Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25500
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุญมี เณรยอด | |
dc.contributor.author | บุญยง จารุจิตร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-23T04:05:34Z | |
dc.date.available | 2012-11-23T04:05:34Z | |
dc.date.issued | 2528 | |
dc.identifier.issn | 9745631876 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25500 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู เกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดี จากการจัดกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตการศึกษา 9 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดี จากการจัดกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตการศึกษา 9 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างประชากร 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 148 คน ครูปฏิบัติการสอน จำนวน 360 คน รวมเป็นจำนวนประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทั้งสิ้น 508 คน ซึ่งเลือกมาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัย ใช้แบบสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดี จากการจัดกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้สร้างขึ้นเอง และนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง มีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check List) และแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) จากแบบสำรวจที่ส่งไปจำนวน 508 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 492 ฉบับ หรือร้อยละ 96.85 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลนั้น ใช้ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องสมองกล (Computer) และใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางด้านสังคมศาสตร์ SPSS (Statistical Package for the Social Sciences) ของสถาบันบริการคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัย ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้พอสรุปได้ดังนี้ 1. เกี่ยวกับสภาพการจัดกิจกรรมนักเรียนในโรงเรียนในปีการศึกษา 2526 พบว่า กิจกรรมลูกเสือ หรือยุวกาชาด หรือเนตรนารี หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาดินแดน กิจกรรมส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ และกิจกรรมส่งเสริมวิชาการต่าง ๆ ในหลักสูตร โรงเรียนในกลุ่มตัวอย่างจัดดำเนินการทุกโรงเรียน กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย กิจกรรมศาสนา และกิจกรรมการใช้ห้องสมุด มากกว่าร้อยละ 95 ของโรงเรียนจัดดำเนินการ ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ จัดดำเนินการเป็นอันดับรอง ๆ ลงไป และกิจกรรมส่งเสริมการใช้สินค้าไทยเป็นกิจกรรมที่โรงเรียนจัดดำเนินการน้อยที่สุด 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแต่ละกิจกรรม พบว่ากิจกรรมลูกเสือ หรือยุวกาชาด หรือเนตรนารี หรือผู้บำเพ็ญประโยชน์ หรือรักษาดินแดน เป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้านการมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ในระดับมากที่สุด และก่อให้เกิดลักษณะความเป็นพลเมืองดีในด้านต่าง ๆ ในระดับมากเกือบทุกด้าน รวม 34 ด้าน ยกเว้นด้านการมีความกระตือรือร้นและมุ่งอนาคต ซึ่งก่อให้เกิดในระดับน้อย ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ ก่อให้เกิดลักษณะความเป็นพลเมืองดีในระดับมากได้เพียงบางลักษณะ เว้นแต่กิจกรรมส่งเสริมการใช้สินค้าไทย และกิจกรรมทัศนศึกษา ซึ่งก่อให้เกิดลักษณะความเป็นพลเมืองดีในระดับมากได้น้อยด้าน 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูเกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแต่ละลักษณะทั้ง 36 ด้าน พบว่า ลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้าน การมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย การมีความสามัคคี การมีสุขภาพจิตดี และด้านการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เป็นลักษณะความเป็นพลเมืองดีที่สามรถก่อให้เกิดขึ้นได้ในระดับมากถึง 6 และ 5 กิจกรรมตามลำดับ ส่วนลักษณะความเป็นพลเมืองดีด้านอื่น ๆ สามารถก่อให้เกิดขึ้นได้ในระดับมากในบางกิจกรรม 4. ในการวิเคราะห์ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครู พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในเกือบทุกกิจกรรมที่โรงเรียนจัดดำเนินการ ยกเว้นกิจกรรมการใช้ห้องสมุด กิจกรรมส่งเสริมการใช้สินค้าไทย กิจกรรมทัศนศึกษา และกิจกรรมส่งเสริมวิชาการต่าง ๆ ในหลักสูตร ซึ่งผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน | |
dc.format.extent | 534715 bytes | |
dc.format.extent | 792314 bytes | |
dc.format.extent | 2099737 bytes | |
dc.format.extent | 540748 bytes | |
dc.format.extent | 2480936 bytes | |
dc.format.extent | 1219837 bytes | |
dc.format.extent | 1381611 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครู เกี่ยวกับลักษณะความเป็นพลเมืองดีจากการจัดกิจกรรมนักเรียน ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตการศึกษา 9 | en |
dc.title.alternative | Opinions of school administrators and teachers concerning citizenship characteristics derived from organizing student activity programmes in the upper secondary schools in educational region nine | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Boonyong_Ja_front.pdf | 522.18 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyong_Ja_ch1.pdf | 773.74 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyong_Ja_ch2.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyong_Ja_ch3.pdf | 528.07 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyong_Ja_ch4.pdf | 2.42 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyong_Ja_ch5.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Boonyong_Ja_back.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.