Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25713
Title: ความต้องการรายการวิทยุกระจายเสียงสำหรับการศึกษาของประชาชน ในภาคกลาง
Other Titles: Demand for educational radio programs of people in Central region
Authors: ชัยโรจน์ บุญญานุวัตร
Advisors: ประศักดิ์ หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสำรวจความต้องการ ความนิยม และความคิดเห็น ตลอดจนประโยชน์ที่ได้จากการฟังรายการวิทยุกระจายเสียงของประชาชนในภาคกลาง 2. เพื่อสำรวจปริมาณเวลาของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศ ณ สถานีวิทยุกระจายเสียงในภาคกลาง 3. เพื่อเปรียบเทียบความต้องการรายการวิทยุกระจายเสียงของประชาชนกับปริมาณเวลาของรายการที่สถานีวิทยุออกอากาศว่าสอดคล้องกันเพียงใด วิธีดำเนินการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างประชากร คือประชาชนในภาคกลาง การสำรวจภาคสนามกระทำโดยออกแบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการ ความนิยม ความคิดเห็นและประโยชน์ที่ประชาชนได้จากการฟังรายการวิทยุกระจายเสียง 2. ปริมาณรายการวิทยุกระจายเสียงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2518 จากเอกสาร ผังกระจายเสียง การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่สถานีวิทยุ และจากการฟังรายการ ผลการวิจัย 1. ประชาชนนิยมฟังรายการบันเทิง ข่าว และความรู้ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.79, 3.71 และ 3.17 ตามลำดับ 2. รายการที่สถานีวิทยุส่งกระจายเสียงในภาคกลาง แบ่งเป็น 3 ประเภท เรียงลำดับตามความมากน้อยดังนี้ รายการบันเทิง ความรู้ และข่าวคิดเป็นร้อยละ 43.05, 22.22 และ 21.34 3. ประชาชนให้ข้อคิดเห็นว่ารายการวิทยุกระจายเสียง ควรมีเนื้อหาที่ส่งเสริมความรู้อันเป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของประชาชนให้มากขึ้น นอกจากนี้ควรมีการปรับปรุงระบบเสียงให้ดีขึ้น 4. ปรากฏว่าได้มีการออกอากาศรายการด้านศาสนา ภาษาและวรรณคดี ละครวิทยุ เพลงไทยสากล และเพลงสากลมากเกินความต้องการ ในขณะที่บางรายการซึ่งประชาชนต้องการมาก ได้แก รายการข่าวพยากรณ์อากาศ ข่าวเหตุการณ์ในท้องถิ่น และรายการความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม มีไม่พอกับความต้องการของประชาชน 5. ค่าสหสัมพันธ์จากตำแหน่งคะแนน ระหว่างค่าเฉลี่ยของความต้องการรายการวิทยุกระจายเสียงของประชาชน กับค่าร้อยละของรายการวิทยุกระจายเสียงที่ออกอากาศมีความสัมพันธ์กันปานกลาง ข้อเสนอแนะ 1. สถานีวิทยุกระจายเสียงทั้งหมดในภาคกลาง ควรรวมกัน มีศูนย์รวมเพื่อจัดทำรายการและแบ่งเวลาของรายการให้เหมาะสมกับความต้องการ ความนิยม และเวลาฟังรายการวิทยุกระจายเสียงของประชาชน 2. รายการความรู้ที่สถานีวิทยุออกอากาศเกินความต้องการของประชาชน ควรมีการปรับปรุงโดยจัดเนื้อหาให้น่าสนใจยิ่งขึ้น หรือลดเวลาลงให้เหมาะกับความต้องการ แล้วเอาเวลาไปเพิ่มให้กับรายการอื่นที่ประชาชนต้องการมากกว่า ส่วนรายการบันเทิงควรสอดแทรกความรู้ด้านการประกอบอาชีพให้มากขึ้น 3. ภาษาและศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้ในบางรายการ เช่น รายการข่าวพยากรณ์อากาศ ซึ่งเป็นภาษาที่ชาวไร่ชาวนาทั่วไปไม่เข้าใจ ควรเปลี่ยนไปใช้ภาษาง่าย ๆ แทน เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนส่วนใหญ่ของภาค
Other Abstract: Purpose: 1. To find out the demands, popularity, attitudes as well as benefits from the existing radio programs listened by the people in Central Region. 2. To find out the quantity in terms of time allotted in radio programs provided by the radio stations in Central Region. 3. To compare the public demands for radio programs with those broadcast by the radio stations whether both are in reasonable balance. Procedures: 1. The samples consisted of people in Central Region. The field research was conducted through questionnaires dealing with demands, popularity, attitudes and benefits that the audience gained from the programs. 2. The collection of data was by documentation, interview and listening to those programs mainly based on December, 1975 unpublished materials from radio stations. Results: 1. The ordinary listeners were most interested in listening to entertainment programs, news broadcasting and some knowledgeable pieces with means of 3.79, 3.71 and 3.17 respectively. 2. The distributed programs in Central Region needed by the audience were classified into three categories respectively: as entertainment programs, knowledge and news with the percentage of 43.05, 22.22 and 21.34. 3. The audience suggested that radio programs should be more in formative on broadening the horizon of the audience in everyday life. Besides, the sound system should be improved. 4. It was concluded that a great excess of broadcasting programs, for example, of religions, language and literature, plays, Thai songs and pop songs have been utilized. Whereas those which are of greater demand like weather forecasts, local news and knowledge about art and culture have not been up to their demands. 5. Rank correlation between means of demand for radio programs and percentage of programs broadcasting were moderate. Suggestions: 1. All radio stations in Central Region should merge into a single institute so that programming and timing can be arranged to suit the public needs, tastes and listening periods. 2. The information which has become excessive in some cases should be improved to interest the public more, or time could be reduced. Such time could be added to the programs that people have more interest. Entertainment periods could have intervened more professional knowledge necessary to them. 3. As some technical terms used in, for example, weather forecast programs, specially common agriculturists have a difficult time to understand. More simplified language should be encouraged to be broadcast, so it will benefit most people in the region.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25713
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chairoj_Bo_front.pdf463.05 kBAdobe PDFView/Open
Chairoj_Bo_ch1.pdf473.48 kBAdobe PDFView/Open
Chairoj_Bo_ch2.pdf418.81 kBAdobe PDFView/Open
Chairoj_Bo_ch3.pdf528.42 kBAdobe PDFView/Open
Chairoj_Bo_ch4.pdf988.29 kBAdobe PDFView/Open
Chairoj_Bo_ch5.pdf563.18 kBAdobe PDFView/Open
Chairoj_Bo_back.pdf801.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.