Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2529
Title: การศึกษาประสิทธิภาพตัวกรองชนิดเซลลูโลสไตรอะซิเตท กับตัวกรองสังเคราะห์โพลีซัลโฟนสำหรับการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง ในผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายฉับพลัน
Other Titles: Efficacy of cellulose triacetate dialyzer and polysulfone synthetic hemofilter in continuous venovenous hemofiltration in acute renal failure
Authors: วรางคณา พิชัยวงศ์
Advisors: สมชาย เอี่ยมอ่อง
อัษฏางศ์ ลีฬหวนิชกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ไตวายเฉียบพลัน
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
ตัวกรองไตเทียม
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มา การฟอกเลือดแบบต่อเนื่อง เป็นวิธีการรักษาแบบประคับประคอง ที่มีความเหมาะสมในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่อยู่ในภาวะวิกฤติ ในประเทศไทยเริ่มมีการฟอกไตแบบต่อเนื่องมากขึ้น แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง ตัวกรองที่ออกแบบสำหรับการฟอกเลือดวิธีนี้ มักเป็นตัวกรองชนิดที่สังเคราะห์ เป็นตัวกรองที่มีประสิทธิภาพสูง แต่มีราคาแพงมาก หน่วยไตของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้มีการประยุกต์นำตัวกรองธรรมชาติ ที่ผลิตจากสารประกอบเซลลูโลสที่ใช้ในการฟอกเลือดแบบเป็นครั้งคราว มาใช้ในการฟอกเลือดแบบต่อเนื่อง ซึ่งมีราคาประหยัดกว่าตัวกรองชนิดสังเคราะห์มาก การศึกษานี้มุ่งศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในด้านการกำจัดของเสีย และปฏิกิริยากระตุ้นกระบวนการอักเสบของร่างกาย ระหว่างการใช้ตัวกรองชนิดเซลลูโลสไตรอะซิเตท โดยใช้ตัวกรอง SUREFLUX 150E และตัวกรองชนิดสังเคราะห์โพลีซัลโฟน โดยใช้ตัวกรอง AV 400 ซึ่งเป็นตัวกรองมาตรฐานที่ใช้ในการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่อง วิธีการศึกษา ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันที่มีข้อบ่งชี้ในการฟอกเลือด จะได้รับการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่องที่ผ่านทางเส้นเลือดดำ โดยการเลือกใช้ตัวกรองสองชนิดได้แก่ ตัวกรอง SUREFLUX และตัวกรอง AV 400 วงจรการไหลเวียนโลหิตควบคุมโดยเครื่องหมุนเลือด กำหนดการไหลเวียนโลหิต 100 มิลลิลิตร ต่อนาที ค่าอัลตร้าฟิวเตรชั่น 1200 มิลลิลิตรต่อนาที อัตราการให้สารน้ำทดแทน 20 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง ผลการศึกษา ผู้ป่วย 17 รายที่เข้าร่วมการศึกษา มีลักษณะพื้นฐานและความรุนแรงของโรคใกล้เคียงกัน ค่า Seiving coefficient ของสารโมเลกุลขนาดกลางไม่มีความ แตกต่างกันในแต่ละตัวกรอง พบว่าการใช้ตัวกรองชนิด SUREFLUX มีการสูญเสียอัลบูมิน ออกไปในอัลต้าฟิวเตรท มากกว่าตัวกรองชนิดสังเคราะห์ที่เวลา 2 และ 8 ชั่วโมง (P = 0.029 ตามลำดับ) ไม่มีความแตกต่างในด้านอายุเฉลี่ยของการใช้งาน และการเกิดปฏิกิริยากระตุ้นการอักเสบของร่างกาย สรุปผลการศึกษา ตัวกรอง SUREFLUX มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารได้ดีเทียบเท่ากับตัวกรองชนิดสังเคราะห์ มีความปลอดภัยที่จะนำมาใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤติ มีราคาถูก ดังนั้นการเลือกใช้ตัวกรองที่ผลิตจากเซลลูโลสไตรอะซิเตท จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่แสดงถึงความคุ้มทุน ในการรักษาการฟอกเลือดอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลัน
Other Abstract: Background : Continuous renal replacement therapy (CRRT) is a highly effective system for replacing renal function in patient with acute renal failure (ARF). Nevertheless, the advantages of CRRT over IHD are not firmly established. One of these aspects might be the costs of CRRT which much more expensive than IHD. Hemofilter is a one of single item. A standard synthetic membrane material used in CRRT is generally high efficiency, more biocompatible but very expensive. The aim of this study was to verify the first data using a modified cellulose membrane in CRRT. We focused on the clearance performance and clinical safety of hemofilter under condition of CVVH. Methods : We compared the use of cellulose triacetate (Sureflux) and synthetic membrane (AV-400) for CVVH in ARF patients. They were treated with separated CVVH system, conduct with pre-dilution mode. Blood and replacement flow rate ware kept at 100 and 20 ml/min, respectively. Ultrafiltretion rate was 1,200 ml/hr. Blood and ultrafiltrate were samplingat baseline, 2 hr, 8hr, 16 hr, 24 hr. Results : Seventeen critically ill patients were included in this study. Well tolerated hemodynamically. The seiving coefficient of small and middle molecule were similar. The loss of albumin at 2 and 8 hr. of Sureflux was more than AV-400 significantly (P = 0.029). No significant in complement activation. Conclusions : Sureflux efficacy was excellent. The high permeability and sieving coefficient achieved comparable with AV-400. No side effects occurred during treatment. We provide the preliminary evidence that cellulose triacetate may be good alternative to synthetic membranes in continuous renal replacement therapy.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2529
ISBN: 9741769474
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
WarangkanaPi.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.