Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงรัตน์ บุญญานุรักษ์-
dc.contributor.authorเรณู โรจนะสิริ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-22T13:10:13Z-
dc.date.available2012-11-22T13:10:13Z-
dc.date.issued2519-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25404-
dc.descriptionวิทยานิพธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบอาวุโส และองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบอาวุโส ของพยาบาล ระดับบริหาร ระดับประจำการ และระดับผู้ช่วยพยาบาล ตัวอย่างประชากรซึ่งคัดเลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเป็นพวก คือพยาบาลในแผนกพยาบาลของโรงพยาบาลศิริราช จำนวน 270 คน เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ซึ่งได้นำไปทดลองใช้ และปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรต่อไป แบบสอบถามเหล่านี้ได้รับกลับคืนมาครบ 270 ฉบับ และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าคะแนนเฉลี่ย และเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบอาวุโส โดยใช้ค่าที (t – test) วิเคราะห์ความแปรปรวน โดยการทดสอบค่าเอฟ (F – test) สรุปผลการวิจัย 1. จากการศึกษาถึงความสำคัญขององค์ประกอบเกี่ยวกับ ระบบอาวุโส พยาบาลระดับบริหาร ประจำการ และผู้ช่วยพยาบาล มีความเห็นตรงกันว่า องค์ประกอบที่สำคัญในระบบอาวุโส เรียงตามลำดับ 1 – 5 คือ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ประสบการณ์ คุณวุฒิ วัยวุฒิ และชาติตระกูล 2. เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยกับเกณฑ์ที่วางไว้ พบว่าระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบอาวุโสของพยาบาลทุกระดับ เมื่อจำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงานและวัยวุฒิ อยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ เมื่อพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบพบว่าความคิดเห็นของพยาบาลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในการปฏิบัติงานต่างกัน วัยวุฒิและระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน มีระดับความคิดเห็นในด้านของคุณวุฒิ และประสบการณ์ อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง สำหรับตำแหน่งหน้าที่ และวัยวุฒิอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ส่วนในเรื่องชาติตระกูล ระดับความคิดเห็นอยู่ในเกณฑ์ต่ำสุด 3. จากการทดสอบค่าที พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยความคิดเห็น เกี่ยวกับระบบอาวุโส โดยส่วนรวมของพยาบาลระดับวิชาชีพและระดับต่ำกว่าวิชาชีพ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมุติฐานที่วางไว้ สำหรับในแต่ละด้านขององค์ประกอบนั้นด้านชาติตระกูล พยาบาลมีความเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนองค์ประกอบด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นการปฏิเสธสมมุติที่วางไว้ 4. จากการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพยาบาล ซึ่งมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างๆ กัน พบว่าพยาบาลระดับประจำการและผู้ช่วยพยาบาล มีความเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยส่วนรวมและแต่ละองค์ประกอบ ซึ่งยอมรับสมมุติฐานที่วางไว้ สำหรับพยาบาลระดับบริหารที่มีระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่าง ๆ กันมีความคิดเห็นโดยส่วนรวม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ซึ่งยอมรับสมมุติที่วางไว้ ส่วนในแต่ละองค์ประกอบนั้น มีความแตกต่างกันเฉพาะในด้านคุณวุฒิด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปฏิเสธสมมุติฐานที่วางไว้ 5. จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าคะแนนเฉลี่ย โดยการทดสอบค่าเอฟเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบอาวุโสของพยาบาล ที่มีตำแหน่งและอายุต่าง ๆ กัน ความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบอาวุโสโดยส่วนรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งยอมรับสมมุติฐาน สำหรับในแต่ละด้านขององค์ประกอบนั้น พยาบาลที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะในด้านขององค์ประกอบเกี่ยวกับชาติตระกูล ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นการปฏิเสธสมมุติฐานที่วางไว้ และพยาบาลในตำแหน่งบริหารที่มีอายุต่าง ๆ กันนั้น มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะในเรื่องของคุณวุฒิ ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งปฏิเสธสมมุติฐานที่วางไว้-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to study and compare opinions concerning seniority of nurse administrators, staff nurses, and practical nurses. A sample was drawn at stratified random for 270 nurses from Nursing Department in Siriraj Hospital. The constructed questionnaire was tried-out and revised, then 270 copies of revised questionnaire were filled out completely by the samples. The Data were statistically analyzed by the analysis of the variance, and the differences between means were tested with the critical ratio. The Major Findings. 1. The nurses opinions about the priorities of the composition of seniority from the level 1 to 5 was (1) job position, (2) experience, (3) qualification, (4) age, and (5) lineage. 2. Opinion of nurses in Nursing Department was rather low level. The opinions about various composition of seniority regarding the qualification and an experience were middle level, job position and age was rather low level and the lineage was very low level. 3. There was no statistically significant difference in opinion between the professional nurses and unprofessional nurses by t-test at .05 level, in which the hypothesis was retained. In the various composition of seniority there was statistically significant difference only lineage at the level. .05, in which the hypothesis was rejected. 4. There was no statistically significant difference in opinion about the seniority and its composition between various job periods of staff nurses and practical nurses, at .05 level, in which the hypothesis was retained. In the group of nurse Administrator, there was statistically significant difference only a composition of seniority regarding the qualification tested by t-test at .05 level, in which the hypothesis was rejected. 5. There was no statistically significant difference in opinion among the three groups of staff nurses and practical nurses in the various Job position and group of ages by using F-test at .05 level, in which the hypothesis was retained. The opinions about the compositions of seniority, there was statistically significant difference only in lineage at .01 level. And there was statistically significant difference in the opinion about the composition of seniority among nurse administrator in various group of age only regarding the qualification, at .05 level, in which the hypothesis was rejected.-
dc.format.extent521376 bytes-
dc.format.extent627805 bytes-
dc.format.extent556515 bytes-
dc.format.extent318096 bytes-
dc.format.extent919553 bytes-
dc.format.extent916108 bytes-
dc.format.extent546064 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบอาวุโส ในการบริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลศิริราชen
dc.title.alternativeOpinions concernings seniority in nursing administration at Siriraj Hospitalen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Renu_Ro_front.pdf509.16 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ro_ch1.pdf613.09 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ro_ch2.pdf543.47 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ro_ch3.pdf310.64 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ro_ch4.pdf898 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ro_ch5.pdf894.64 kBAdobe PDFView/Open
Renu_Ro_back.pdf533.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.