Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26073
Title: การศึกษาเปรียบเทียบวิธีประมาณค่าพารามิเตอร์ ในฟังก์ชั่นการแจกแจงแบบปกติที่ค่าไคสแควร์ จากการทดสอบสภาวะสาสารูปสนิทดีมีค่าต่ำสุด
Other Titles: A comparative study on the methods of estimating parameters of the normal distribution giving minimal chisquare (X2) value in the goodness of fit test
Authors: วิไลพร ธรรมเนียมอินทร์
Advisors: กฤษณา เพ็ชรรัตน์
ชวลิต ทิสยากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2524
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาลักษณะของข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) นั้น เรามักจะเริ่มต้นด้วยการสร้างกราฟอิสโตแกรมของข้อมูล เพื่อดูลักษณะการแจกแจงของข้อมูลโดยคร่าว ๆ เสียก่อน แล้วคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ของข้อมูลโดยใช้สูตร µ = (สมการ) และσ= (สมการ) จากนี้จึงจะคำนวณหาค่า X² จากสูตร X² = (สมการ) ซึ่ง O [subscript i]เป็นค่าความถี่ในช่วงที่ i ของข้อมูล (observed Frequency) E[subscript i]เป็นค่าคาดหวังของข้อมูล (Expected Frequency) และ E[subscript i]= (สมการ) ขั้นตอนการคำนวณหาพารามิเตอร์ของข้อมูลดังกล่าวข้างบนนี้เป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันโดยแพร่หลาย (Convention Method) ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า “การทดสอบภาวะสารูปสนิทดี” (Goodness of fit test) และเป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อค่า X² ที่คำนวณได้นี้มีค่ายิ่งต่ำยิ่งดี เพราะหมายถึงว่าO [subscript i]เป็นจะเข้าใกล้ E[subscript i] มากที่สุดด้วย และโอกาสที่ค่า X² ที่คำนวณได้นี้จะต่ำกว่าค่า X² ที่เปิดจากตารางย่อมจะมีมากขึ้นด้วย นั่นคือ จะช่วยลดความผิดพลาดแบบที่ 1(Type – I – Error) ให้น้อยลงได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงถึงการใช้ Univariate Search (เป็น Optimization Technique วิธีหนึ่งที่รู้จักกันเป็นที่แพร่หลาย) คำนวณหาค่าประมาณของพารามิเตอร์…..และ S* ที่จะให้ค่า X² ต่ำสุดได้ และจากการทดลองใช้ Univariate Search กับข้อมูลที่มีการแจกแจงแบบปกติ (Normal Distribution) ซึ่งสุ่มตัวอย่างมาจำนวน 80 ชุดนั้นเราพบว่ามีจำนวนความผิดพลาดแบบที่ 1 (Type - I - Error) ได้ลดลงตามต้องการ เป็นที่น่าสนใจว่า X² (X‾ *, S*) ต่ำสุดที่คำนวณได้นี้ จะมีผลกระทบต่อคุณภาพของประชากรหรือไม่ ซึ่งวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ใช้ t – test ทำการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวประมาณค่าของพารามิเตอร์ (X‾ *, S*) และตัวพารามิเตอร์ (µ ,σ ) ของประชากรเดิมปรากฏผลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: In conducting a study on Normal Distribution Data, we normally begin by drafting a rough histogram of the data. Then, we proceed to compute important parameters of the data utilizing formula µ =(equation) And σ=(equation)From here on, we also compute X² from X²=(equation) where O [subscript i]represents 0bserved Frequency of the ith. Interval, E[subscript i]is the Expected Frequency and E[subscript i]= (สมการ) The above conventional Procedures are employed to compute parameters of the Normal Distribution Data under studied and is called “Goodness of Fit Test”. It is well known that this conventional X² indicates how O [subscript i] approades E[subscript i] which also implies reducing Type-I-Error. In other words,lower X² value is always preferred. This thesis showed how to use a popular optimization technique named “Univariate Search” in computing X‾* and S* which yields minimized X² About 80 sets Computer Generated Normal Distribution Data has been tested by Univariated Search Technique. Type-I-Error is found to decrease as desired. By using Student t-test, research results indicate no significant deviation between estimated (X‾* , S*) and (µ , σ) of the assumed main population.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26073
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wilaiporn_Th_front.pdf443.45 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiporn_Th_ch1.pdf689.08 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiporn_Th_ch2.pdf794.97 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiporn_Th_ch3.pdf667.16 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiporn_Th_ch4.pdf944.56 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiporn_Th_ch5.pdf275.51 kBAdobe PDFView/Open
Wilaiporn_Th_back.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.