Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25530
Title: | การควบคุม ตรวจสอบ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารตามรัฐธรรมนูญในการบังคับฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด |
Other Titles: | The control and inspection administrative authority in compulsory of narcotic addicts rehabilitation |
Authors: | สุวิชาญ รักษ์รตนากร |
Advisors: | เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ วีระพงษ์ บุญโญภาส |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Issue Date: | 2547 |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งที่จะศึกษามาตรการทางกฎหมายในการบังคับฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ที่ให้อำนาจแก่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร มีอำนาจดังเช่นองค์กรตุลาการ อาจขัดหรือแย้งต่อหลักความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องหามาตรการ ควบคุมตรวจสอบ การกระทำขององค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร และแนวทางในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่บำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด จากการศึกษาพบว่า กฎหมายฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด เป็นมาตรการทางกฎหมายที่ตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยถือว่าผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด อยู่ในฐานะผู้ป่วยไม่ใช่อาชญากร สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เลิกใช้ยาเสพติดและสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข รวมทั้งลดปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด แต่การดำเนิการตามกระบวนการของกฎหมายได้ให้อำนาจแก่คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดซึ่งเป็นองค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร ในการพิจารณาสั่งควบคุมตัวผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดในขั้นตอนการขยายเวลาการตรวจพิสูจน์การเป็นผู้เสพหรือผู้ติดยาเสพติด และการควบคุมตัวเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเป็นการกำจัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล โดยขัดแย้งกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ที่บัญญัติให้เป็นอำนาจขององค์กรตุลาการเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลไม่ให้ถูกล่วงละเมิดจากการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายในการบังคับฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ดังนั้น ควรมีการแก้ไข ปรับปรุง พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ และเสริมสร้างแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้การบังคับฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดรวมทั้ง ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติด |
Other Abstract: | This thesis emphasizes on the study of the legal measures in compulsory rehabilitation of drug addicts under the Narcotics Addict Rehabilitation Act B.E. 2545. The act empowers the sub-committee of narcotics addict rehabilitation, an administrative government agency, to have a judicial power equally to other judicial organizations, which may be unconstitutional. Therefore, the measurement in controlling and monitoring of any actions taken by administrative government agencies as well as guidelines to protect rights and liberties of addicts who undergo treatment and rehabilitation are needed to be set up. According to the study, it was found out that the Narcotics Addict Rehabilitation Act B.E. 2545 is considered to be a legal measure to solve the national drug problem. It classifies drug addicts as patients, not criminals, because, as they quit drugs, their behaviors can be changed and thus they can live within the society peacefully. This is one way to lessen the drug epidemic. However, the existing law empowers the sub-committee to be able to exercise their judgments in detaining drug users or addicts during the expanded proof time of being real drug users or addicts as well as in case of drug rehabilitation, which is restriction to the rights and liberties of Thai citizens. This is unconstitutional to the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 which empowers judicial organizations for protection of the rights and liberties of the people from any distorted illegal actions in compulsory rehabilitation of drug addicts. As a consequence, it is suggested that the Narcotics Addict Rehabilitation Act B.E. 2545 should be revised and amended in accordance with the Constitution of the Kingdom of Thailand so as to strengthen the compulsory rehabilitation of drug addicts to be more effective and efficient in solving the drug problem, together with protect the rights and liberties of drug addicts. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25530 |
ISBN: | 9741768281 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suvicharn_ra_front.pdf | 3.89 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvicharn_ra_ch1.pdf | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvicharn_ra_ch2.pdf | 17.74 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvicharn_ra_ch3.pdf | 21.72 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvicharn_ra_ch4.pdf | 15.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvicharn_ra_ch5.pdf | 5.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suvicharn_ra_back.pdf | 7.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.