Advisors: ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2547
Abstract: เก็บตัวอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM₁₀ และ PM₂ ̣₅ บริเวณสถานีรถไฟฟ้าพญาไท พระโขนง และช่องนนทรี (สถานีเปรียบเทียบ) ด้วยเครื่องเก็บตัวอย่างชนิดติดตัวบุคคลติดหัวคัดแยกฝุ่นอิมแพคเตอร์ และหาความเข้มข้นฝุ่นตามหลักวิธี Gravimetric ด้วยเครื่องชั่งไฟฟ้าที่มีทศนิยมหกตำแหน่ง ความเข้มข้นฝุ่นละออง PM₁₀ ที่ตรวจวัดได้เปรียบเทียบกับค่าที่เก็บตัวอย่างอากาศด้วยวิธีเทปรังสีเบต้า และ ความเข้มข้นฝุ่นละออง PM₂ ̣₅ ที่ตรวจวัดได้เปรียบเทียบกับค่าที่เก็บตัวอย่างอากาศด้วยเครื่อง R&P single channel sampler ที่สถานีเฝ้าระวังของกรมควบคุมมลพิษ สถานีดินแดง พบว่าวิธีตรวจวัดทั้งสองวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญดังสมการ PM₁₀ (Cascade) = 1.2424 PM₁₀ (Beta ̵attenuation) r² = 0.8610 และ PM₂ ̣₅(Cascade) = 1.2593 PM₂ ̣₅ (R&P single channel sampler) r² = 0.9594 ความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กในวันทำงานมีค่ามากกว่าวันหยุดและสัมพันธ์กับปริมาณจราจรที่ผ่านใต้สถานี ความเข้มข้นฝุ่นละอองลดลงตามระดับความสูง และลดลงมากที่สุดที่สถานีรถไฟฟ้าพระโขนง สัดส่วน PM₂ ̣₅ ต่อ PM₁₀ ของทั้งสามสถานีมีค่าอยู่ระหว่าง 0.56 ถึง 0.69 การวิเคราะห์สมการถดถอยความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นฝุ่นละอองขนาดเล็กและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเข้มข้นฝุ่น บริเวณสถานีรถไฟฟ้า พบว่าความเข้มข้นฝุ่นละอองมีความสัมพันธ์กับปริมาณจราจรที่ผ่านใต้สถานี ความดันบรรยากาศ อุณหภูมิ และโครงสร้างของสถานีรถไฟฟ้า
Other Abstract: Fine particulate matters, PM₁₀ and PM₂ ̣₅ at Bangkok mass transit system (BTS) stations: Phayathai, Phakanong and Chongnonthee were sampled with personal air sampler attached impactor cascade heads. The particulate concentrations were measured by Gravimetric method using an electronic microbalance. The co-measurements were conducted parallely with β ̵ attenuation (for PM₁₀) and R&P single channel sampler (for PM₂ ̣₅) at PCD monitoring station. The result at Dindaeng station showed significant correlation with equation: PM₁₀ (Cascade) = 1.2424 PM₁₀ (Beta ̵attenuation), r² = 0.8610 and PM₂ ̣₅(Cascade) = 1.2593 PM₂ ̣₅ (R&P single channel sampler), r² = 0.9594. The 24-hr average fine particulate matters in workday were higher than those of 24-hr average in weekend. The PM concentrations were found increasing with the traffic volume under BTS stations. The vertical PM levels decreased with the increasing height, particularly at Prakanong station. The mean PM₂ ̣₅ to PM₁₀ ratio at all stations were between 0.56 ̵ 0.69. The regression analysis for correlation between particulate matter concentrations and their influential factors at BTS stations found that PM concentrations related to traffic volume, atmospheric pressure, temperature and the construction structure of the BTS stations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25197
ISBN: 9745312231
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_le_front.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_le_ch1.pdf965.33 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_le_ch2.pdf7.81 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_le_ch3.pdf4.87 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_le_ch4.pdf11.5 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_le_ch5.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_le_back.pdf12.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.