Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25969
Title: โครงการธนาคารข้าว : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: Rice bank program : a case study of Amphoe Phen, Udon Thani Province
Authors: สฤษดิ์ ไสยโสภณ
Advisors: วิทยา สุจริตธนารักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2525
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในชนบทเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการพัฒนาประเทศ ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การการเมืองและการปกครอง การพัฒนาชนบทเป็นวิธีการปรับปรุงมาตรฐานในการดำรงชีวิตของประชาชนในชนบทให้สามารถช่วยตนเองได้ โดยอาศัยความร่วมมือจากรัฐบาล ข้าราชการ และประชาชน โครงการธนาคารข้าวเป็นโครงการหนึ่งในการพัฒนาชมบทเพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนข้าวบริโภคในระดับหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านนำข้าวไปฝากไว้กับธนาคารข้าว เพื่อให้ผู้ที่ขาดแคลนข้าวกู้ยืมโดยเสียดอกเบี้ยต่ำและผู้ฝากจะได้ผลตอบแทนส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งเป็นทุนของธนาคารข้าวเพื่อดำเนินการต่อไป วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มุ่งศึกษาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทำให้การจัดตั้งและการดำเนินการของโครงการธนาคารข้าวประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว ตลอดจนวิเคราะห์ผลจากการนำโครงการมาใช้ในการปฏิบัติว่ามีอุปสรรคและปัญหาประการใดบ้าง อันจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงโครงการธนาคารข้าวให้มีประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ จากการศึกษาวิจัยพบว่า โครงการธนาคารข้าวได้รับการยอมรับและเห็นความสำคัญจากชาวบ้านส่วนใหญ่ ความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของธนาคารข้าวมีผลจากปัจจัยต่าง ๆ คือ บทบาทของข้าราชการในการจัดตั้งและสนับสนุนโครงการ ความสามารถของผู้นำในท้องถิ่น ลักษณะการทำงานของกรรมการธนาคารข้าวและการสนับสนุนของชาวบ้าน สำหรับปัญหาและอุปสรรคพบว่าเกิดจากลักษณะการจัดตั้งธนาคารข้าวของข้าราชการที่ไม่สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น ปัญหาเรื่องความพร้อมของชาวบ้านทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสภาพการเมืองภายในหมู่บ้าน ปัญหาการทำงานของผู้นำท้องถิ่นที่ขาดความสามารถและการเอาใจใส่ในการทำงาน ปัญหาการขัดแย้งภายในหมู่กรรมการธนาคารข้าวเอง และอุปสรรคจากชาวบ้านบางส่วน โดยเฉพาะชาวบ้านที่มีฐานะดีไม่ให้ความร่วมมือเท่าที่ควร แนวทางแก้ไขปัญหาคือ การปรับนโยบาย การสนับสนุนทางด้านงบประมาณจากรัฐบาล การจัดฝึกอบรม การจัดอัตรากำลัง การประสานงาน การติดตามผลและประเมินผล ส่วนการแก้ไขในระดับหมู่บ้านทำได้โดยการฝึกอบรม การปรับปรุงการทำงานของผู้นำและกรรมการ การพบปะและการประชุมร่วมกันของชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่ และการเลือกตั้งกรรมการเป็นระยะ เป็นต้น อนึ่ง โครงการธนาคารข้าวยังขาดความเหมาะสมในเรื่องการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างชาวบ้านกลุ่มต่าง ๆ ที่สำคัญในพื้นที่ที่มีปัญหาด้านเศรษฐกิจภายในหมู่บ้าน ควรมีการศึกษาและเลือกสรรโครงการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการและความพร้อมของชาวบ้านเป็นสำคัญ ดังนั้น จึงควรจัดตั้งธนาคารข้าวในพื้นที่ที่มีปัจจัยต่าง ๆ ในการดำเนินงานพร้อม เพื่อให้โครงการธนาคารข้าวมีโอกาสประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อชาวบ้านอย่างแท้จริง.
Other Abstract: Thailand is an agricultural country the majority of the population of which lives in rural areas. In developing the country economically, socially and politically, rural areas must be taken into account. Developing rural areas in such a way that rural population may be able to help themselves, requires cooperation from the Government, bureaucrats and the people. Rice bank is a program of rural development aiming at solving shortage at the village level. Basic idea in mutual deposit of rice with the village rice bank. Those who do not have enough rice to consume may borrow at low interest while depositors may get some profit. However, there must always be rice reserved in the bank. This thesis aims at studying factors which make the rice bank a success or failure. It analyses the consequences of the implementation of the program. From problems encountered, solutions are suggested to improve the rice bank operation. It is found out from the study that villagers appreciate the virtue of the rice bank. Yet, success or failure of the rice bank depends on various factors : role of bureaucrats in establishing and supporting the program, ability of the local leadership; working behavior of the rice bank committee members.; as well as support from villagers at large. Problems encountered are : local conditions not suitable for a rice bank operation yet, villagers not fully prepared; inability and lock of interest of local leaders; conflicts within committee members of the rice bank, and less than enthusiastic support from the well-off villagers. Suggested corrections are : adjustment of government policy; budget support from the government; orientation activity; personnel, coordination, and follow up. As far as villagers are concerned, what can be done center around orientation, improving working behavior between local officials and villagers, and recurrent election of committee members. As it stands now, the rice bank is unable to incorporate divergent interests within the village especially the area where economic conditions are not favourable. Rural development program must suit local need and local people are prepared for it . As such the rice bank should be selectively established at appropriate location so that villagers will truly benefit from it.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25969
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srit_Sa_front.pdf657.93 kBAdobe PDFView/Open
Srit_Sa_ch1.pdf987.41 kBAdobe PDFView/Open
Srit_Sa_ch2.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Srit_Sa_ch3.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Srit_Sa_ch4.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open
Srit_Sa_ch5.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Srit_Sa_back.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.