Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26317
Title: ความต้องการพัฒนาสมรรถภาพในการปฏิบัติการสอนของครูประถมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Needs to develop teaching competencies of the elementary school teachers in Bangkok Metropolis
Authors: สุภา ศีลสร
Advisors: ดิเรก ศรีสุโข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถภาพในการปฏิบัติการสอนของครูประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพส่วนตัว ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียนกับความต้องการพัฒนา สมรรถภาพในการปฏิบัติการสอน 4 ด้านคือ ด้านการใช้หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านการสอนโดยทั่วไป ด้านการสอนและการจัดกิจกรรมเฉพาะ ด้านการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี การฝึกและจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างเป็นครูประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 505 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความต้องการพัฒนาสมรรถภาพในการปฏิบัติการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย [x-bar] และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เป็นรายข้อ วิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (Multiple Correlation) และสร้างสมการพยากรณ์ ความต้องการพัฒนาสมรรถภาพด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS. ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร มีความต้องการพัฒนาสมรรถภาพในการปฏิบัติการสอนทุกสมรรถภาพในระดับมีความต้องการพัฒนามาก 2. ตัวพยากรณ์ทั้ง 3 กลุ่ม คือสถานภาพส่วนตัว ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียน มีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาสมรรถภาพในการปฏบัติการสอนทุกสมรรถภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสหสัมพันธ์พหุคูณอยู่ระหว่าง .326 ถึง .505 กลุ่มบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียนเป็นกลุ่มตัวพยากรณ์ที่มีนัยสำคัญสามารถพยากรณ์ความต้องการพัฒนาสมรรถภาพในการปฏิบัติการสอนได้มากกว่ากลุ่มตัวพยากรณ์อื่นๆ 3.สมรรถภาพที่ครูประถมศึกษาระบุว่าควรจัดให้มีการพัฒนาโดยเร่งด่วนภายใน 2 ปี คือ สมรรถภาพในเรื่องการสร้างวินัยให้แก่เด็ก การวัดและประเมินผล การผลิตและการใช้สื่อการสอน การเลือกใช้วิธีสอนให้เหมาะสม การสอนซ่อมเสริม การสอนจริยธรรม การจัดศูนย์การเรียน และการฝึกประชาธิปไตยให้แก่เด็ก นอกจากนี้ยังมีสมรรถภาพที่น่าสนใจซึ่งครูระบุให้ความสำคัญรองลงมาคือ การสอนทักษะทางดนตรีและนาฏศิลป์ การสอนทักษะทางคณิตศาสตร์ และการสอนกลุ่มประสบการณ์พิเศษ (การสอนภาษาต่างประเทศ) ส่วนสมการพยากรณ์ความต้องการพัฒนาสมรรถภาพซึ่งมีทั้งหมด 58 สมการนั้น ผู้วิจัยได้เสนอรายละเอียดไว้ในรายงานการวิจัยด้วย ผลการวิจัยครั้งนี้ เสนอแนะให้สถาบันการฝึกหัดครูร่วมมือกันจัดบริการฝึกอบรมและสร้างเสริมสมรรถภาพให้แก่ครูประถมศึกษาทั้งโครงการระยะเร่งด่วน และโครงการระยะยาว
Other Abstract: The purpose of this research was to study the elementary school teachers’ needs to develop teaching competencies. It surveyed the teachers’ needs for 58 competencies and also analyzed the relationship between the teachers’ background, teaching experience. school academic climate and the needs to develop the teaching competencies by the multiple regression model. The subjects of 505 elementary school teachers were randomly sampled from schools in Bangkok. The questionnaires on needs to develop teaching competencies were used to collect the data. The findings were as follows :- 1. The Bangkok elementary school teachers rated all competencies as needing to be developed at the high level. 2. All needs can be predicted by three groups of predictor variables. Fifty-eight multiple correlations were significant with magnitudes between .326 and .505. It was also found that the group of variables concerned with school academic climate could predict teacher needs better than the other groups of predictor variables 3. The competencies that elementary school teachers need to develop urgently within the first 2 years were fostering student discipline, measurement and evaluation, the use and production of teaching aids, knowledge of selecting appropriate methods of teaching, remedial teaching, teaching of ethics, learning center activities and training students in democratic practices. The results, thus, suggested that teachers’ training institutions should cooperate with one another to provide training services on the teaching competencies for elementary school teachers. It is obvious that there should be a type of short course and intensive training.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26317
ISBN: 9745627216
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supa_Se_front.pdf386.79 kBAdobe PDFView/Open
Supa_Se_ch1.pdf393.29 kBAdobe PDFView/Open
Supa_Se_ch2.pdf762.95 kBAdobe PDFView/Open
Supa_Se_ch3.pdf339.06 kBAdobe PDFView/Open
Supa_Se_ch4.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Supa_Se_ch5.pdf436.16 kBAdobe PDFView/Open
Supa_Se_back.pdf957.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.