Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27146
Title: ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The enviroment impact of industrial development in Samut Prakan province areas
Authors: วราลักษณ์ คงอ้วน
Advisors: สุวัฒนา ธาตานิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Subjects: การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม -- ไทย -- สมุทรปราการ
Environmental impact analysis -- Thailand -- Samut Prakan
Issue Date: 2547
Abstract: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการขยายตัวและปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสมุทรปราการ ศึกษาสาเหตุและผลกระทบการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่มีต่อสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์แนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและเสนอแนะแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในจังหวัดสมุทรปราการ จากการศึกษาพบว่า ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสมุทรปราการมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยสะท้อนออกมาในรูปของการเพิ่มขึ้นของจำนวนโรงงานอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสาขาอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสมุทรปราการ คือ ปัจจัยความเหมาะสมในเรื่องทำเลที่ตั้งต่างๆ ได้แก่ ที่ดิน แรงงาน การคมนาคมขนส่งและนโยบายของรัฐ การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตของจังหวัดสมุทรปราการไก้ก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามมา ดังจะเห็นได้จากผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม ( น้ำ อากาศ เสียง กากของเสีย /ของเสียอันตราย ) และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ซึ่งผลกระทบจากการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตที่มีต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรมในระยะที่ผ่านมาไม่ครอบคลุมด้านสิ่งแวดล้อม กฏหมายที่เกี่ยวข้องในการควบคุมและจัดการโรงงานอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมไม่สามารถเป็นเครื่องมือได้ในทางปฏิบัติ การขาดเจ้าหน้าที่ในการควบคุมและดูแลลงโทษตามกฎหมาย การขาดการวางผังที่ต่อเนื่องและสอดคล้องกับพื้นที่ข้างเคียง โรงงานอุตสาหกรรมมีทำเลที่ตั้งกระจัดการจาย กระบวนการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตไม่ปลอดมลพิษ ประชาชนขาดการมีส่วนร่วมในการวางแผนที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัย รวมทั้งขาดการรับรู้ข่าวสารและการคุ้มครองจากภาวะมลพิษ และการขาดความรู้ ความเข้าใจและจิตสำนึกของผู้ประกอบการในการให้ความร่วมมือด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม จากบทบาทความสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตและยุทธศาสตร์การพัฒนาต่างๆ ที่ยังคงมุ่งส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสมุทรปราการ แนวโน้มการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในอนาคตจึงย่อมมีการขยายตัวต่อไปอย่างต่อเนื่อง แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดสมุทรปราการที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจึงต้องคำนึงถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วย ซึ่งได้แก่ การแก้ปัญหามลพิษในปัจจุบันโดยการผลักดันให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่แล้ว การให้การศึกษาและประชาสัมพันธ์แก่ผู้ประกอบการ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกที่ดีในการจัดการสิ่งแวดล้อม การควบคุมพื้นที่ตั้งและประเภทของอุตสาหกรรมที่ก่อตั้งใหม่
Other Abstract: The objectives of this study are to study the increase of industry in Samut Prakan and factors that cause the as such increase, to come up with causes of the increase and its environmental effects and, to analyze the tendency of the industrial development as well as suggest the environmentally-friendly industrial development guideline for Samut Prakan. According to the study, over the past, industrial development in Samut Prakan has continuously increased. It can be noticed from the increase of industrial factories and the province’s industrial GDP. According to the environmental monitoring (water, air, noise and hazardous waste), and people’s attitude toward the environmental problem, although Samut Prakan has many advantageous factors such as location, labor, transportation and the government’s support, the province’s rapidly industrial increase has caused several environmental effects. The main cause is the industrial development plan in the past did not prioritize environmental issues. The relevant laws about industrial and environmental management have never been used as a practical tool. Moreover, the lack of enforces, and proper urban planning, clean technology, the participation of local people as well as environmental awareness and information’s access are also contributing to the problems. However, since the industrial development is economically important and have to be prioritized in Samut Prakan’s development roadmap, the industrial development have to concern about environmental issues such as making the present environmental law effective, building environmental communication and education for environmental awareness, the location of new factories and their environmental effects as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27146
ISBN: 9745312746
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Waralak_kh_front.pdf4.18 MBAdobe PDFView/Open
Waralak_kh_ch1.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open
Waralak_kh_ch2.pdf11.25 MBAdobe PDFView/Open
Waralak_kh_ch3.pdf19.91 MBAdobe PDFView/Open
Waralak_kh_ch4.pdf15.63 MBAdobe PDFView/Open
Waralak_kh_ch5.pdf8.94 MBAdobe PDFView/Open
Waralak_kh_ch6.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open
Waralak_kh_back.pdf5.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.