Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2528
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดอัตราการตกค้างของเชื้อแบคทีเรีย ในกระบวนการล้างทำความสะอาดเครื่องมือกล้องส่องทางเดินอาหารส่วนบน ระหว่างน้ำยาคลอเฮกซิดีนกับน้ำยาเอนไซน์มาติก ดีเทอร์เจน |
Other Titles: | Bacterial decontamination in upper endoscope reprocessing by enzymatic detergent compared to chlorhexidine |
Authors: | สรพัชย์ เอกธัญสกุล |
Advisors: | รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร ผ่องพรรณ นันทาภิสุทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Rungsun.R@Chula.ac.th Pongpun.N@Chula.ac.th |
Subjects: | กล้องส่องทางเดินอาหาร คลอร์เฮกซิดีน สารทำความสะอาด |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย : ปัจจุบันการล้างทำความสะอาดเครื่องมือกล้องส่องทางเดินอาหาร ควรได้รับการฆ่าเชื้อในระดับ High level disinfection คราบที่เหลือตกค้างในกล้องส่อง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีเชื้อตกค้างน้ำยาเอนไซน์มาติก ดีเทอร์เจนได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่พบว่ามีราคาสูง โดยที่ยังไม่เคยมีการเปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพกับน้ำยา คลอเฮกซิดีน ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ : เปรียบเทียบถึงประสิทธิภาพในการลดอัตราการตกค้าง ของเชื้อแบคทีเรียในกล้องส่องทางเดินอาหารส่วนบน ภายหลังการล้างโดยวิธีมาตรฐานระหว่างน้ำยาเอนไซม์มาติก ดีเทอร์เจน กับน้ำยา คลอเฮกซิดีน ระเบียบวิธีวิจัย : เป็นการศึกษาไปข้างหน้าแบบสุ่ม เพื่อประเมินถึงประสิทธิภาพของน้ำยาสองชนิดในการล้างทำความสะอาด โดยเก็บตัวอย่างจำนวน 260 ตัวอย่างจากกล้องส่องทางเดินอาหารทั้งหมด 5 กล้อง ตัวอย่างทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มตามชนิดของน้ำยาที่ใช้ (กลุ่มละ 130 ตัวอย่าง) ขั้นตอนการเก็บตัวอย่างประกอบด้วย กล้องส่องทางเดินอาหารที่ใช้แล้ว จะถูกแช่และแปรงล้างด้วยน้ำยาแต่ละชนิดตามกลุ่มที่ได้รับ หลังจากนั้นกล้องทั้งหมดจะถูกทำความสะอาดและฆ่าเชื้อต่อไปจนครบขั้นตอน ตามวิธีมาตรฐาน ตัวอย่างจะถูกเก็บโดยการฉีด 0.9% normal saline ที่ปราศจากเชื้อจำนวน 40 มิลลิลิตร ลงในช่อง biopsy channel และเก็บส่งเพาะเชื้อต่อไปโดยวิธี membrane filter method ค่าของจำนวนเชื้อแบคทีเรียที่มีความสำคัญทางคลินิกกำหนดให้มีปริมาณมากกว่า 180 cfu/ml. ผลการวิจัย : พบว่าอัตราการตกค้างของเชื้อแบคทีเรีย หลังการล้างโดยน้ำยาทั้งสองชนิด มีปริมาณที่ต่ำและไม่แตกต่างกันจากการทดสอบทางสถิติ สรุป : การใช้น้ำยาเอนไซม์มาติก ดีเทอร์เจน มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกับการใช้น้ำยา คลอเฮกซิดีน ในการลดอัตราการตกค้างของเชื้อแบคทีเรีย ภายหลังการทำความสะอาดกล้องส่องทางเดินอาหารส่วนบนโดยวิธีมาตรฐาน |
Other Abstract: | Background : Currently, the standard practice for endoscope reprocessing requires high level of disinfection. Chlorhexidine is one of the solutions that have been accepted for endoscope cleansing. However, persistent bacterial contamination because of failure to clear bacterial biofilm may occur. Enzymatic detergent (3E ZYME, Hartfordshire, UK) has been proposed to use in order to reduce this problem but the efficacy of this detergent has never been compared to chlorhexidine. Objective : to compare the efficacy of enzymatic detergent with chlorhexidine for gastroscope bacterial decontamination. Method : A prospective randomized controlled study was undertaken to evaluate the disinfection capacity of gastroscope cleansing by these 2 agents. There were 260 specimens collected from 5 different gastroscopes. Manual cleansing was done for 10 minutes by these 2 agent separately (n=130 each). Then all scopes underwent 2% glutaraldehyde soaking for 20 minutes. After 70% alcohol rinsed, sterile normal saline was flushed into scope channels and specimens were obtained. The samples were sent for aerobic bacterial culture after membrane filtered method. Significant bacterial growth was defined as a colony count more than 180 CFU/ml. (Guideline from MMWR June 2003). Results& Summary : The rate of bacterial contamination in the gastroscope after enzymatic bacterial decontamination was low and similar to conventional chlorhexidine cleansing technique. Conclusion : Enzymatic detergent is not better than 4% chlorhexidine for gastroscope bacterial decontamination. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2528 |
ISBN: | 9741771207 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sorapat.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.