Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25524
Title: การบังคับใช้โทษอาญาภายใต้พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
Other Titles: The criminal sanction under trade competition act b.e. 2542
Authors: ฐานัญญา หนุมาศ
Advisors: ปารีณา ศรีวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มีเจตนารมณ์ในการป้องกันการ กระทำอันเป็นการผูกขาดและส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม ดังนั้น จึงกำหนดมาตรการที่สำคัญ 5 ประการ คือ การใช้อำนาจเหนือตลาด การควบรวมกิจการ การจำกัด ทางด้านการค้า การควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบการ และการแข่งขันทางการค้าโดยไม่เป็นธรรม โดยที่กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้ผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวต้องรับโทษทางอาญาใน รูปของโทษจำคุกและโทษปรับ โดยทั่วไปแล้ว โทษทางอาญานั้นมุ่งที่จะดำเนินการกับเนื้อตัวร่างกายของ ผู้กระทำความผิดเป็นสำคัญ แต่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติเกิดจากการดำเนินธุรกิจ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงความเหมาะสมในการนำโทษอาญามาใช้สำหรับความผิดที่เกิดจาก การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผลจากการศึกษาพบว่า โทษอาญาตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 นั้นไม่มีความจำเป็นและไม่เหมาะสมกับลักษณะของความผิดทางเศรษฐกิจ การลงโทษ ผู้ประกอบการที่กระทำความผิดโดยการจำคุกนั้น มิได้เป็นการเยียวยาความเสียหายจากสภาพการ ผูกขาดที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง และในทางกลับกันพบว่าผู้ประกอบการที่กระทำความผิดกลับถูกสังคมมอง ว่าเป็นอาชญากรเช่นเดียวกับผู้การกระทำความผิดทางอาญาอื่นๆ ผลเสียที่ตามมาคือเพราะ ผู้ประกอบการไม่กล้าที่จะทำการแข่งขันเพราะเกรงว่าจะได้รับโทษทางอาญา ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจไม่ เจริญเติบโตเท่าที่ควร ผู้เขียนขอเสนอแนะว่าควรทบทวนและแก้ไขบทลงโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติ การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยการกำหนดโทษอาญาเฉพาะใน บางความผิดที่มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างร้ายแรงเท่านั้น ดังเช่น มาตรการเกี่ยวกับ การใช้อำนาจเหนือตลาด (มาตรา 25) และการกระทำอันเป็นการจำกัดทางการค้าในบางประเภท (มาตรา 27(1)-(4)) เพื่อให้การบังคับกฎหมาย ตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้าเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและยังเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐในการส่งเสริมทางการแข่งขันการค้าของประเทศ ต่อไป
Other Abstract: The paramount objective of the Trade Competition Act, B.E. 2542 is to prevent a trade monopoly and to promote a fair competition in the commercial arena. To achieve the goal the statute provides 5 measures: an abuse of dominance position, a mergence, restraints of trade, a control of entrepreneurs' behaviour, unfair trade practices etc. Violators are subject to certain penalties including jail sentence and fine. The jail sentence aims to deal with body of the offenders provided in the act arise from the business operation. Thus, the focus of this thesis is to study the suitability to apply criminal sanctions in a business operation. The results of this research show that the criminal sanctions provided by the act are not necessary and suitable for dealing with offences relating to business operation. Although the entrepreneurs who have committed such offences are given a jail sentence, the damage caused by their action in the market cannot be reduced. On the other hand, the offender are stigmatized and considered criminals as violent as offenders of other crimes. As a result, some entrepreneurs may not be so active in trade competition for fear of being subject to criminal sanctions. The author suggests legal amendments that impose criminal sanctions in a case of certain offences that produce serious effects to the national economy only. For example, an abuse of dominance position (section 25) and restraints of trade (section 27(1)-(4)). The new legal provision will help promoting the trade competition is of the main purpose of this statute.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25524
ISBN: 9745310972
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thananya_ha_front.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open
Thananya_ha_ch1.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open
Thananya_ha_ch2.pdf10.34 MBAdobe PDFView/Open
Thananya_ha_ch3.pdf14.45 MBAdobe PDFView/Open
Thananya_ha_ch4.pdf6.33 MBAdobe PDFView/Open
Thananya_ha_ch5.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Thananya_ha_back.pdf21.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.