Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27194
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานพ วราภักดิ์
dc.contributor.authorวีรนุช กิจสุขจิต
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-11-30T06:37:33Z
dc.date.available2012-11-30T06:37:33Z
dc.date.issued2535
dc.identifier.isbn9745814334
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27194
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535en
dc.description.abstractในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบของตัวสถิติทดสอบ ที่ใช้ทดสอบอัตตสหสัมพันธ์ของความคลาดเคลื่อน ในการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย 3 ตัว คือ สถิติทดสอบเดอร์บิน-วัตสัน (DW) สถิติทดสอบอัตราส่วนวอนนิวแมน (VN) และสถิติทดสอบเกียรี่ (G) โดยศึกษาความสามารถในการควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบ ภายใต้เงื่อนไขของค่าอัตตสหสัมพันธ์ (ρ) ขนาดตัวอย่าง (n) รูปแบบของตัวอิสระ (xt) และลักษณะการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนสุ่ม (vt). ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้จากการทดลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โล โดยจำลองการทดลองด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์AMDAHL 5680 จำนวน 1,000 ครั้ง สำหรับแต่ละสถานการณ์ที่กำหนด เพื่อคำนวณความน่าจะเป็นของความผิดพลาดประเภทที่ 1 และอำนาจการทดสอบของสถิติทดสอบทั้ง 3 วิธี ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 ของตัวสถิติทดสอบ 1.1 ตัวสถิติทดสอบเดอร์บิน-วัตสัน สามารถควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 ได้ เมื่อตัวอย่างขนาดกลางและขนาดใหญ่ (n = 30, 50) ทุกรูปแบบของตัวแปรอิสระ และทุกรูปแบบการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนสุ่ม 1.2 ตัวสถิติทดสอบอัตราส่วนวอนนิวแมน สามารถควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 ได้ ทุกสถานการณ์ที่ทำการศึกษาในงานวิจัยนี้ 1.3 ตัวสถิติทดสอบเกียรี่ ไม่สามารถควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 ได้ในทุกสถานการณ์ที่ทำการศึกษาในงานวิจัยนี้ 2. อำนาจการทดสอบ 2.1 เมื่อตัวอย่างขนาดใหญ่ (n = 50) ตัวสถิติทดสอบเดอร์บิน-วัตสันและตัวสถิติทดสอบอัตราส่วนวอนนิวแมน จะให้อำนาจการทดสอบใกล้เคียงกันหรือเท่ากัน ในทุกระดับค่าอัตตสหสัมพันธ์ (0.1-0.9) ทุกรูปแบบของตัวแปรอิสระ และทุกรูปแบบการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนสุ่ม 2.2 เมื่อตัวอย่างขนาดกลาง (n=30) – ตัวสถิติทดสอบเดอร์บิน-วัตสันและตัวสถิติทดสอบอัตราส่วนวอนนิวแมน จะให้อำนาจการทดสอบใกล้เคียงกัน ในทุกระดับค่าอัตตสหสัมพันธ์ (0.1-0.9) ทุกรูปแบบของตัวแปรอิสระ และรูปแบบการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนสุ่มเป็นแบบสมมาตร (Normal, Uniform) – ตัวสถิติทดสอบอัตราส่วนวอนนิวแมน จะให้อำนาจการทดสอบสูงสุด เมื่อค่าอัตตสหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ (0.1-0.3) ในทุกรูปแบบของตัวแปรอิสระ และรูปแบบการแจกแจงของความคลาดเคลื่อนสุ่มเป็นแบบเบ้หรือหางยาว (Exponential, Cauchy) 2.3 ตัวสถิติทดสอบเกียรี่ไม่มีการเปรียบเทียบอำนาจการทดสอบ เพราะว่าไม่สามารถควบคุมความผิดพลาดประเภทที่ 1 ได้
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to investigate the probability of type-1 error and power of the tests 1) Durbin-Watson test 2) Von Neumann ratio test 3) Geary test, for the test of first-order autocorrelation of random errors in Simple Linear Regression analysis under conditions of autocorrelation coefficient (ρ), sample size (n), independent variable (xt) and distribution of error (vt). The data for this experiment were generated through the Monte Carlo simulation technique which was repeated 1,000 times under each condition at five percent significance level. The AMDAHL 5680 computer was used to calculate the probability of type-1 error and power of the tests. Results of the study are as follow: 1. Probability of type-1 error. 1.1 Durbin-Watson test could control the probability of type-1 error when sample sizes are medium and large (n = 30, 50) for all models of independent variable and all distributions of error. 1.2 Von Neumann ratio test could control the probability of type-1 error for all cases. 1.3 Geary test could not control the probability of type-1 error for all cases. 2. Power of the test. 2.1 In case of large sample size (n = 50): Dubin-Watson test and Von Neumann ratio test have power of the tests closely or equally for all autocorrelation levels (0.1-0.9), all models of independent variable, and all distributions of error. 2.2 In case of medium sample size (n=30): -Dublin-Watson test and Von Neumann ratio test have power of the tests closely for all autocorrelation levels (0.1-0.9), all models of independent variable, and distributions of error are symmetry (Normal, Uniform). –Von Neumann ratio test has the highest power when autocorrelation level is low (0.1-0.3) for all models of independent variable and the distribution of error is skew or long-tailed (Exponential, Cauchy). 2.3 The power of the Geary test has not been compared, because its probability of type-1 error is out of control.
dc.format.extent3392262 bytes
dc.format.extent2182409 bytes
dc.format.extent3746277 bytes
dc.format.extent2763555 bytes
dc.format.extent7320011 bytes
dc.format.extent1361876 bytes
dc.format.extent4612657 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบอัตตสหสัมพันธ์ตำแหน่งทีหนึ่ง ของความคลาดเคลื่อนในการวิเคราห์การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายen
dc.title.alternativeA comparison on test statistics for first-order autoregressive errors in simple linear regression analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameสถิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสถิติes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weeranuch_ki_front.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open
Weeranuch_ki_ch1.pdf2.13 MBAdobe PDFView/Open
Weeranuch_ki_ch2.pdf3.66 MBAdobe PDFView/Open
Weeranuch_ki_ch3.pdf2.7 MBAdobe PDFView/Open
Weeranuch_ki_ch4.pdf7.15 MBAdobe PDFView/Open
Weeranuch_ki_ch5.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open
Weeranuch_ki_back.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.