Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27080
Title: การศึกษาบทบาทของกรมศุลกากร ที่มีต่อการส่งเสริมการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
Other Titles: A study on the role customs department in export promotion of industrial goods
Authors: สุจิตร ศรีวิริยกุล
Advisors: อัจฉรา จันทร์ฉาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาวิจัยมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเริมการส่งออกของกรมศุลกากร ความเหมาะสมของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ วิธีการดำเนินงานปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการส่งออก รวมทั้งปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานตลอดจนพิสูจน์สมมุติฐานที่กำหนดขึ้น โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิซึ่งได้จากการออกแบบสอบถาม การสังเกตการณ์ การสัมภาษณ์และการค้นคว้าจากหนังสือและเอกสารต่างๆ การศึกษาครั้งนี้ใช้การวิจัยภาคสนามเป็นหลักโดยส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทที่ประกอบการด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกชุดหนึ่ง ข้าราชการกองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออกชุดหนึ่ง และบริษัทชิปปิ้งที่เป็นตัวแทนของบริษัทผู้ส่งออกเพื่อดำเนินการขอใช้บริการในด้านต่างๆ จากเจ้าหน้าที่อีกชุดหนึ่ง ข้อมูลที่ได้สามารถสรุปผลในด้านต่างๆ ดังนี้ 1. การพิสูจน์สมมุติฐาน 1.1 สมมุติฐานข้อ 1 “ขาดการติดต่อประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้ขอคืนเงินอากรกับข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคืนอากรโดยตรง” ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ขอคืนอากรส่วนใหญ่จะมอบหมายให้ชิปปิ้งเป็นผู้มาติดต่อขอคืนอากรจากเจ้าหน้าที่แทนที่จะมอบหมายให้พนักงานของบริษัทซึ่งมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานของบริษัทเป็นผู้มาติดต่อ และชิปปิ้งส่วนใหญ่จะไม่รับผิดชอบงาน รับเดินเรื่องให้หลายบริษัท และสำหรับผู้ขอคืนอากรที่มอบหมายให้พนักงานของบริษัทเป็นผู้มาติดต่อนั้นก็มักจะมาติดต่อเมื่อได้รับคำทักท้วงจากเจ้าหน้าที่เท่านั้น จึงยอมรับสมมุติฐานที่กำหนดไว้ 1.2 สมมุติฐานข้อ 2 “ระเบียบข้อบังคับหรือพิธีการเกี่ยวกับการขอคืนอากรสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิต ผสม หรือ ประกอบแล้วส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศซับซ้อนไม่จูงใจในด้านการส่งเสริมการส่งออก” ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า ระเบียบข้อบังคับหรือพิธีการดังกล่าวมิได้ซับซ้อนคือมีเพียง 4 ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนใช้ระยะเวลาสั้นๆ ในการพิจารณาซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการจูงใจในด้านการส่งเสริมการส่งออก จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่กำหนดไว้ 1.3 สมมุติฐานข้อ 3 “มาตรการทางด้านการชดเชยภาษีอากรบางอย่างไม่จูงใจในด้านการส่งเสริมการส่งออก” จากการศึกษาวิจัยพบว่า การให้ชดเชยอากรในรูปบัตรภาษี การใช้บัตรภาษีให้หมดภายในกำหนดเวลา 3 ปี และการยื่นคำขอชดเชยอากรภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันส่งออก ซึ่งคาดว่าจะมีผลกระทบคือไม่จูงใจในด้านการส่งเสริมการส่งออกนั้น ปรากฏว่าไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่กำหนดไว้ 1.4 สมมุติฐานข้อ 4 “ระเบียบเกี่ยวกับสิทธิในการได้รับยกเว้นอากรสำหรับของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าในด้านของเงื่อนเวลาเป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมการส่งออก” จากการศึกษาวิจัยพบว่า เงื่อนเวลาการนำวัตถุดิบเข้ามาผลิตเป็นสินค้าส่งออกในคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันนำเข้า มิได้เป็นอุปสรรคเนื่องจากผู้ผลิตส่งออกสามารถนำวัตถุดิบเหล่านั้นผลิตส่งออกภายในระยะเวลา 1 ปี จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่กำหนดไว้ 1.5 สมมุติฐานข้อ 5 “จำนวนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานส่งเสริมการส่งออกของกรมศุลกากรทุกหน่วยงานในปัจจุบันมีไม่เพียงพอกับปริมาณงาน” จากการศึกษาวิจัยพบว่า มีเพียงหน่วยงานเดียวเท่านั้นที่อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ภายใต้สมมุติฐานที่ว่าได้มีการปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างมีระบบแล้ว จึงปฏิเสธสมมุติฐานที่กำหนดไว้ 2. ปัญหาการปฏิบัติงานในด้านอื่นๆ จากการศึกษาวิจัยพบว่าการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภายในกองคืนอากรและส่งเสริมการส่งออกในปัจจุบันประสบปัญหาในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านการประชาสัมพันธ์ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การฝึกอบรม ตลอดจนขั้นตอนในการปฏิบัติงาน สมควรจะได้มีการปรับปรุงแก้ไขในด้านต่างๆดังนี้ 1. ควรจะได้มีการปรับปรุงระบบงานด้านการประชาสัมพันธ์ โดยจัดตั้งหน่วยประชาสัมพันธ์ของกองขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อทำหน้าที่เผยแพร่ข่าวสารข้อมูลให้แก่ผู้สนใจเพื่อทราบ กฎ ระเบียบ วิธีปฏิบัติอย่างถูกต้อง เพื่อลดปัญหาความล่าช้าในการพิจารณาให้คืนอากร และเพื่อให้ผู้ขอใช้บริการไม่เสียสิทธิที่ควรจะได้รับ ตลอดจนหันมาติดต่อกับเจ้าหน้าที่โดยให้พนักงานของบริษัทเป็นผู้มาติดต่อเพื่อให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รวดเร็วขึ้น 2. ควรจะได้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานภายในกองคืนอากรฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นมาตรฐานเดียวกัน 3. ควรจะได้มีการปรับปรุงลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บางขั้นตอน ตลอดจนนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้การปฏิบัติงานคล่องตัวขึ้น 4. ควรจะได้มีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 5. ควรจะได้มีการทบทวนมาตรการส่งเสริมการส่งออกบางมาตรการว่ามีผลดี ผลเสียอย่างไร สมควรจะได้มีการพิจารณายกเลิกมาตรการดังกล่าวหรือไม่ นอกจากนี้สมควรจะได้มีการปรับปรุงงานในด้านอื่นๆโดยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งจากหน่วยราชการด้วยกัน หรือระหว่างหน่วยราชการและหน่วยธุรกิจเพื่อให้มาตรการส่งเสริมการส่งออกของกรมศุลกากรบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมการส่งออกอย่างแท้จริง
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27080
ISBN: 9745649783
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sujitr_Sr_front.pdf682.95 kBAdobe PDFView/Open
Sujitr_Sr_ch1.pdf435.95 kBAdobe PDFView/Open
Sujitr_Sr_ch2.pdf594.27 kBAdobe PDFView/Open
Sujitr_Sr_ch3.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Sujitr_Sr_ch4.pdf705.06 kBAdobe PDFView/Open
Sujitr_Sr_ch5.pdf2.12 MBAdobe PDFView/Open
Sujitr_Sr_ch6.pdf874.27 kBAdobe PDFView/Open
Sujitr_Sr_back.pdf2.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.