Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25338
Title: | การเปลี่ยนแปลงการอยู่อาศัยของชุมชนใกล้โครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ |
Other Titles: | Living condition of residential communities near Muang Thong Thani Chaengwattana |
Authors: | สิวินีย์ ขาวมาก |
Advisors: | มานพ พงศทัต กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ ตั้งอยู่ที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2531 มีพื้นที่ 4,500 ไร่ ซึ่งเป็นโครงการที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะเป็นเมือง มีลักษณะพิเศษคือ มีพื้นที่ใหญ่ ภายในมีโครงการย่อยหลายโครงการ มีผู้อาศัยทั้งประจำและเข้า-ออก จำนวนมาก ซึ่งเมื่อเป็นโครงการที่มีลักษณะพิเศษดังกล่าว เมื่อเกิดขึ้นจึงน่าจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการอยู่อาศัยของชุมชนใกล้ดคียง ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่มาดั่งเดิมก่อนที่จะมีโครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการอยู่อาศัยของชุมชนที่อยู่ใกล้ โครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ โดยการศึกษาข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การสำรวจพื้นที่ การสังเกตการณ์ในชุมชน การสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง และการออกแบบสอบถามโดยวิธีเจาะจงกลุ่ม (Cluster study) ของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่เลือกเป็นกรณีศึกษา คือ หมู่บ้านเมืองทอง 3 โครงการ 1 ตึกแถวติดถนนทางเข้าหลักของโครงการเมืองทองธานี ด้านถนนแจ้งวัฒนะ และหมู่บ้านพงษ์เพชร โดยสอบถามเฉพาะผู้ที่อยู่อาศัยก่อนมีโครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ จนถึงปัจจุบัน เท่านั้น ซึ่งมีประชากรทั้งสิ้น จำนวน 470 หลังคาเรือน ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงการอยู่อาศัยของชุมชนใกล้เคียงโครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ นั้นมีทั้งด้านที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางลบ ด้านที่ลบมากที่สุดคือด้านการจราจร ด้านทัศนียภาพโดยรอบที่อยู่อาศัยและบรรยากาศในการอยู่อาศัย ส่วนด้านที่เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางบวกจะเป็นปัจจัยในด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ราคาที่ดิน โอกาสในการประกอบอาชีพหลักและอาชีพเสริม ภาพพจน์และชื่อเสียงที่ดีขึ้นของชุมชน ซึ่งพบว่าระดับของทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นมีผลมาจากระยะทางระหว่างชุมชนกรณีศึกษา และโครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ นอกจากนั้นสาเหตุที่ก่อให้เกิดทัศนคติในทางลบ สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 สาเหตุหลัก คือ 1. สาเหตุจากกายภาพของโครงการ เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ 2. สาเหตุจากกิจกรรมภายในโครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะแนวทางการแก้ไขทัศนคติทางลบนั้นสามารถแก้ไขโดยการร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง แต่ในกรณีของการจราจรนั้นปัจจุบันได้กลายเป็นปัญหารับเมืองไปแล้ว ดังนั้นหนทางในการแก้ไขจึงต้องเป็นหน้าที่ของภาครัฐ ที่จะออกมาตรการที่เหมาะสมมารองรับ และป้องกันปัญหาดังกล่าว ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้อีกกับโครงการขนาดใหญ่ในอนาคต รวมถึงเจ้าของโครงการและผู้อยู่อาศัยที่จะต้องเคร่งครัดเรื่องกฎจราจรและการจอดรถ |
Other Abstract: | Muang Thong Thani, Chaengwattana located in Pak Kret District, Nontaburi Province was established in 1988. It covers an area of 4,500 rai. Its distinctive features are that it covers a big area, comprises many small projects and accommodates a lot people. Such a big project tents to affect the surrounding neighborhood which existed before. This study aims to study the changes in living conditions of residential communities near Muang Thong Thani, Chaengwattana. The data is collected from literature review, site survey, observations, interviews and a questionnaire asking certain groups of residents in the case study areas. They cover Muang Thong 3 Project 1, shophouses on Chaengwattana Road and Pong Pet Village. This cluster study focuses on those who have lived in that area before the establishment of Muang Thong Thani, Chaengwattana. There are 470 households altogether. It is found that the changes in their living conditions are both negative and positive. The negative effects are traffic, the scenery in the neighborhood and the living atmosphere. The positive ones involve economic conditions such as the price of land, opportunities for having permanent and supplementary jobs and a good image of their communities. These effects depend on the distances between the case study area and Muang Thong Thani, Chaengwattana. The negative effects are caused by the physical conditions of Muang Thong Thani, Chaengwattana and the activities within the project. To solve the negative effects, cooperation from the related parties is required. However, the traffic problems are the city’s problems now so it is the government’s duty to deal with them. As a result, other big projects will be able to cope with such problems in the future. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เคหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25338 |
ISBN: | 9741730632 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Siwinee_kh_front.pdf | 3.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siwinee_kh_ch1.pdf | 2.48 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siwinee_kh_ch2.pdf | 6.17 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siwinee_kh_ch3.pdf | 8.93 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siwinee_kh_ch4.pdf | 20.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siwinee_kh_ch5.pdf | 4.91 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Siwinee_kh_back.pdf | 9.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.