Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25313
Title: การวิเคราะห์ระบบแถวคอยของการลงทะเบียนวิชาเรียน ของนิสิตบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: An analysis of waiting line system for registration of Graduate Student of Chulalongkorn University
Authors: บุญมี วัฒนานนท์
Advisors: มานพ วราภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยเรื่อง “การวิเคราะห์ระบบแถวคอยของการลงทะเบียนวิชาเรียนของนิสิตบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เป็นการศึกษาถึงระบบการลงทะเบียนวิชาเรียนโดยนำเอาเทคนิคการจำลองแบบ (Simulation Technique) มาช่วยในการวิเคราะห์ระบบแถวคอย โดยศึกษาค่าลักษณะการดำเนินงานต่าง ๆ (Operating Characteristics) อันได้แก่ จำนวนนิสิตโดยเฉลี่ยในแถวคอย (Expected Number in Queue), เวลาที่ใช้ในการคอยโดยเฉลี่ย (Expected Time in Queue), จำนวนนิสิตในระบบโดยเฉลี่ย (Expected Number in system) เวลาในระบบโดยเฉลี่ย (Expected Time in System) และการใช้ประโยชน์เจ้าหน้าที่โดยเฉลี่ย [(Average Utilization)] เป็นต้น ในการศึกษาระบบงานลงทะเบียนวิชาเรียนนี้ได้ทำการศึกษาระบบงานลงทะเบียนในปัจจุบันและการศึกษาระบบงานลงทะเบียนที่ทดลองเปลี่ยนแปลงซึ่งในการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ทำการศึกษาการเปลี่ยนแปลง 2 อย่าง คือ 1. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงจำนวนเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (ช่องทางการให้บริการ) 2. ศึกษาการเปลี่ยนแปลงเมื่อทำการสลับขั้นตอนของการลงทะเบียน (ขั้นตอนของการลงทะเบียนวิชาเรียนมีขั้นตอนของการลงทะเบียนทั้งหมด 9 ขั้นตอน) นอกจากนี้ยังศึกษาดูถึงประสิทธิภาพของระบบการลงทะเบียนวิชาเรียนในปัจจุบันและระบบการลงทะเบียนวิชาเรียนที่ทำการทดลองเปลี่ยนแปลง เพื่อพิจารณาหาระบบงานที่เหมาะสม ผลการศึกษาวิจัยได้ว่า ระบบงานลงทะเบียนวิชาระบบปัจจุบันเป็นระบบงานที่มีประสิทธิภาพดีกว่าระบบงานลงทะเบียนอื่น ๆ ที่นำมาศึกษาเปรียบเทียบ (การศึกษาประสิทธิภาพระบบการลงทะเบียนวิชาเรียนได้นำเอาค่าใช้จ่ายรวมโดยเฉลี่ย (V.C.) มาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาและจะได้ว่าระบบปัจจุบันมีค่าต่ำสุดซึ่งมีค่าเท่ากับ 614.007 บาท/ช.ม.) และระบบการลงทะเบียนวิชาเรียนในปัจจุบันจะมีค่าลักษณะการดำเนินงานต่าง ๆ ดังนี้คือ การใช้ประโยชน์เจ้าหน้าที่โดยเฉลี่ยจะมีค่าสูงสุดที่ขั้นตอนที่ 6 มีค่าเท่ากับ 65.28% และมีค่าต่ำสุดที่ขั้นตอนที่ 8 มีค่าเท่ากับ 7.48%, เวลาที่ใช้ในการคอยโดยเฉลี่ย (Wq) และจำนวนนิสิตโดยเฉลี่ยในแถวคอย (Lq) จะมีค่าทั้งสองสูงในขั้นตอนที่ 5 และ 6 โดยมีค่า Lq= [0.124 คน] และ 0.112 คน ตามลำดับ และค่า Wq จะมีค่าเท่ากับ 9.596 วินาทีและ 8.95 วินาทีตามลำดับ ส่วนเวลาในระบบโดยเฉลี่ย (Ws) และจำนวนนิสิตในระบบโดยเฉลี่ย (Ls) จะพบว่าที่ขั้นตอนที่ 7 มีค่าสูงกว่าขั้นตอนอื่น ๆ มีค่าเท่ากับ 42.804 วินาที และ 1.854 คน ตามลำดับ
Other Abstract: This paper studied the Queue System in Registration by utilizing Simulation Technique. The vacity of Operating Characteristics are identified for example; the Expected Number in Queue, the Expected Time in Queue, the Expected Number in System, Expected Time in System ; and Average [Utilization] etc. The study investigated the method of registration used at present and other methods of registration aiming : (1) To study the change of the number of the registrars (Opportunity of servicing) (2) To identify the change when the step of registration were alternate (there are 9 steps in registration) Furthermore, the efficiency of the method of registration used in the present and the varied method of registration is studied in order to get the appropriate system of registration. The study results that the method of registration in use at present is more efficient than the other methods analysed in the research; To study the efficiency of the system of registration, the V.C. [(cost value)] was taken in to an account as a standard and subsequently the lowest value was found of the present system of registration which is equal to 614.007 bath/hour. Morever, the method now in used provided the following operating characteristics e.g.; 65.28% of the maximum of average utilization of registrars is at the 6th step of the system of registration and 7.48% of the minimum is at the 8th step of the system. The maximum of expected time in queue (Wq) and expected number in queue (Lq) are respectively at the 5th and 6th step of the system (Lq = 0.124:0.112; Wq = 9.596 second, 8.956 second). Also, the average time spent in the system (Ws = 42.804 second) and number of students in system (Ls = 1.854) of the 7th step of the system were found to be much greater than the [others].
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25313
ISBN: 9745617466
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonmee_Wa_front.pdf441.18 kBAdobe PDFView/Open
Boonmee_Wa_ch1.pdf494.42 kBAdobe PDFView/Open
Boonmee_Wa_ch2.pdf712.22 kBAdobe PDFView/Open
Boonmee_Wa_ch3.pdf684.56 kBAdobe PDFView/Open
Boonmee_Wa_ch4.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Boonmee_Wa_ch5.pdf366.69 kBAdobe PDFView/Open
Boonmee_Wa_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.