Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2689
Title: The development of serial verb constructions in Thai children's narrative
Other Titles: พัฒนาการของหน่วยสร้างกริยาเรียงในเรื่องเล่าของเด็กไทย
Authors: Peerapat Yangklang
Advisors: Sudaporn Luksaneeyanawin
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Arts
Advisor's Email: Sudaporn.L@Chula.ac.th
Subjects: Thai language--Verb
Thai language--Syntax
Thai language--Semantics
Issue Date: 2003
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: To investigate the development of serial verb constructions (SVCs) in Thai children. This study is based on the narratives called 'Thai Frog Story' (Zlatev and Yangklang; 2001). The corpus consists of 50 narratives from 5 age groups: 4, 6, 9, 11 years old and adults, with 10 narratives per group. The framework used in analysis of syntactic and semantic characteristics of SVCs were the study of "Serial Verb Constructions in Thai" (Thepkanjana; 1986). Clauses in the narratives are classified into 2 types, regarding their predicates: single verb clauses and serial verb clauses. It is found, in developmental terms, that the percentage of single verb clauses decreases as children grow older. On the other hand, the percentage of serial verb clauses increases with age. Regarding the semantic characteristics, SVCs found in the data can be classified into 9 types: 1) Directional SVCs 2) Purposive SVCs 3) Aspectual SVCs 4) Mental State SVCs 5) Causative SVCs, 6) Sequential SVCs 7) Manner SVCs 8) Resultative SVCs 9) Passive SVCs and 10) Postural SVCs. All ten types of SVCs are found in every age group. This means that SVCs emerge long before 4 years old. According to the development of each type of SVCs, we can see that the percentage of Directional SVCs decreases as the children grow older. On the other hand, the percentage of Purposive SVCs, Causative SVCs, and Mental State SVCs increases with age. The percentage of Resultative SVCs, Manner SVCs, and Aspectual SVCs varies over time. The percentage of Sequential SVCs in 4 years old group are the highest. And the percentage of Passive SVCs and Postural is very low, so we can say little about their developmental patterns. When considering the ten types of SVCs, I found that some of them have common features and can be classified into four main classes: 1) Spatial sequence class, 2) Temporal sequence class, 3) Modifying class, and 4) Grammatical cline. According to the developmental aspect of these SVC classes, we can see that the percentage of Spatial sequence class tends to decrease as the children grow older, whereas the percentage of Temporal sequence class tends to increase with age. And the percentage of Modifying class and Grammatical cline seems to change very little. In the analysis of the complexity of SVCs, it is found that the percentage of complex SVCs increases with age. In addition, the degree of complexity of SVCs determined by the number of SVCs embedded in complex SVCS increases with age.
Other Abstract: ศึกษาพัฒนาการของหน่วยสร้างกริยาเรียงในเรื่องเล่าของเด็กไทยแบบข้ามกลุ่มอายุ จากฐานข้อมูลเรื่องเล่า "กบจ๋า เจ้าอยู่ไหน" ฐานข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยเรื่องเล่า 50 เรื่องของประชากร 5 กลุ่มอายุ คือ 4, 6, 9, 11 ปี และผู้ใหญ่ แต่ละกลุ่มมี 10 คน กรอบทฤษฎีที่ใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ ของหน่วยสร้างกริยาเรียงคือ การศึกษาหน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทยของ กิ่งกาญจน์ เทพกาญจนา (2529) อนุพากย์ในเรื่องเล่าของเด็กไทยมี 2 ประเภทจำแนกตามคุณลักษณะของภาคแสดงที่ปรากฎในอนุพากย์ ได้แก่ อนุพากย์กริยาเดี่ยวและอนุพากย์กริยาเรียง จากการศึกษาในเชิงพัฒนาการพบว่า ค่าร้อยละของอนุพากย์กริยาเดี่ยวลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเด็กโตขึ้น ขณะเดียวกันค่าร้อยละของอนุพากษ์กริยาเรียงเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก เมื่อพิจารณาลักษณะทางวากยสัมพันธ์และอรรถศาสตร์ ของหน่วยสร้างกริยาเรียงในเรื่องเล่า ผู้วิจัยสามารถจำแนกประเภทของหน่วยสร้างกริยาเรียงได้ 10 ประเภท คือ 1) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกทิศทาง 2) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกจุดประสงค์ 3) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกการณ์ลักษณะ 4) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกสาเหตุ 5) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกการกระทำทางสมอง 6) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกการกระทำต่อเนื่อง 7) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกอาการ 8) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกผล 9) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกวาจา และ 10) หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกท่าทาง หน่วยสร้างกริยาเรียงทั้ง 10 ประเภทนี้สามารถพบในเรื่องเล่าของเด็กทุกกลุ่มอายุ การปรากฎาของหน่วยสร้างกริยาเรียงเช่นนี้ชี้ให้เห็นว่า พัฒนาการของหน่วยสร้างกริยาเรียงเริ่มขึ้นก่อนอายุ 4 ปี จากการศึกษาพัฒนาการของหน่วยกริยาเรียงแต่ละประเภท ผู้วิจัยพบว่าค่าร้อยละของหน่วยสร้างกริยาเรียงบอกทิศทาง ลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเด็กโตขึ้น ขณะที่ค่าร้อยละของหน่วยสร้างกริยาเรียงบอกจุดประสงค์ หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกสาเหตุ และหน่วยสร้างกริยาเรียงบอกการกระทำทางสมองเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ส่วนค่าร้อยละของหน่วยสร้างกริยาเรียงบอกผล หน่วยสร้างกริยาเรียงบอกอาการ และหน่วยสร้างกริยาเรียงบอกการณ์ลักษณะผันผวนทุกกลุ่มอายุ ค่าร้อยละของหน่วยสร้างกริยาเรียงบอกการกระทำต่อเนื่องในเด็กกลุ่มอายุ 4 ปีมีสูงสุด และค่าร้อยละของหน่วยสร้างกริยาเรียงบอกท่าทาง และหน่วยสร้างกริยาเรียงบอกวาจกต่ำมากจึงไม่สามารถอธิบายเชิงพัฒนาการได้ เมื่อพิจารณาเฉพาะคุณลักษณะทางอรรถศาสตร์ของหน่วยสร้างกริยาเรียงทั้ง 10 ประเภท ผู้วิจัยสามารถจัดประเภทใหญ่ได้ 4 ประเภท คือ 1) ประเภทแสดงลำดับเหตุการณ์การเนื้อที่ 2) ประเภทแสดงลำดับเหตุการณ์ต่อเนื่องเชิงเวลา 3) ประเภทแสดงเหตุการณ์ขยาย 4) ประเภทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกลายคำเป็นไวยากรณ์ จากการศึกษาเชิงพัฒนาการของประเภทของหน่วยสร้างกริยาเรียงทั้ง 4 ประเภท ผู้วิจัยพบว่าค่าร้อยละของประเภทแสดงลำดับเหตุการณ์การเนื้อที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเด็กโตขึ้น ขณะที่ค่าร้อยละของประเภทแสดงลำดับเหตุการณ์ต่อเนื่องเชิงเวลามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ส่วนค่าร้อยละของประเภทแสดงเหตุการณ์ขยาย และประเภทที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการกลายเป็นคำไวยากรณ์เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในทุกกลุ่มอายุ จากวิเคราะห์ความซับซ้อนของหน่วยสร้างกริยาเรียงในเรื่องเล่า ผู้วิจัยพบว่าปริมาณของหน่วยสร้างกริยาเรียงซับซ้อนเพิ่มขึ่นตามอายุของเด็ก อีกทั้งความซับซ้อนของหน่วยสร้างกริยาเรียงยังเพิ่มขึ้นตามอายุด้วยซึ่งดูได้จากจำนวนของกริยาเรียงที่ปรากฏซ้อนอยู่ในกริยาเรียงซับซ้อน
Description: Thesis (M.A.)--Chulalongkorn University, 2003
Degree Name: Master of Arts
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Linguistics
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2689
ISBN: 9741743394
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerapat.pdf11.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.