Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26640
Title: การวิเคราะห์วัฒนธรรมอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาไทย
Other Titles: An analysis of faculty culture in thai higher education institutions
Authors: สุนทราวดี เธียรพิเชฐ
Advisors: วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
พรชุลี อาชวอำรุง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบวัฒนธรรมอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาไทยและวิเคราะห์วัฒนธรรมอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาไทย องค์ประกอบของวัฒนธรรมอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาไทยที่พบในผลการวิจัยนี้มี 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัฒนธรรมอาจารย์นักวิชาการและบริการสังคม 2) วัฒนธรรมอาจารย์รักสถาบัน 3) วัฒนธรรมอาจารย์มุ่งงานบริหาร 4) วัฒนธรรมอาจารย์นักประชาธิปไตย 5) วัฒนธรรมอาจารย์เน้นความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนิสิตนักศึกษา 6) วัฒนธรรมอาจารย์เน้นความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ 7) วัฒนธรรมอาจารย์สนใจสังคมและการเมือง 8) วัฒนธรรมอาจารย์ยึดมั่นศาสนา 9) วัฒนธรรมอาจารย์มุ่งพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ 10) วัฒนธรรมอาจารย์รักวิชาชีพ 11) วัฒนธรรมอาจารย์อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย 12) วัฒนธรรมอาจารย์เน้นผลงานวิชาการ อาจารย์สถาบันอุดมศึกษาไทยมีวัฒนธรรมที่เด่นชัดในระดับมาก 7 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านที่ 4, 2, 10, 11, 12, 5 และ 9 วัฒนธรรมอาจารย์ที่มีความเด่นชัดในระดับน้อย คือ วัฒนธรรมอาจารย์สนใจสังคมและการเมือง ผลการทดสอบความแตกต่างของวัฒนธรรมอาจารย์ตามตัวแปร สถานภาพอาจารย์ พบว่าอาจารย์เพศชายและหญิงมีวัฒนธรรมต่างกัน 8 ด้าน อาจารย์เพศชายมีวัฒนธรรมที่เด่นชัดกว่าอาจารย์เพศหญิง 5 ด้าน คือ ด้านที่ 1, 3, 7, 9 และ 12 อาจารย์เพศหญิงมีวัฒนธรรมที่เด่นชัดกว่าอาจารย์เพศชาย 3 ด้าน คือ ด้านที่ 2, 10 และ 11 อาจารย์ที่อายุต่างกัน มีวัฒนธรรมอาจารย์ต่างกันใน 10 ด้าน คือ ด้านที่ 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 9, 10 และ 11 อาจารย์ต่างสาขาวิชามีวัฒนธรรมอาจารย์ต่างกันใน 5 ด้าน คือ ด้านที่ 1, 5, 6, 7 และ 10 อาจารย์ที่มีวุฒิการศึกษาต่างกันมีวัฒนธรรมอาจารย์ต่างกัน 8 ด้าน คือ ด้านที่ 1, 2, 4, 5, 6, 8, 9 และ 12 อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการต่างกันมีวัฒนธรรมอาจารย์ต่างกัน 5 ด้าน คือ ด้านที่ 1, 2, 9, 10 และ 12 อาจารย์ที่มีประสบการณ์ทำงานในสถาบันอุดมศึกษาต่างกัน มีวัฒนธรรมอาจารย์ต่างกัน 7 ด้าน คือ ด้านที่ 1, 2, 4, 6, 8, 10 และ 11 อาจารย์ต่างมหาวิทยาลัยมีความแตกต่างของวัฒนธรรมอาจารย์เพียงด้านเดียว คือ วัฒนธรรมอาจารย์สนใจสังคมและการเมืองโดยพบว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีวัฒนธรรมด้านนี้เด่นชัดกว่าอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบวัดวัฒนธรรมอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาไทยที่ มีความตรงเชิงโครงสร้างและมีความเที่ยง 0.94
Other Abstract: http://cuir.car.chula.ac.th/xmlui/admin/item?administrative-continue=604f60133a223The objectives of this research are to conduct a factor analysis of culture in Thai higher education institutions and scrutinize the faculty culture. The results lay bare twelve factors, namely, 1) Academics and Social Service; 2) Institutional Attachment; 3) Administrative-orientedness; 4) Democratics; 5) Faculty-Student Relatedness; 6) Faculty Relation-orientedness; 7) Political and Social Mindedness; 8) Religious Affinity; 9) Academic Potential Development; 10) Professional Attachment; 11) Thai Culture Preservation-mindedness; 12) Academic Accomplishment Orientedness. The strongest culture identified in order of strength are the factors numbered 4, 2, 10, 11, 12, 5 and 9; while the weakest culture are the factors numbered 7. The test of differences among the socio-economic status of the subject and the subjective cultures confirmed their effects on the differences in subjective culture. Males and females are significantly different in eight dimensions. Males possess stronger culture in factors numbered 1, 3, 7, 9 and 12. Females are stronger than males in 3 factors numbered 2, 10 and 11. As for the age, 10 factors are significantly different, that is all except 7 and 12. Five factors are different in disciplines, namely, 1, 5, 6, 7 and 10. In terms of educational background, 8 factors are found to be different, namely, 1, 2, 4, 5, 6, 8, 9, 12. As for academic position, 5 factors are different, namely, 1, 2, 9, 10 and 12. Work experiences, 7 factors are significantly different. Institutions are found to be indicated only one significant difference, that is Political and Social Mindedness, Thammasart University is significantly stronger than Chulalongkorn University and Mahidol University at 0.05. The highlight of the findings is the Faculty Culture Inventory for Thai Higher Education Institutions, with 0.94 overall reliability. Elaborate discussions of the results were given with recommendations for further research and practical applications.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26640
ISBN: 9746336584
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suntharavadee_th_front.pdf12.79 MBAdobe PDFView/Open
Suntharavadee_th_ch1.pdf7.93 MBAdobe PDFView/Open
Suntharavadee_th_ch2.pdf22.28 MBAdobe PDFView/Open
Suntharavadee_th_ch3.pdf7.75 MBAdobe PDFView/Open
Suntharavadee_th_ch4.pdf52.78 MBAdobe PDFView/Open
Suntharavadee_th_ch5.pdf16.03 MBAdobe PDFView/Open
Suntharavadee_th_back.pdf51.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.