Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25697
Title: ความสามารถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัย ชั้นปีที่หนึ่ง
Other Titles: The ability of University freshmen in using English idioms
Authors: ดียู ปาลีคุปต์
Advisors: สุมิตรา อังวัฒนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการคือ เพื่อศึกษาความสามรถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1 และเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัย วิธีการดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้คัดเลือกสำนวนจากแบบเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยชั้นปีที่หนึ่งที่เป็นตัวอย่างประชากร ตลอดทั้งรวบรวมสำนวนที่นักศึกษาได้เรียนรู้มาแล้วจากระดับมัธยมศึกษา จำนวน 100 สำนวน มาสร้างเป็นแบบสอบความสามารถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษ 1 ฉบับ เป็นข้อสอบแบบปรนัย 100 ข้อข้อสอบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ทดสอบเข้าใจความหมาย 40 ข้อ (40 สำนวน) และ ส่วนที่ทดสอบความสามารถในการนำสำนวนไปใช้อีก 60 ข้อ (60 สำนวน) ตัวอย่างประชากรเป็นนักศึกษาทั้งชายและหญิง ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2519 ในสาขาวิชาต่างๆ ในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในคณะต่างๆ ในมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยละ 80 คน รวมทั้งหมด 320 คน ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำคะแนนที่ได้จากแบบสอบมาหาค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ ค่าเฉลี่ยค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละของนักศึกษาที่ใช้สำนวนแต่ละสำนวนถูกต้อง นอกจากนี้ยังได้ทดสอบความแตกต่างด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน และทดสอบค่า Z ผลการวิจัย 1.ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามรถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนักศึกษาทั้งหมดเท่ากับ 62.62 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 14.79 ค่าเฉลี่ยของคะแนนของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่ากับ 66.85 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 16.29 ค่าเฉลี่ยขิงมหาวิทยาลัยศิลปากร เท่ากับ 63.89 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.38 ค่าเฉลี่ยของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เท่ากับ 63.64 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 15.60 และค่าเฉลี่ยของคะแนนของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นเท่ากับ 56.09 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.13 2.ความสามารถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนักศึกษาแต่ละสถาบันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ความสามารถในการใช้สำนวนภาษาอังกฤษของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร และของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แต่ความสามารถของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นแตกต่างจากความสามารถของนักศึกษามหาวิทยาลัยอื่นทั้งหมดที่มีนัยสำคัญระดับเดียวกัน 3.นักศึกษาร้อยละ 50 ขึ้นไป สามารถทำแบบทดสอบภาษาอังกฤษส่วนใหญ่ได้ถูกต้อง สำนวนที่นักศึกษาใช้ได้ถูกต้องมากที่สุดคือสำนวน “on time” สำนวนที่นักศึกษาใช้ได้ถูกต้องน้อยที่สุดคือสำนวน “get into trouble” สำนวนที่นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้ถูกต้องเป็นสำนวนที่นักศึกษาได้เรียนรู้มาแล้วตั้งแต่มัธยมศึกษา
Other Abstract: Purposes The purposes of this study were to examine the university freshmen’s ability to use English idioms, and to compare their ability in using them. Procedures English idioms found in the English texts used by the samples of university freshmen were systematically selected as well as the idioms previously learned at the secondary school level so as to construct a test measuring the ability in using English idioms. The test consisted of two main parts : the first one measured the students' apprehension of the meanings of idioms whereas the second one measured their ability to use the test idioms in context. The test had been pretested before being administered to 320 freshmen, randomly, and equal) selected from all departments in the Faculty of Education, Chulalongkorn University, and from all faculties at Silpakorn University, Chieng Mai University and Khon Kaen University. The results were then interpreted in terms of statistical means, standard deviations, reliability coefficients, analysis of variance, the z - values, and the percentage of the students using each idiom correctly. Results 1. The mean score for all the university freshmen in using English idioms was 62.62 with a standard deviation of 14.79. The mean score for Chulalongkorn University students was 66.85 with a standard deviation of 1629. The mean score for Silpakorn University students was 63.89 with a standard deviat=':.on of 13,38. The mean score for Chieng Mai University students was 63.64 with a standard deviation of 15.6 C. And the mean score for Khon Kaen University students was 56.09 with a standard deviation of 11.13. 2. The difference in ability of the students from each university in using English idioms was significant at .01 level. Although the ability of the students from Chulalongkorn, Silpakorn, and from Chieng Mai Universities was not significantly different at .01 level, the ability of Khon Kaen University students differed from that of the students from all the other universities at the samelevel of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25697
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Deeyoo_Pa_front.pdf478.64 kBAdobe PDFView/Open
Deeyoo_Pa_ch1.pdf534.88 kBAdobe PDFView/Open
Deeyoo_Pa_ch2.pdf632.46 kBAdobe PDFView/Open
Deeyoo_Pa_ch3.pdf612.6 kBAdobe PDFView/Open
Deeyoo_Pa_ch4.pdf671.33 kBAdobe PDFView/Open
Deeyoo_Pa_ch5.pdf610.36 kBAdobe PDFView/Open
Deeyoo_Pa_back.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.