Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26690
Title: | กระบวนการสอนเพื่อสร้างลักษณะการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 |
Other Titles: | Instructional process for enhancing the capability of thinking, doing and solving problems of prothom suksa six students |
Authors: | สายสมร ทองคำ |
Advisors: | สมพงษ์ จิตระดับ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การสอน ความคิดและการคิด |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ( 1 ) เพื่อทดลองกระบวนการสอนเพื่อสร้างลักษณะการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ในเรื่อง กฎหมาย หน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามกฎหมาย ( 2 ) เพื่อศึกษาลักษณะและพฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการสอนเพื่อสร้างลักษณะการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ในเรื่องดังกล่าว วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการโดยวิธีทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียน บ้านเขื่อนสุนทร อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน เลือกโดยวิธีพิจารณานักเรียนห้องที่มีคะแนนเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตใกล้เคียงกัน กลุ่มทดลองเรียนโดยใช้แผนการสอนตามกระบวนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยใช้เนื้อหากลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต หน่วยที่ 4, 5 และ 11 กลุ่มควบคุมสอนด้วยแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการเป็นเวลา 5 สัปดาห์ ทดสอบหลังสอนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มด้วยแบบวัดการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น นำคะแนนที่ได้มาทดสอบความแตกต่าง โดยการทดสอบค่า ที ( t – test ) ผลการวิจัย 1. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยแผนการสอนตามกระบวนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความสามารถในการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น แตกต่างจากนักเรียนกลุ่มที่เรียนด้วยแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการสอนตามกระบวนการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความสามารถในการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็นสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการสอนตามแผนการสอนของกระทรวงศึกษาธิการ 2. พฤติกรรมที่เกิดจากกระบวนการสอนเพื่อสร้างลักษณะการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น พฤติกรรมที่เกิดมากที่สุดคือ พฤติกรรมการยอมรับ มติของกลุ่ม จำนวนร้อยละ 88.85 พฤติกรรมที่เกิดมากเป็นอันดับรองลงมาคือ พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ จำนวนร้อยละ 88.00 ส่วนพฤติกรรมที่เกิดน้อยที่สุดคือพฤติกรรมการเสียสละ จำนวนร้อยละ 30.66 |
Other Abstract: | Research Purposes: 1. To experiment the instructional process for enhancing the capability of thinking, doing and solving problems in regard to law, self-responsibility and social responsibility of Prothom Suksa Six Students. 2. To study the characteristic and behavior which were caused by the instructional process for enhancing the capability of thinking, doing and solving problems in the above-mentioned aspects. Procedures The experiment was conducted by using 50 Prathom Suksa Six Students in Ban Kuensoonthorn School, Soongmen District, Phare Province. The students were divided into two groups; each group had mean and standard deviation obtained from the final examination scores in the area of Life Experiences closely. The experimental group was taught by using the instructional lesson plans constructed by the researcher herself; the controlled group was taught by using the lesson plans designed by the Ministry of Education. After the students in both groups had learned their lessons for five weeks respectively, they were posttested on the Thinking, Doing and Solving Problems Test. The data were then analyzed by mean of t-test. Results 1. There was a significant difference at the .05 level in regard to the capability of thinking doing and solving problems between the Prathom Suksa Six Students who learned under the instructional process constructed by the researcher and the student who learned by using the lesson plans designed by the Ministry of Education. The difference was that the experimental group had a higher level of capability of thinking, doing and solving problems than that of the controlled group. 2. According to the behavior of students who learned under the proposed instructional process for enhancing the capability of thinking, doing and solving problems, the students’ behavior which was most found at 88.85 percent was the group acceptance behavior at 88.00 percent was the co-operation behavior and at 30.66 percent was the voluntary behavior. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ประถมศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26690 |
ISBN: | 9745660167 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saisamon_To_front.pdf | 435.02 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisamon_To_ch1.pdf | 488.2 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisamon_To_ch2.pdf | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisamon_To_ch3.pdf | 472.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisamon_To_ch4.pdf | 314.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisamon_To_ch5.pdf | 490.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Saisamon_To_back.pdf | 5.75 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.