Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25355
Title: การวิเคราะห์เชิงสถิติเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของนักศึกษา วิทยาลัยของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: A statistical analysis of factors affecting undergraduate students' drop out of private colleges in Bangkok Metropolis
Authors: บุญพร บริบูรณ์ส่งศิลป์
Advisors: สรชัย พิศาลบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มุ่งที่จะศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับลักษณะการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรประกอบด้วยนักศึกษาที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2523 จำนวน 703 คน วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลทำโดยการส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ ประกอบกับข้อมูลทุติยภูมิที่ได้ จากหน่วยทะเบียนนักศึกษาของแต่ละวิทยาลัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พบว่า เพศ ลำดับการเลือกคณะ วุฒิสูงสุดเดิมก่อนเข้าวิทยาลัย เกรดเฉลี่ยสะสมก่อนเข้าวิทยาลัย ผู้ที่พักอาศัยอยู่ด้วย อาชีพบิดา-มารดาหรือผู้อุปการะ การศึกษาสูงสุดของผู้อุปการะ แต่ละปัจจัยมีความสัมพันธ์กับลักษณะการสำเร็จการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญ นักศึกษาที่ไม่สำเร็จการศึกษามีปัญหาในการศึกษามากกว่านักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับปริญญาตรีโดยจำแนกตามสาขาวิชา กลุ่มลักษณะการสำเร็จการศึกษาและรวมทุก ๆ สาขาวิชามีความสัมพันธ์กัน ยกเว้นเมื่อจำแนกตามกลุ่มที่ไม่สำเร็จการศึกษา และเมื่อพิจารณาทั้งแยกสาขาและรวมทุกสาขาวิชาพบว่า จากการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลปัจจัยทั้งสองกลุ่มคือกลุ่มที่หนึ่งซึ่งประกอบด้วยคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การไม่ศึกษาค้นคว้าจากหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความรู้สึกที่ว่าคณะซึ่งศึกษาอยู่ด้อยกว่าคณะอื่น ๆ การไม่ชอบทำกิจกรรม การจดคำบรรยายไม่ทัน การเกิดปัญหาส่วนตัวซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียน การจัดครูเข้าชั้นเรียนไม่เหมาะสมและปัจจัยในกลุ่มที่สองซึ่งประกอบด้วยเพศ วิทยาลัยที่ศึกษา การไม่สนใจเนื้อหาที่เรียน การที่รู้สึกว่าวิชาที่ศึกษายากเกินไป ข้อสอบยาก การช่วยทางบ้านในการประกอบอาชีพ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาทั้งแยกสาขาวิชาและรวมทุกสาขาวิชา พบว่าปัจจัยทางด้าน เพศ วิทยาลัยที่ศึกษา คะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การไม่สนใจเนื้อหาที่เรียน การที่รู้สึกว่าวิชาที่ศึกษายากเกินไป การที่ไม่ศึกษาค้นคว้าจากหนังสืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ความรู้สึกที่ว่าคณะซึ่งศึกษาอยู่ด้อยกว่าคณะอื่น ๆ การที่รู้สึกว่าวิชาที่ศึกษายากเกินไป ข้อสอบยาก การไม่ชอบทำกิจกรรม การจดคำบรรยายไม่ทัน การเกิดปัญหาส่วนตัว ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียน การจัดครูเข้าชั้นเรียนไม่เหมาะสม การช่วยทางบ้านในการประกอบอาชีพ เมื่อนำมาพิจารณาพร้อม ๆ กัน พบว่าเป็นปัจจัยที่สามารถนำมาจำแนกกลุ่มนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาและไม่สำเร็จการศึกษาออกจากกันได้ แต่เมื่อพิจารณาทั้งแยกสาขาวิชาและรวมทุกสาขาวิชาโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้แก่ ปัจจัยเดียวกับปัจจัยข้างต้น และการวิเคราะห์การถดถอยยังทราบอีกว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบกับการสำเร็จการศึกษานั้นเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ เกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ความรู้สึกที่ว่าคณะซึ่งศึกษาอยู่ด้อยกว่าคณะอื่น ๆ การไม่สนใจเนื้อหาที่เรียน การที่ไม่ศึกษาค้นคว้าจากหนังสืออื่น ๆ ข้อสอบยาก ความรู้สึกที่ว่าวิชาที่ศึกษายากเกินไป การมีปัญหาส่วนตัวซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียน การจดคำบรรยายไม่ทัน การช่วยทางบ้านในการประกอบอาชีพ วิทยาลัยที่ศึกษา เพศ การจัดครูเข้าชั้นเรียนไม่เหมาะสมและการไม่ชอบทำกิจกรรม จากการเปรียบเทียบการวิเคราะห์แบบจำแนกและการถดถอยพหุคูณปรากฏว่าผลของการวิเคราะห์ให้ผลสอดคล้องกันคือ ปัจจัยเกี่ยวกับคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพศ วิทยาลัยที่ศึกษามีผลกระทบในทิศทางเดียวกัน ส่วนปัจจัยอื่น ๆ มีทิศทางตรงข้ามและการเปรียบเทียบค่าร้อยละในการทำนายการสำเร็จการศึกษาได้ถูกต้องปรากฏว่าการวิเคราะห์การจำแนกข้อมูลสูงกว่าการวิเคราะห์การถดถอย ดังนั้น จึงสามารถทำนายการสำเร็จการศึกษาได้ถูกต้องแม่นยำกว่าการวิเคราะห์การถดถอย
Other Abstract: The purpose of this [research] is to find out the factors concerned with the characteristics of the educational success of private college students particularly in Bangkok. The sample population consisted of 703 students who started their enrollment in the academic year 1980. The data collected were based on interviewing each sample students by using mailed questionaires, together with the information gathered from the registration offices of each college. The study conducted by using various statistical methods has shown that sex, priority of school selection at the entrance examination, highest education and grade point average prior to the college enrollment, other residents, occupation and highest education of the parents or sponsors were significantly related to the characteristics of the students’ educational success. The students who failed in their education were likely to have more problems in their education than those who succeeded. The grade point average in secondary school level and undergraduate level of the successful students were found related to each other when considering each separate major students, students regardless of majors and groups of successful students. However, the unsuccessful students were excepted in this case. Using canonical analysis to study both separate major students, students regardless of majors and groups of successful students. However, the unsuccessful students were excepted in this case. Using canonical analysis to study both separate major students and students regardless of their majors has shown that the factors concerned with the characteristics of their educational success could be classified into two groups-one consisting of grade point average in secondary school level, the lack of [enthusiasm] in doing the study outside class and school activities, the feeling of inferiority of their schools or majors, the incapability of note-taking, personal problems, and unqualified lecturers, the other consisting of sex, educational institutions, lack of interest in subject content, the feeling of difficulty of the subjects and examination and family financial support. All were considered significantly related. Moreover, it was found that when the factors, including sex, educational institutions, grade point average in secondary school level, the lack of interest in subject content, the feeling of the difficulty of the subjects and examination, the lack of enthusiasm in college activities, the incapability of note-taking, personal problems, unqualified lecturers and family financial support, were studied by using the Discriminant Analysis, they could indicate the success or failure of the students’ education. But when the multiple regression analysis was employed in the study, the factors affecting the efficiency in higher education were the same as those mentioned previously. They were ranked respectively as the following: grade point average in secondary school level, the feeling of inferiority of their schools or majors, the lack of enthusiasm in studying outside class, the feeling of difficulty of the examination and subjects, personal problems, the incapability of [note taking], the family financial support, educational institutions, sex, unqualified lecturers and the lack of enthusiasm in college activities. It was also found that the results of the Discriminant Analysis and the Multiple Regression Analysis were [harmonious]. That is on one hand, the factors of grade point average in secondary school level, sex, educational institutions positively affected the educational success. On the other hand, the rest of all those factors had negative effect. However, it was found that the Discriminant Analysis gained higher percentage of [accuracy] in prediction of educational success than the Multiple Regression Analysis did.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25355
ISSN: 9745660795
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonporn_Bo_front.pdf5.57 MBAdobe PDFView/Open
Boonporn_Bo_Ch1.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Boonporn_Bo_Ch2.pdf16.66 MBAdobe PDFView/Open
Boonporn_Bo_Ch3.pdf30.66 MBAdobe PDFView/Open
Boonporn_Bo_Ch4.pdf6.79 MBAdobe PDFView/Open
Boonporn_Bo_back.pdf4.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.