Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26695
Title: ความคิดเห็นของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด เกี่ยวกับงานด้านวิชาการ
Other Titles: The opinions of elementary school principals under the Roi-et provincial administrative organization on academic affairs
Authors: สำเร็จ ยุรชัย
Advisors: อุมา สุคนธมาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2519
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความมุ่งหมาย การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อทราบความคิดเห็นและความเข้าใจโดยทั่วไปเกี่ยวกับงานวิชาการ รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญบางประการในการปฏิบัติงานด้านนี้ ของครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ดปีการศึกษา 2518 วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังครูใหญ่โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2518 จำนวน 130 คนใน 11 อำเภอ และ 2 กิ่ง อำเภอ โดยผ่านหัวหน้าส่วนการศึกษาของจังหวัด และรวบรวมคืนที่หัวหน้าส่วนการศึกษาเช่นเดียวกัน แบบสอบถามได้รับคืน 117 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 90.00 ข้อมูลที่ได้นั้น นำมาวิเคราะห์โดยใช้การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบนัยสำคัญของความแตกต่างของมัชฌิมเลขคณิต และการหาค่น้ำหนักของปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ผลการวิจัย 1. ครูใหญ่มีความเข้าใจในงานวิชาการอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับความเข้าใจเรื่องต่าง ๆ จากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดได้ดังนี้ หลักสูตรและวัสดุประกอบหลักสูตร จิตวิทยาการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก การนิเทศการศึกษาในโรงเรียน การวัดผลและการประเมินผลการศึกษา การบริหารงานในโรงเรียน การศึกษาทั่วไป และหลักการสอนและวิธีการ 2. การทดสอบนัยสำคัญของความแตกต่างในความเข้าใจงานวิชาการของครูใหญ่วุฒิต่าง ๆ ปรากฏว่า 2.1 ครูใหญ่วุฒิปริญญาตรีมีความเข้าใจงานวิชาการแตกต่างจากครูใหญ่ทุกระดับวุฒิ 2.2 ครูใหญ่วุฒิ ป.ม. หรือ พ.ม. มีความเข้าใจงานวิชาการแตกต่างจากครูใหญ่ที่มีระดับวุฒิต่ำกว่า 2.3 ครูใหญ่วุฒิ ป.ป. หรือ พ.ป. มีความเข้าใจงานวิชาการไม่แตกต่างจากครูใหญ่ที่มีระดับวุฒิต่ำกว่า 2.4 ครูใหญ่วุฒิ ป.กศ. หรือ พ.กศ. มีความเข้าใจงานวิชาการไม่แตกต่างจากครูใหญ่ที่มีระดับวุฒิต่ำกว่า 2.5 ครูใหญ่วุฒิ ป. หรือ พ. มีความเข้าในงานวิชาการไม่แตกต่างจากครูใหญ่ที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษา 3. ครูใหญ่ที่มีวุฒิสูง จะได้คะแนนความเข้าใจงานวิชาการสูง แต่ครูใหญ่ที่มีอายุสูง อายุราชการการสูง และประสบการณ์การเป็นครูใหญ่นาน จะได้คะแนนความเข้าใจงานวิชาการต่ำ 4. ครูใหญ่ส่วนมากเห็นว่าสิ่งที่เป็นปัญหาและอุปสรรคต่องานด้านวิชาการมากที่สุดตามลำดับ คือครูประชาบาลไม่ได้รับสวัสดิการที่ดีเหมือนครูสังกัดกรมกองอื่น ๆ ขาดแคลนงบประมาณในการจัดห้องสมุด อุปกรณ์หรือหนังสือมีไม่เพียงพอ ขาดแคลนเอกสารและตำราทางวิชาการในการค้นคว้า และห้องเรียนมีไม่พอกับจำนวนนักเรียน เป็นต้น
Other Abstract: Purpose The purpose of this research was to study the opinions and the understanding of the elementary school principals under the Roi-Et Provincial Administrative Organization and to find some major problems on the academic affairs. Procedure The data were obtained by sending out one hundred and thirty questionnaires to the elementary school principals: one hundred and seventeen of them were returned. The data were statistically analyzed by using percentage, means, test of significance between means, and numerical weight. Findings The total elementary school principals showed fair understanding on the academic affairs, and they could be arranged on priority order as : curriculum and educational materials, theory of leaning and developmental psychology, school supervision, educational measurement and evaluation, school administration, general education and methods of teaching, respectively. 2. The understanding on the academic affairs between the principals who receive bachelor’s Degree and other lower educational certificates were significantly different. The principals holding Secondary Certificates of Education had more understanding on the academic affairs than those who receive lower certificates. There was no significant difference in the academic understanding between the principals who get Elementary Certificates of Education and other lower educational certificates. 3. The results of the study revealed that high educated principals received higher grades on the understanding of the subjects, whereas those with longer service and advanced in age scored lower ones. 4. Most of the principals indicated major problems on the academic affairs respectively. The elementary school teachers under the Provincial Administrative Organization did not receive good social benefit like others who serve under different department. The lack of budget for organizing school libraries, inadequate of books and other teaching materials, lack of text books for the principals, and inadequate of classrooms for pupils were also problems concerned by the principals.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26695
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samrej_Yu_front.pdf452.3 kBAdobe PDFView/Open
Samrej_Yu_ch1.pdf465.99 kBAdobe PDFView/Open
Samrej_Yu_ch2.pdf766.04 kBAdobe PDFView/Open
Samrej_Yu_ch3.pdf476.67 kBAdobe PDFView/Open
Samrej_Yu_ch4.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Samrej_Yu_ch5.pdf502.32 kBAdobe PDFView/Open
Samrej_Yu_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.